home

TRF- ASEAN Research Forum ครั้งที่ 2 “รายงานความก้าวหน้าและผลการวิจัย: การบริโภคละครไทยในอาเซียนและสถานะองค์ความรู้ภูมิภาคศึกษาเปรียบเทียบอาเซียน-สหภาพยุโรป”

สิงหาคม 24, 2014
TRF- ASEAN Research Forum ครั้งที่ 2 “รายงานความก้าวหน้าและผลการวิจัย: การบริโภคละครไทยในอาเซียนและสถานะองค์ความรู้ภูมิภาคศึกษาเปรียบเทียบอาเซียน-สหภาพยุโรป”

TRF- ASEAN Research Forum ครั้งที่ 2
“รายงานความก้าวหน้าและผลการวิจัย: การบริโภคละครไทยในอาเซียน
และสถานะองค์ความรู้ภูมิภาคศึกษาเปรียบเทียบอาเซียน-สหภาพยุโรป”
วันที่ 14 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 – 16.00 น.
สถานที่   ห้อง 202 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

การจัดประชุม TRF- ASEAN Research Forum ครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัยภายใต้การประสานงานของโครงการ “จับตาอาเซียน” (ASEAN Watch) ได้นำเสนอความก้าวหน้าและผลการวิจัย ต่อผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งนักวิจัยที่นำเสนอได้แก่ อ.ดร. อัมพร จิรัฐติกร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์นรุตม์ เจริญศรี จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.ดร. อัมพร จิรัตกร นำเสนอความก้าวหน้าในรอบ 6 เดือนแรกของโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาเรื่องการบริโภคละครไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน : ศึกษากรณีในประเทศพม่า กัมพูชาและเวียดนาม” ซึ่งจากการศึกษาและเก็บข้อมูลภาคสนามในระยะที่แรกนี้สามารถสรุปข้อค้นพบได้เป็น 3 ประเด็น ดังนี้

1. ช่องทางการรับชม

สำหรับกลุ่มผู้ชมชาวไทใหญ่ ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์นั้น รับชมละครโทรทัศน์ไทยโดยผ่าน 2 ช่องทางคือ 1) รับชมโดยตรงผ่านจานดาวเทียมประเภทจานดำ ซึ่งสามารถรับชมได้ทั้ง ช่อง 3, ช่อง 5 และช่อง 7 เป็นการรับชมโดยไม่มีการเปลี่ยนภาษา ซึ่งแตกต่างจากในอดีตราว 10 ปีที่แล้วที่การรับชมแบบนี้มีน้อยมาก ความเปลี่ยนแปลงในประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ควรศึกษาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป

2) การรับชมผ่านแผ่น DVD ซึ่งพากย์เสียงทับเป็นภาษาไทใหญ่ โดยละครแต่ละเรื่องจะจบใน DVD แผ่นเดียว ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตหนึ่งราย (ไม่ได้ลิขสิทธ์จากเจ้าของละคร) โดยละครแต่ละเรื่องมียอดผลิต DVD ประมาณ 1,000 แผ่น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็ถูกก็อปปี้ขายกันต่อไปเป็นทอดๆ   ส่วนกลุ่มผู้ชมในประเทศกัมพูชานั้น รับชมละครโทรทัศน์ไทยผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1) รับชมผ่านสถานีโทรทัศน์ทหารของกัมพูชา TV Khmer CH 5 ซึ่งจะมีการพากย์เสียงเป็นภาษาเขมร 2) รับชมผ่านเครือข่ายเคเบิลทีวีของกัมพูชาซึ่งจะมีการออกอากาศช่อง 3 และช่อง 7 ของไทยโดยเป็นการออกอากาศสด ไม่มีการพากย์เสียง 3) รับชมผ่าน DVD และ VCD ซึ่งมีการพากย์เสียงภาษาเขมร 4) รับชมผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งเว็บไซต์ที่พากย์เสียงภาษาเขมร และทั้งที่เป็นเสียงภาษาไทย ซึ่งการรับชมในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสัญญาณอินเทอร์เน็ตค่อนข้างดีมาก โดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่

นอกจากนี้ ธุรกิจที่กำลังเฟื่องฟูอย่างมากในปัจจุบันก็คือ การรับดาวน์โหลดละครไทยซึ่งพากย์เสียงภาษาเขมร ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่คือกลุ่มสาวโรงงาน นั่นเอง

สำหรับกลุ่มผู้ชมในประเทศเวียดนามรับชมละครโทรทัศน์ไทยผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1) รับชมผ่านเครือข่ายเคเบิลทีวีของทางรัฐบาล ซึ่งมีทั้งการพากย์เสียงภาษาเวียดนาม และการบรรยายเนื้อเรื่องแบบ monotone แตกต่างกันไปตามพื้นที่ 2) รับชมผ่าน DVD ซึ่งมีการพากย์เสียงภาษาเวียดนาม 3) รับชมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีการคำบรรยาย (Subtitle) ภาษาเวียดนาม โดยกลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่ที่รับชมผ่านช่องทางนี้คือกลุ่มผู้ชมวัยรุ่น

2. กระบวนการผลิต

ในด้านกระบวนการผลิตนั้นพบว่า ในกรณีของผู้ผลิตชาวไทใหญ่ ในรัฐฉาน จะเป็นการดาวน์โหลดละครไทยจากเว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) แล้วทำการพากย์เสียงทับ ก่อนนำอออกจัดจำหน่ายทั่วรัฐฉาน สิ่งที่น่าสนใจในกรณีนี้ก็คือ มีการเปลี่ยนชื่อตัวละครแต่ละตัวเป็นชื่อภาษาไทใหญ่ด้วย

ส่วนในกรณีของกัมพูชานั้น ในกรณีการออกอากาศผ่านช่อง TV Khmer CH 5 ซึ่งจะฉายเฉพาะละครของบริษัทกันตะนาและเอ็กแซ็ก เนื่องจากไม่สามารถสู้ราคาลิขสิทธ์ละครของช่อง 3 และช่อง 7 ได้ ส่วนในกระบวนการผลิต การแปลบทพูด และการพากย์เสียงนั้น ก็ต้องทำอย่างระมัดระวังอย่างมาก เพื่อไม่ให้กระทบความอ่อนไหวทางด้านวัฒนธรรม ดังเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต ส่วนในกรณีของการผลิต DVD และ VCD นั้น พบว่าปัจจุบันมีผู้ประกอบการอยู่ 2 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทมียอดขายดีมาก จนต้องพากย์เสียงกันแบบวันต่อวันเพื่อให้ทันขาย

สำหรับในกรณีของเวียดนาม พบว่า ในส่วนของช่องเคเบิลทีวีในกรุงฮานอยนั้น จะมีเพียงการใส่เสียงบรรยายเรื่องในลักษณะ Monotone ในขณะเดียวกันก็ปล่อยเสียงตัวละครเป็นเสียงภาษาไทยตามปกติ ซึ่งแตกต่างจากช่องเคเบิลทีวีในเมืองศูนย์กลางของวงการบันเทิงเวียดนามอย่างนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นมีการพากย์เสียงภาษาเวียดนาม

3. รสนิยม

ในเรื่องรสนิยมและการสร้างความหมายนั้น สำหรับกลุ่มผู้ชมชาวไทใหญ่ ในรัฐฉาน ประเทศพม่าพบว่า กลุ่มผู้ชมที่อยู่ในช่วงวัยกลางคนจะค่อนข้างนิยมดูละครในแนวจักรๆ วงศ์ๆ มากกว่าละครในแนวอื่นๆ ส่วนกลุ่มผู้ชมวัยรุ่นจะชอบละครแนวรักโรแมนติกมากกว่า ส่วนละครที่ไม่เป็นที่นิยมเลยในกลุ่มผู้ชมไทใหญ่ก็คือ ละครแนวประวัติศาสตร์ และละครแนวชิงรักหักสวาท

นอกจากนี้ ผู้ชมละครหลายคนระบุตรงกันว่า ละครโทรทัศน์ไทยช่วยสร้างเสริมประสบการณ์และการเตรียมความพร้อมในการเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ส่วนในกรณีของกัมพูชาพบว่า ละครไทยเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในเขตเมืองและชนบท แต่แนวละครที่ได้รับความนิยมจะแตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ในเขตเมืองจะนิยมละครแนวชิงรักหักสวาท แย่งชิงพินัยกรรม (เช่น สุสานคนเป็น) (เช่น แรงเงา, สามีตีตรา) ส่วนในเขตชนบทจะชอบละครรักโรแมนติก พระเอกมีฐานะ หรือเป็นมาเฟียที่มีเรื่องขัดแย้งทางธุรกิจ (เช่น คิวบิก และเรื่องอื่นๆ ในแนวเดียวกัน) ส่วนละครที่ไม่เป็นที่นิยมก็คือ ละครแนวรันทด ชีวิตยากจน  และละครที่นางเอกเรียบร้อยอ่อนแอไม่สู้คน นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับละครเกาหลีที่ได้พยายามเข้ามาตีตลาดในกัมพูชาพบว่า ผู้ชมที่ชอบละครไทยจะไม่ชอบละครเกาหลี เนื่องจาก วัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างมาก ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้ชมเท่าใดนัก เนื่องจากวัฒนธรรมไม่ใกล้เคียงกัน ผู้ชมเพศหญิงกล่าวตรงกันว่าไม่ชอบนักแสดงชายเกาหลีเพราะหน้าตาและการแต่งหน้าเหมือนผู้หญิง นอกจากนี้เนื้อเรื่องของละครเกาหลีก็ไม่ชัดเจนเหมือนละครไทย

สำหรับในกรณีของเวียดนามนั้น พบว่า ละครไทยเพิ่งได้รับความนิยมอย่างชัดเจนในช่วงไม่เกิน 3-5 ปีที่ผ่านมานี้เอง และตลอด 10 ปีที่ผ่านมาตลาดละครโทรทัศน์เวียดนามถูกผูกขาดโดยละครจากเกาหลี ซึ่งปัจจุบันชาวเวียดนามก็ยังคงนิยมดูละครเกาหลีเป็นส่วนใหญ่ แต่ผู้ชมบางส่วนก็เริ่มรู้สึกอิ่มตัวกับละครเกาหลีเนื่องจากมองว่ามีเนื้อหาซ้ำๆ กัน นางเอกชอบป่วย เนื้อเรื่องวนเวียนอยู่กับปัญหาครอบครัวฯ นอกจากนี้ ยังมองว่าละครเกาหลีนั้นจริงเกินไปจนน่าเบื่อ ตัวร้ายก็ไม่ร้ายจริง เป็นต้น

สำหรับกลุ่มผู้ชมชาวเวียดนามที่หันมานิยมละครไทยก็เนื่องจากเห็นว่าละครไทยสนุกตื่นเต้นกว่า หักมุมมากกว่า มีพล็อตเรื่องใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ ตลอดเวลา นอกจากนี้ ละครไทยก็ยังแสดงให้เห็นเรื่องเพศที่สามซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในประเทศเวียดนามด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าละครไทยจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ผลิตจากช่องเคเบิลทีวีต่างๆ กลับพบว่าไม่สามารถหาละครไทยมาฉายได้ตามความต้องการของตลาดเท่าใดนัก เนื่องจากไม่สามารถติดต่อกับผู้ผลิตละครไทยได้มากนัก แม้ว่าฝ่ายเวียดนามจะมีกำลังซื้อสูงก็ตาม

ด้าน อาจารย์นรุตม์ เจริญศรี ได้นำเสนอสรุปผลการศึกษาวิจัย เรื่อง “สถานะความรู้ภูมิภาคศึกษาเปรียบเทียบ อาเซียน – สหภาพยุโรป” โดยชี้ให้เห็นถึงประเด็นเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบ (Comparative Regionalism) ระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน ผ่านการศึกษางานเขียนจำนวนทั้งสิ้น 48 ชิ้น ซึ่งด้วยตั้งอยู่บนสมมติฐานทำนองเดียวกันว่า อาเซียนไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับสหภาพยุโรป และไม่สามารถนำสหภาพยุโรปเป็นแม่แบบให้อาเซียนได้

เริ่มต้น อ.นรุตม์ชี้ให้เห็นถึงกระแสการเปลี่ยนผ่านจากการศึกษาภูมิภาคนิยมแบบเก่า(Old Regionalism) ที่เน้นมองยุโรปและรัฐเป็นศูนย์กลาง โดยมีคำถามหลักคือ ภูมิภาคหนึ่งจะร่วมมือกันได้อย่างไร การศึกษาแนวนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการศึกษาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ Eurosclerosis (1970-80) ที่ทำให้ภูมิภาคยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก แนวคิดการศึกษาภูมิภาคนิยมก็เปลี่ยนผ่านสู่ ภูมิภาคนิยมใหม่ (Neo-Regionalism) ซึ่งเริ่มมองเห็นความสำคัญของโลกาภิวัตน์ มองการบูรณาการระดับภูมิภาคผ่านมิติทางเศรษฐกิจ เน้นตัวแสดงอื่ นๆ ที่ไม่ใช่รัฐมากขึ้น ทั้งยังสนใจเปรียบเทียบระหว่างภูมิภาคนิยมในภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้เป็นแนวการศึกษามีลักษณะเป็นพหุนิยมและมีมิติที่หลากหลายกว่าเดิม (Pluralism and Multidimensionality)

อย่างไรก็ตาม อ.นรุตม์อธิบายถึงปัญหาของภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบในลักษณะนี้ว่า ยังคงติดปัญหาของการสร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน ว่าภูมิภาคคืออะไร ภูมิภาคนิยมคืออะไร รวมถึงยังมีปัญหาทางทฤษฎีว่าเราจะใช้ทฤษฎีอะไร ใช้วิธีวิทยาอย่างไรในการศึกษาเปรียบเทียบ รวมถึงยังหนีไม่พ้นการใช้ภูมิภาคนิยมของสหภาพยุโรปเป็นตัวแบบ หรือเน้นยุโรปเป็นศูนย์กลางอยู่ดี

ในการศึกษางานเขียนทั้ง 48 ชิ้น อ.นุรตม์ได้แบ่งประเด็นของการศึกษาภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้แก่ (1) การเมืองประวัติศาสตร์ (2) กฎหมาย (3) เศรษฐกิจระดับภูมิภาค (4) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (5) ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และ (6) วิธีวิทยาศึกษาภูมิภาคนิยม ขณะเดียวกัน ยังได้สกัดประเด็นสำคัญของการศึกษาภูมิภาคนิยมเปรียบเทียบระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป ผ่านกลุ่มย่อยข้างต้น

ประเด็นสำคัญที่พบในงานเขียนเหล่านี้ เช่น การมองว่าประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนควรเป็นเสาหลักในความร่วมมือระดับภูมิภาคของอาเซียนเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป ขณะเดียวกัน อาเซียนควรส่งเสริมการตีความเรื่องอำนาจอธิปไตยใหม่ เพื่อให้เกิดการถกเถียงเชิงทฤษฎีและนำเสนอสู่สาธารณะ อาเซียนควรสร้างบรรทัดฐานใหม่ในสังคมด้วยการมีกลไกแก้ไขความขัดแย้งระหว่างภูมิภาคและทบทวนความคิดเกี่ยวกับการไม่แทรกแซงและวิถีอาเซียน รวมถึงควรสนับสนุนให้กลุ่มภาคส่วนต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน ดำเนินนโยบาย หรือมีส่วนในการตรวจสอบการทำงานของอาเซียน เป็นต้น

นอกจากนี้ อ.นรุตม์ยังชี้ให้เห็นประเด็นเชิงวิธีวิทยาของการศึกษาเปรียบเทียบอาเซียน-สหภาพยุโรปด้วยว่า เนื่องจากตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าสหภาพยุโรปไม่สามารถใช้เป็นแม่แบบให้อาเซียนเปรียบเทียบได้ งานทั้งหมดจึงเน้นศึกษาจากบริบทของอาเซียนเป็นหลัก โดยต่างสนใจใช้ทฤษฎี Social Constructivism เป็นแนวทางศึกษาอาเซียน โดยตั้งคำถามหลักว่าวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ความคิด และบรรทัดฐานระดับภูมิภาค จะเป็นเงื่อนไขในการบูรณาการเป็นภูมิภาคที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังเสนอโมเดลการเปรียบเทียบใหม่ ๆ เช่น เปรียบเทียบสหภาพยุโรปกับอาเซียน+3 อีกด้วย

 

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-86:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-87:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-88:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-94:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-3:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-25:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                              '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                                                '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                                  '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                                    '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                                      '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                                      คลังข้อมูล

                                                      พบกับเราที่ Facebook

                                                      Tweets ล่าสุด

                                                      No tweets found.

                                                      แผนที่อาเซียน