home

การจัดประชุมเวที ASEAN Forum ครั้งที่ 4

ตุลาคม 4, 2012
การจัดประชุมเวที ASEAN Forum ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2555 เวลา 9.30 – 12.00 น.

ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 14 อาคาร SM Tower

                เวที ASEAN Forum ครั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมการเมืองความมั่นคง (APSC) โดยเน้นการจัดการเขตแดนและแรงงานข้ามชาติ

 ผศ.ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำเสนอโจทย์วิจัยหัวข้อบทสังเคราะห์การจัดการแรงงานข้ามชาติ”

จากการที่เศรษฐกิจไทยมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้ความต้องการแรงงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากส่งผลให้มีแรงงานข้ามชาติไร้ทักษะจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่าลาวและกัมพูชาเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมากแรงงานข้ามชาติมีทั้งคุณและโทษและเป็นเรื่องระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของแรงงานแต่ที่ผ่านมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังมิได้รวมเรื่องนี้ไว้ในแผนอย่างชัดเจนทำให้ประเทศไทยขาดแผนระยะยาวในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาตินโยบายแรงงานข้ามชาติของไทยจึงมีลักษณะแบบปีต่อปีไม่ชัดเจนและไร้ทิศทางส่งผลให้ขาดความเข้มงวดในการป้องกันปราบปรามและส่งกลับขาดบูรณาการในการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดช่องให้เกิดการคอร์รัปชั่นขนาดใหญ่และทำให้นายจ้างและแรงงานข้ามชาติไม่เห็นประโยชน์ของการจดทะเบียนที่มีค่าใช้จ่ายสูงและเสียเวลาดำเนินการมาก

                งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาประสบการณ์ในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติของต่างประเทศเพื่อดูความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยโดยหลังจากได้รับความคิดเห็นจากที่ประชุมแล้วสรุปจะทำการศึกษาเปรียบเทียบ6 ประเทศคือสหรัฐอเมริกาที่มีปัญหาเรื่องแรงงานไร้ฝีมือผิดกฎหมายจากประเทศเม็กซิโกอยู่เป็นจำนวนมากเกาหลีใต้ที่กระทรวงแรงงานของไทยมีแนวโน้มจะใช้เป็นต้นแบบไต้หวันที่ผู้ประกอบการรายย่อยใช้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากและประเทศในอาเซียนที่มีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเป็นจำนวนมาก3 ประเทศคือมาเลเซียสิงคโปร์และบรูไนเพื่อสอดรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี2558โดยได้ปรับชื่อโครงการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยกับต่างประเทศ

 

อ.ดร.อัครพงษ์ ค่ำคูณ จากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำเสนอโจทย์วิจัยหัวข้อ“การจัดการข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศในอาเซียน”(Border Dispute Management in ASEAN)ซึ่งเริ่มต้นจากประเด็นที่ว่า ในขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์ (globalization) ก่อให้เกิดแนวคิด “โลกไร้พรมแดน” (borderless world)ที่ส่งผลให้ “เส้นเขตแดน (borderline)ถูกลดความความสำคัญลง เช่น การรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรป

แต่อาเซียนยังมีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอยู่มากพอสมควร ซึ่งสามารถเป็นอุปสรรคในการรวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)” ในปี 2558เพราะ “เส้นเขตแดน” ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายผู้คน ทุน สินค้าและบริการ รวมทั้งเป็นเครื่องกีดขวางทางความคิด ความรับรู้ ความรู้ และจินตนาการอีกด้วย

โครงการวิจัยนี้ จะทำการสำรวจข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศในอาเซียนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมกรณีที่ประสบความสำเร็จในอดีต และกรณีที่ยังเกิดความขัดแย้งกันอยู่ในปัจจุบัน โดยจะอธิบายกรณีพิพาทเขตแดนในอาเซียน ผ่านการศึกษากลไกการระงับข้อพิพาทในระดับรัฐบาล ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จ และสาเหตุของความล้มเหลวในการจัดการข้อพิพาทเขตแดน ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซีย อย่างไรก็ตามโครงการวิจัยนี้จะไม่ศึกษากรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            เรื่องล่าสุด

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ธันวาคม 22, 2011

                                            สัมนาหัวข้อ “การมุ่งหน้าสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความเป็นไปได้ อุปสรรค และปฏิทรรศน์ในการพัฒนา การปกครอง และความมั่นคงของมนุษย์” (Towards an ASEAN Economic Community (AEC): Prospects, Challenges...

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            มกราคม 16, 2012

                                              บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์   ดาวน์โหลด AEC-Thailand (PDF file)

                                            จุลสาร “จับตาอาเซียน” ฉบับที่ 4

                                            จุลสาร “จับตาอาเซียน” ฉบับที่ 4

                                            มีนาคม 14, 2013

                                            จุลสารจับตาอาเซียนฉบับที่ 4 โดยทีมงาน ASEAN Watch

                                            ฟิลิปปินส์จับกลุ่มติดอาวุธขณะลอยเรือกลับบ้าน – เดลินิวส์

                                            ฟิลิปปินส์จับกลุ่มติดอาวุธขณะลอยเรือกลับบ้าน – เดลินิวส์

                                            มีนาคม 14, 2013

                                            ฟิลิปปินส์จับกลุ่มติดอาวุธขณะลอยเรือกลับบ้าน – เดลินิวส์

                                            ชาวพม่าประท้วงเหมืองทองแดงฮุบที่ทำกิน – สำนักข่าวไทย

                                            ชาวพม่าประท้วงเหมืองทองแดงฮุบที่ทำกิน – สำนักข่าวไทย

                                            มีนาคม 14, 2013

                                            ชาวพม่าประท้วงเหมืองทองแดงฮุบที่ทำกิน – สำนักข่าวไทย

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            จุลสาร “จับตาอาเซียน” ฉบับที่ 4: จุลสารจับตาอาเซียนฉบับที่ 4 โดยทีมงาน ASEAN Watch http://t.co/GamgBvh3Kb

                                            ฟิลิปปินส์จับกลุ่มติดอาวุธขณะลอยเรือกลับบ้าน – เดลินิวส์: ฟิลิปปินส์จับกลุ่มติดอาวุธขณะลอย… http://t.co/ibZ2iRU86c

                                            ชาวพม่าประท้วงเหมืองทองแดงฮุบที่ทำกิน – สำนักข่าวไทย: ชาวพม่าประท้วงเหมืองทองแดงฮุบที่ทำกิน… http://t.co/XgbUzEgMYX

                                            ‘พระจอมเกล้าลาดกระบัง’ สุดเจ๋ง! ผุด 5 เมกะโปรเจกต์ ‘มหานครอาเซียน’ รับเออีซี – ไทยรัฐ… http://t.co/SibydzBiYD

                                            แผนที่อาเซียน