home

พม่ายกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าในเขตทวายที่มีอิตาเลียนไทย เป็นผู้พัฒนา อ้างฟังเสียงประชาชน

มกราคม 13, 2012
พม่ายกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าในเขตทวายที่มีอิตาเลียนไทย เป็นผู้พัฒนา อ้างฟังเสียงประชาชน

 พม่ายกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าในเขตทวายที่มีอิตาเลียนไทย เป็นผู้พัฒนา อ้างฟังเสียงประชาชน

         นายคินหม่องโซ รัฐมนตรีกระทรวงไฟฟ้าของพม่าประกาศยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนจากถ่านหินของบริษัทไทย คือ อิตาเลียน-ไทย ซึ่งเป็นผู้นำในการ พัฒนา โครงการดังกล่าวในบริเวณทวาย ทางใต้ของประเทศพม่า โดยให้เหตุผลว่าจะก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยกล่าวว่าประกาศนี้เกิดขึ้นหลังจากได้​ “รับฟังเสียงของประชาชน”

นักเคลื่อนไหวในพม่าวิตกว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า และการพัฒนาบริเวณดังกล่าวให้เป็นเขตอุตสาหกรรม จะส่งผลให้อุตสาหรกรรมหลากหลายที่ส่งผลต่อสภาพเเวดล้อมหลั่งไหลเข้ามาและจะมีการอพยพโยกย้ายประชาชนนับหมื่น นอกจากนี้บริเวณส่วนใหญ่ของทวายอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังกระเหรี่ยงซึ่งคอยขัดขวางการก่อสร้างมาโดยตลอด

แผนการในเขตพัฒนายังรวมทั้งท่าเรือน้ำลึก โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตปุ๋ย และโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างดีต่อประเทศไทย ที่ต้องการพลังงานอย่างมาก โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นการร่นระยะทาง แหล่งพลังงานที่จะมาไทย โดยโครงการดังกล่าว ยังสามารถเปลี่ยนภูมิภาคนี้ให้เป็นศูนย์กลางการค้าในเขตทะเลอันดามัน โครงการโรงไฟฟ้านี้ ถูกตั้งเป้าว่าจะป้อนพลังงานให้กับเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มูลค่ามหาศาลในบริเวณท่าเรือ ทวาย

สำนักข่าวอิระวดีของพม่ากล่าวว่า โครงการทวายนั้นเป็นยุทธศาสตร์ของไทยในกาสร้างฐานอุตสาหกรรมที่ก่อมลภาวะนอกประเทศ โดยไทยพยายามย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่ก่อมลภาวะ เช่น ปิโตรเคมี ไปยังเพื่อนบ้าน

บทวิเคราะห์

การที่พม่ายกเลิกโครงการดังกล่าว เมื่อมองในแง่ภาพลักษณ์พม่าพยายามแสดงให้เห็นว่าประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยและคำนึงถึงเสียงของประชาชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการที่พม่ายกเลิกโครงการดังกล่าวที่มีไทยเป็นผู้นำในการพัฒนา ไม่ได้หมายความว่าโครงการในลักษณะเดียวกันนี้จะไม่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นของประเทศดังที่รัฐมนตรีกระทรวงการไฟฟ้าได้เสนอว่า “จะต้องหาแหล่งพลังงานสำหรับโรงงานจากแหล่งอื่น และยังกล่าวด้วยว่า พม่าจะ “คิดอย่างจริงจัง” เกี่ยวกับการใช้ถ่านหินสำหรับโรงไฟฟ้าแห่งอื่นๆ” ซึ่ง “แหล่งอื่น” ดังกล่าวก็เป็นที่น่าจับตามองว่าประเทศใดจะได้รับสัมปทานในการเข้ามาลงทุนและพัฒนา เนื่องจากช่วงหลังนี้พม่ากลายเป็นประเทศเนื้อหอม ที่นานาชาติเริ่มเข้ามาเยือนและสร้างโอกาสทางความร่วมมือในด้านต่างๆกับพม่า

http://www.irrawaddy.org/

Leave A Response