home

‘New Normal’ หรือ ‘No Normal’ กระแสไทยในกระแสโลก

พฤษภาคม 27, 2016
‘New Normal’ หรือ ‘No Normal’ กระแสไทยในกระแสโลก

ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนาวิชาการในวาระครบรอบ 6 ทศวรรษแห่งทุนอานันทมหิดลเรื่อง “‘New Normal’ หรือ ‘No Normal’ กระแสไทยในกระแสโลก” เพื่อฉายภาพประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ว่าจะดำเนินไปในรูปแบบใด งานเสวนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 เวลา 9.00–12.15น. ณ ห้อง ศ.101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า นับตั้งแต่เกิดหลังเกิดวิกฤติทางการเงินในสหรัฐฯ หรือ วิฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) เมื่อปี 2551/2008 ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจโลก เริ่มชะลอตัวลงและเข้าสู่อัตราการเติบโตเฉลี่ยระดับใหม่ในระดับที่ต่ำกว่าเดิม กล่าวคือ โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจจะไม่ได้ดำเนินไปในรูปแบบเดิมอีกต่อไปเพราะตัวกำหนดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย จากบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง ‘New Normal’ หรือ ‘ความปกติในรูปแบบใหม่’ ของอนาคตของเศรษฐกิจไทยว่า หลังจากวิกฤติทางการเงินในสหรัฐฯ ระบบการค้าในระดับโลกเปลี่ยนแปลงไป ไม่เฟื่องฟูเช่นเดิม สังเกตได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ดิ่งตัวลง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด ‘New Normal’ ในประเทศไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจและการค้าของไทยเป็นระบบเปิด จึงมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การเงิน และเทคโนโลยีกับประเทศอื่นๆ เช่น มีการนำเข้า–ส่งออก เดินทางเคลื่อนย้ายเข้า-ออกประเทศ  ส่งผลให้เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจไทยก็ชะลอตัวตาม

ดร.กิริฎา เภาพิจิตร จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เห็นสอดคล้องว่า เศรษฐกิจโลกที่หดตัวส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย เช่น การส่งออกของสินค้าประเภทเกษตรกรรม เครื่องนุ่งห่ม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปริมาณที่น้อยลง พร้อมกล่าวถึง ‘New Normal’ ของโครงสร้างประชากรของไทยว่า ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคตอันใกล้ โดยจะมีอัตราผู้สูงอายุกำลังเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราวัยทำงาน (15 – 64 ปี) ลดต่ำลง ต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์ ที่มีแนวโน้นว่า จะมีวัยทำงานเพิ่มขึ้นในอีก 25 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ดี ดร.กิริฎา ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจจะพัฒนาไปได้ ไม่ได้ยึดติดแต่เพียงจำนวนวัยทำงานเท่านั้น แต่อยู่ที่ผลิตภาพในการผลิตของแรงงานอีกด้วย เช่น คนสิงคโปร์มีผลิตภาพในการทำงานสูงกว่าคนไทยประมาณ 2.5 เท่า พร้อมตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรที่ประเทศไทยจะรวยก่อนแก่ และมีความเสมอภาพทางรายได้ ด้วย เพราะเมื่อใดก็ตาม หากเศรษฐกิจพัฒนาขึ้น ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนก็จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองและสังคมตามมา

ขณะที่ ดร.ประกิจ ณรงค์ตะณุพล จากบริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด แสดงความเห็นว่า การเกิด ‘New Normal’ ในประเทศไทย อาจไม่เป็นเพราะผลกระทบจากต่างประเทศเท่านั้น แต่อาจเป็นเพราะสถานการณ์ที่ไหลเวียนภายในประเทศเองด้วย ทั้งหมดมีต้นตอและผลกระทบอย่างมีพลวัต 3 ประการ ได้แก่ (1) แรงงาน–ปัญหาเชิงโครงสร้าง (2) ทุน–ปัญหาความเหลื่อมล้ำ (3) เทคโนโลยี–เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผลอย่างมากต่อผลิตภาพในการผลิต ข้อมูลข่าวสาร นำไปสู่การเปลี่ยนวิธีคิด และเจตนารมณ์

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังประกอบไปด้วยความไร้เสถียรภาพในการลงทุน ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจเติบโตไปอย่างช้าๆ พร้อมความเสี่ยงตลอดเวลา ประชาชนจึงหันมาทำธุรกิจในระยะสั้นๆ เมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็จะไม่ดำเนินกิจการดังกล่าวต่อ ภายใต้มายาคติที่ว่า รวยเร็วและง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก ซึ่งสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นหนึ่งในตัวขับเร่งให้เกิดความไร้เสถียรภาพเพิ่มขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า ‘New Normal’ ที่เราเห็นนั้นอาจไม่ใช่ ‘New Normal’ จริงๆ แต่อาจเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่เราเคยชินแบบเดิม พร้อมเสนอแนะให้มีการตั้งรับ โดยเริ่มจากการพัฒนาระบบการศึกษา เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสูง และมีประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-86:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-87:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-88:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-94:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-3:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-25:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                              '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                                                '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                                  '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                                    '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                                      '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                                      คลังข้อมูล

                                                      พบกับเราที่ Facebook

                                                      Tweets ล่าสุด

                                                      No tweets found.

                                                      แผนที่อาเซียน