home

ASEAN Forum 6: “รายงานความก้าวหน้างานวิจัยในประเด็นแรงงานและอาเซียน”

มิถุนายน 4, 2013
ASEAN Forum 6: “รายงานความก้าวหน้างานวิจัยในประเด็นแรงงานและอาเซียน”

การประชุม  ASEAN Forum  ครั้งที่ 6

“รายงานความก้าวหน้างานวิจัยในประเด็นแรงงานและอาเซียน”

 วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 09.00 – 12.00 น.

 ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 14 อาคาร SM Tower

ตามที่สกว. ได้อนุมัติโครงการวิจัยในประเด็นแรงงานซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการวิจัย โครงการ “จับตาอาเซียน” (ASEAN Watch) จึงจัดการประชุม ASEAN Forum ครั้งที่ 6 ขึ้นภายใต้หัวข้อ “รายงานความก้าวหน้างานวิจัยในประเด็นแรงงานและอาเซียน” โดยนักวิจัยได้มารายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยและการแสดงความคิดเห็นและทรรศนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินการวิจัยต่อไป

ดร.ธัญญลักษณ์  วีระสมบัติ  จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตไทย: ช่องว่างงานวิจัย การนำไปสู่ภาคปฏิบัติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์” ในครั้งนี้เป็นรายงานการวิจัยระยะที่ 1 (จากทั้งหมด 3 ระยะ) รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตตั้งแต่ปี 2535 – ปัจจุบัน  ข้อค้นพบที่สำคัญคือ งานวิจัยที่มีอยู่ได้ระบุถึงปัญหาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต ความพร้อมของทักษะฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต การขาดแคลนปริมาณแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต บทบาทรัฐในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ความร่วมมือจากภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน  ความต้องการของตัวแรงงานในการพัฒนาทักษะฝีมือของตนเอง ลักษณะและนิสัยแรงงานที่นายจ้างพึงประสงค์  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดฝึกอบรมโดยรัฐ ปัญหาการจัดฝึกอบรมโดยภาครัฐ ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อคุณภาพแรงงาน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ค้นพบยังไม่ครอบคลุมบางอุตสาหกรรมที่อยู่ในแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมไทยปี 2555 – 2574  อาทิ อุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน นอกจากนั้นข้อมูลจากงานวิจัยที่มีอยู่ยังมีความทับซ้อน ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่อุตสาหกรรม และให้ข้อมูลเชิงกว้างมากกว่าเชิงลึก ผู้วิจัยเสนอว่างานวิจัยในอนาคตควรมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เน้นการศึกษาเชิงลึก การศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจต่อทักษะแรงงานควรจัดทำแยกตามรายอุตสาหกรรมเพื่อชัดเจน และควรให้ความสำคัญกับ “นิสัยอุตสาหกรรม” ของแต่ละรายอุตสาหกรรมด้วย

หลังจากนำเสนอ ผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโส จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)  และผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสถาบันยานยนต์ได้แนะนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตพร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอว่าอาจไม่จำเป็นต้องเน้นการนำงานวิจัยตั้งแต่ปี 2535 มาเปรียบเทียบกับแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยระยะ พ.ศ. 2555 – 2574 นอกจากนี้ควรเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อขยายผลต่อยอดงานวิจัยที่ทำไว้รวมทั้งเสนอให้เพิ่มข้อมูลบางส่วน เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมอาชีพ พ.ศ. 2537 เพื่อเชื่อมโยงถึงที่มาเกี่ยวกับบทบาทของรัฐในการพัฒนาทักษะแรงงานและแนะนำให้เพิ่มข้อมูลปัจจุบันที่สำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์

ผศ.ดร.กมลพร สอนศรี จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของประเทศฟิลิปปินส์”  โดยในการวิจัยระยะแรกนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลของนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแรงงานของฟิลิปปินส์โดยเฉพาะการส่งออกแรงงานไปยังต่างประเทศ รวมถึงนโยบายและกฎระเบียบของฝ่ายไทยในแง่ของการรับเข้าแรงงานจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์หน่วยราชการ และผู้ประกอบการไทยที่ที่มีแรงงานฟิลิปปินส์ทำงานอยู่ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบการรวบรวมข้อมูลแรงงานฝีมือ เนื่องจากแรงงานฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายมากที่สุดในไทยนั้นแทบทั้งหมดเป็นแรงงานฝีมือ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ ครู-อาจารย์ ผู้จัดการ-ผู้ประสานงาน และวิศวกร

ผลการศึกษาพบว่า ฟิลิปปินส์มีนโยบายที่ส่งเสริมและการขยายตลาดแรงงานออกไปยังต่างประเทศโดยมีหน่วยงานส่งเสริมอำนวยความสะดวกในการออกไปทำงานต่างประเทศ POEA OWA นอกจากนี้ในหมู่แรงงานฝีมือฟิลิปปินส์เองก็มีค่านิยมในการออกไปทำงานนอกประเทศ เนื่องจากอัตราการแข่งขันสำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาในประเทศแข่งสูงมาก โดยประเทศหลักที่แรงงานฝีมือฟิลิปปินส์นิยมเดินทางออกไปทำงานได้แก่สหรัฐและตะวันออกกลาง

สำหรับในกรณีประเทศไทยพบว่า ความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยหลักสำหรับฟิลิปปินส์ที่เลือกเข้ามาทำงานในประเทศไทย  ทั้งนี้มักเข้ามาโดยผ่านเครือข่ายที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง คนรู้จัก เป็นต้น อย่างไรก็ดี ปัญหาที่แรงงานฝีมือฟิลิปปินส์พบเมื่อเข้ามาทำงานในไทย ได้แก่ ปัญหาเรื่องใบประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มครู-อาจารย์ และได้รับใบอนุญาตให้เข้ามาทำงานในระยะสั้นเพียงไม่เกิน 2 ปี สำหรับกรณีของวิศวกรก็เช่นเดียวกันที่ไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพ ยิ่งไปกว่านั้นวิศวกรชาวฟิลิปปินส์ที่เข้ามาในไทยก็ยังถูกท้าทายจากวิศวกรไทยมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันวิศวกรไทยมีความสามารถทางภาษาอังกฤษดีขึ้น ส่วนในกรณีของผู้จัดการ-ผู้ประสานงาน ก็พบว่าเมื่อเข้ามาในไทยแล้วพบว่าได้ทำงานที่ไม่ค่อยตรงกับความต้องการมากนัก

จากนั้นผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรจะมีการการศึกษากฎระเบียบของสภาวิชาชีพในประเทศฟิลิปปินส์ การวิเคราะห์ในประเด็นผูกพันกับ AEC ว่าไทยได้ประโยชน์อย่างไรต่อการเข้ามาของแรงงานฝีมือชาวฟิลิปปินส์ ทั้งยังแนะนำให้จำกัดขอบเขตของปัจจัยดึงดูดและผลักดันที่แรงงานฟิลิปปินส์เข้ามาทำงานในไทย ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลควรจะเน้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ควรต้องเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสัดส่วนแนวโน้มและโครงสร้างต่างๆ ของแรงงานต่างด้าวทั้งในภาพรวมและของประเทศไทยเพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ในอนาคต

            ผศ.ดร.กิริยา  กุลกลการ จากคณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้างานวิจัยเรื่อง  “การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยกับต่างประเทศ”  ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาการเปรียบเทียบ 7 ประเทศด้วยกันคือ  ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และบรูไน โดยในการวิจัยในระยะแรกนี้จะเป็นขั้นตอนของการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลว่าด้วยนโยบายและมาตรการต่างๆ ของแต่ละประเทศในการบริหารจัดการแรงงานต่างชาติ โดยพบว่า แต่ละประเทศต่างมีนโยบายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ โดยในมาตรการการบริหารแรงงานข้ามชาติได้มีการจัดระบบการแบ่งงานตามทักษะฝีมือ เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย ในขณะที่สิงคโปร์  เกาหลีใต้  บรูไนและสหรัฐเป็นประเทศที่คุมเข้มเรื่องแรงงานข้ามชาติอย่างมาก สิงคโปร์มีนโยบายเลิกจ้างแรงงานต่างชาติ เก็บภาษีการใช้แรงงานต่างชาติ อีกทั้งต้องมีใบอนุญาตรวมทั้งกำหนดอายุแรงงาน บรูไนมีแผนการจ้างแรงงานต่างชาติไว้ไม่เกินจำนวน 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานทั้งหมด เพื่อเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นที่ว่างงานกว่า 10,000 คน มีงานทำ  ส่วนเกาหลีใต้ก็มีจุดเด่นในนโยบายจัดการแรงงานข้ามชาติที่เป็นจัดการแบบรัฐต่อรัฐมีการฝึกอบรมแรงงาน และมีระบบคุ้มครองแรงงานอย่างดี ในขณะที่สหรัฐมีนโยบาย Guest worker program เพื่อนำเข้าแรงงานไร้ฝีมือมาทำงานในสหรัฐ ชั่วคราวหรือตามฤดูกาล คุมเข้มการนำเข้าแรงงานโดยกำหนดจำนวน Visa ต่อปีอีกทั้งยังถูกจำกัดให้ทำงานได้ที่เดียวเป็นระยะเวลาหนึ่งปี

สำหรับประเทศไทย พบว่า การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติของไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535-2555 สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. การขึ้นทะเบียนเพื่อผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราว 2. การปรับสถานะแรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย 3. การนำเข้าแรงงานข้ามชาติอย่างถูกกฎหมายจากประเทศต้นทาง แต่ในปัจจุบันไทยยังไม่ได้มีความพยายามลดการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ นโยบายมีลักษณะระยะสั้น และไม่ยืดหยุ่น การปฏิบัติงานขาดบูรณาการระหว่างหน่วยงานยังไม่มีประสิทธิภาพทั้งด้านข้อมูล การจัดการปัญหาและไม่มีนโยบายเรื่องการตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยของแรงงานต่างชาติ

หลังจากนั้นผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รศ.ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง ผู้อำนวยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คุณสิงหเดช  ชูอำนาจ จาก กระทรวงแรงงานและท่านอื่นๆ ได้แสดงความคิดเห็นสรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก บทเรียนที่ได้จากการอ่านงานวิจัยในด้านของนโยบายการย้ายถิ่น โดยการย้ายถิ่นมีผลกระทบต่อประเทศต้นทางขณะที่การควบคุมแรงงานต่างชาติก็มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายการย้ายถิ่นของแรงงาน ในขณะเดียวกันประเด็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนก็จะต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับการย้ายถิ่นด้วย

     ประเด็นที่สอง  การปรับปรุงงานวิจัยควรจะมีการพิจารณาถึงตัวเลขแรงงานข้ามชาติที่แท้จริง ต้องมี  การศึกษาให้ลึกซึ้งมากขึ้นในประเด็นการให้ความเป็นพลเมืองกับต่างชาติของไทย การใช้ข้อมูลควรให้ความสำคัญกับแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ  ในขณะที่การจัดกลุ่มประเทศต้องการแรงงานอาจจัดได้เป็น 3 กลุ่มตามระดับความต้องการแรงงาน การวิเคราะห์ตีความควรจะเพิ่มเติมในส่วนประเด็นสาเหตุการย้ายถิ่น สถานภาพทางกฎหมายผู้ย้ายถิ่น ความต้องการแรงงานและการบริหารจัดการแรงงาน

ประเด็นสุดท้าย  โจทย์วิจัยในอนาคตที่เป็นการพิจารณาปัญหาแรงงานในประเทศไทยที่มาจากการที่อุปสงค์และอุปทานแรงงานที่ไม่ตรงกันและควรมีการศึกษาบทเรียนจากประเทศอื่นๆ ในเรื่องของอุปสงค์อุปทานแรงงาน รวมถึงนโยบายด้านแรงงานของทั้งประเทศต้นทางและปลายทาง

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            เรื่องล่าสุด

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ธันวาคม 22, 2011

                                            สัมนาหัวข้อ “การมุ่งหน้าสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความเป็นไปได้ อุปสรรค และปฏิทรรศน์ในการพัฒนา การปกครอง และความมั่นคงของมนุษย์” (Towards an ASEAN Economic Community (AEC): Prospects, Challenges...

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            มกราคม 16, 2012

                                            บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ดาวน์โหลด AEC-Thailand (PDF file)

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ความขัดแย้งข้างต้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้อจำกัดของความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนเองในการแก้ไขปัญหาที่น่ากังวลนี้ ปัญหาโจรสลัดจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากแต่ละประเทศยังคงไม่แก้ไขกฎหมายทางทะเลที่มีความหละหลวม ทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงปัญหาเรื่องการประสานงานระหว่างประเทศอย่างไม่จริงจังนักในการต่อต้านโจรสลัด เนื่องจากหลายประเทศมักมีข้อพิพาทด้านอธิปไตยเหนือดินแดนทางทะเลระหว่างกัน จนเป็นเหตุให้แต่ละประเทศเกรงว่า การยอมลงนามในข้อตกลงทางทะเลระหว่างประเทศใด ๆ อาจกลายเป็นการยอมรับสิทธิอันชอบธรรมทางกฎหมายเหนือดินแดนทางทะเลของชาติอื่นอย่างไม่ตั้งใจ สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงการหวงแหนอธิปไตยของชาติอาเซียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเป็นประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                            อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                            สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                            ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                            แผนที่อาเซียน