home

ASEAN Research Forum 1: รายงานผลการวิจัยประเด็นแรงงานและการลงทุนในอาเซียน

มีนาคม 3, 2014
ASEAN Research Forum 1: รายงานผลการวิจัยประเด็นแรงงานและการลงทุนในอาเซียน

การประชุม ASEAN Research Forum ครั้งที่ 1 “รายงานผลการวิจัยประเด็นแรงงานและการลงทุนในอาเซียน”
วันอังคารที่ 28 มกราคม 2557  เวลา 13.30 – 16.30 น.
ห้อง 202  คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ท่าพระจันทร์

การจัดประชุม ASEAN Research Forum ครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในด้านทักษะและการเคลื่อนย้ายแรงงานรวมถึงการลงทุนระดับ SMEs ในประเทศอาเซียน โดยมีนักวิจัยนำเสนอรายงานผลวิจัย 3 ท่าน

 เริ่มที่ อ.ดร. ธัญญลักษณ์  วีระสมบัติ  จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอรายงานผลการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตไทย: ช่องว่างงานวิจัยการนำไปสู่ภาคปฏิบัติและทักษะที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์” ข้อค้นพบของงานระยะแรกคือ งานวิจัยที่มีอยู่แล้วชี้ว่า อุตสาหกรรมการผลิตมีปัญหาแรงงานทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ด้านปริมาณขาดแคลนแรงงานระดับการศึกษาต่ำ โครงสร้างประชากรมีวัยแรงงานลดลงจะทำให้การขาดแคลนแรงงานรุนแรงขึ้น ด้านคุณภาพพบว่ามีงานวิจัยจำนวนไม่มากนักที่อธิบายทักษะที่แต่ละอุตสาหกรรมการผลิตต้องการ ทักษะและคุณสมบัติที่ขาดแคลน ได้แก่ ทักษะทางเทคนิค ทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงาน ความสามารถในด้านการวิจัย-พัฒนาชิ้นส่วน แรงจูงใจในการทำงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณลักษณะนิสัยใฝ่การเรียนรู้ และความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เป็นต้น

งานวิจัยระยะที่ 2 และ 3 ใช้การสัมภาษณ์และการประชุม focus group ร่วมกับตัวแทนสถานประกอบการยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์เพื่อค้นหารายการทักษะและคุณสมบัติแรงงานที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมทั้งสอง สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ทักษะถูกกำหนดด้วยรูปแบบการผลิตและระดับการใช้เทคโนโลยีของสถานประกอบการที่แตกต่างกัน แรงงานในแต่ละแผนกต้องมีชุดของทักษะทั้งที่เหมือนและต่างกันแยกเป็น ทักษะทั่วไป ทักษะสำหรับการทำงานแต่ละแผนก และทักษะเฉพาะ นอกจากต้องมีคุณลักษณะที่จำเป็นอื่น ๆ ได้แก่ ความมีวินัย ความมุ่งมั่น ความขยัน ซื่อสัตย์ อดทน และ ทัศนคติที่ดีต่องาน เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์พบว่า ทักษะถูกกำหนดด้วยระดับเทคโนโลยีและสภาพการทำงานของแต่ละสถานประกอบการ ส่วนรายการทักษะที่จำเป็นแยกเป็นทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะ นอกจากนั้นยังต้องการคุณสมบัติอื่น ๆ (นิสัยอุตสาหกรรม) จากแรงงาน  ได้แก่ วินัย  ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความมุ่งมั่นทุ่มเทต่องาน เป็นต้น งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะคืองานวิจัยในอนาคตควรสอดคล้องกับความต้องการอุตสาหกรรมหลักที่อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรม (ปี 2555-2574) ควรจัดทำให้ครบทุกอุตสาหกรรมและควรกระจายพื้นที่การเก็บข้อมูล นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญกับความต้องการนิสัยอุตสาหกรรมของแรงงานของแต่ละอุตสาหกรรมด้วย สำหรับการพัฒนาทักษะแรงงาน ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาครัฐในรูปแบบสหกิจศึกษาให้มากขึ้น นอกจากนั้นรัฐควรมีบทบาทปลูกฝังคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการทำงานผ่านระบบการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเติบโตขึ้นโดยมีความพร้อมที่จะทำงานในอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม

ด้านของ ผศ.ดร.กมลพร สอนศรี จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอ ผลการวิจัยเรื่อง “การศึกษาการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของประเทศฟิลิปปินส์” โดยสามารถสรุปผลตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ศึกษาได้ดังนี้ (1) การศึกษานโยบาย กฎระเบียบ โครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือของฟิลิปปินส์ พบว่า นโยบายมีความชัดเจนตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์มาร์กอสกล่าวคือ การออกกฎหมายแรงงานเป็นคำสั่งโดยตรงของประธานาธิบดีมาตลอด ต่อมาได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดขั้นตอนการออกกฎหมายการทำงานในต่างประเทศและจัดระบบหน่วยงานรัฐเสียใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเข้าร่วม (2)การศึกษากฎหมายและเงื่อนไขที่แรงงานชาวฟิลิปปินส์เข้ามาทำงานในไทย พบว่าประเทศไทยมีกฎหมายการเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวและกฎหมายคนเข้าเมืองที่กำหนดวิชาชีพที่ต้องการด้านกำลังแรงานและลักษณะรูปแบบแรงงาน นอกจากนี้ยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศไทยด้วย (3) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้แรงงานฟิลิปปินส์ไปทำงานนอกประเทศและเข้ามายังประเทศไทย พบว่า มีทั้งปัจจัยด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ นโยบาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องที่เป็นปัจจัยดึงดูดและผลักดันต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากฟิลิปปินส์และเข้ามาทำงานในประเทศไทย

สุดท้าย ดร.เนตรนภา  ไวทย์เลิศศักดิ์ ยาบุชิตะ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการลงทุนในอาเซียนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยเปรียบเทียบร้านอาหารไทยและอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป” โดยกล่าวว่า หลังจากที่ได้เดินทางสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในอาเซียนซึ่งเปิดบริการมาแล้ว 3 ปีขึ้นไป ใน 5 ประเทศ รวม 25 ร้าน โดยแบ่งเป็น ร้านอาหารไทยในเวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ประเทศละ 7 ร้าน ร้านอาหารไทยในมาเลเซีย 3 ร้าน และร้านอาหารไทยในพม่าอีก 1 ร้าน พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ (ยกเว้นผู้ประกอบการในสิงคโปร์ที่ชี้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดคือเรื่องของทำเลและค่าเช่า) เห็นว่า การมีพาร์ทเนอร์ในการลงทุนที่ดีคือปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของร้านอาหารไทยในต่างแดน ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมาผู้ประกอบการในแต่ละประเทศจะให้ความสำคัญแตกต่างกันออกไป เช่น สำหรับเวียดนามและมาเลเซียนั้น ปัจจัยเรื่องทำเลและค่าเช่ามีความสำคัญรองลงมา มีการเปิดปิดร้านหรือย้ายทำเลที่ตั้งเนื่องจากค่าเช่าสูงขึ้น ส่วนในกรณีของอินโดนีเซียปัจจัยเรื่องคู่แข่งที่มีอยู่ค่อนข้างมากและเรื่องการประชาสัมพันธ์มีความสำคัญรองลงมา เพราะต้องแข่งขันกับร้านอาหารในช้อปปิ้งมอลล์ที่มีจำนวนมากขึ้น

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
                                              '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                              คลังข้อมูล

                                              พบกับเราที่ Facebook

                                              Tweets ล่าสุด

                                              ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                              อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                              สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                              ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                              แผนที่อาเซียน