home

มาเลเซีย (16 – 31 ต.ค. 60)

มกราคม 3, 2018
มาเลเซีย (16 – 31 ต.ค. 60)

ตำรวจมาเลเซียได้ควบคุมตัวเยาวชนอายุ 18 ปีในรัฐกลันตันทางตะวันออกเฉียงจากเหตุประกอบระเบิดและสงสัยว่ามีการเชื่อมโยงกับการก่อการร้าย

fa-militant-20171013

นายตัน ศรี โมฮัมหมัด ฟูซี ฮารัน หัวหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติกล่าวว่า วัยรุ่นคนดังกล่าวเป็นหนึ่งในวัยรุ่นหลายคนที่ถูกจับกุมเนื่องจากต้องสงสัยว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย เขากล่าวเพิ่มเติมว่าแผนกต่อต้านการก่อการร้ายในสาขาพิเศษของมาเลเซียได้จับกุมผู้ก่อการร้ายจากต่างประเทศทั้งหมด 45 คน ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึง 6 ตุลาคมในปีนี้

การจับกุมครั้งนี้ นายฮารันกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าพบข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยข่าวกรองจากรัฐอิสลาม ในอิรักและซีเรีย (ISIS) โดยคำสั่งคือให้แทรกซึมเข้าไปในประเทศอื่นเพื่อโจมตีหลังจากสูญเสียฐานที่มั่นส่วนใหญ่ในอิรักและ ซีเรีย

ตำรวจยังได้ค้นเจอหลักฐานความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงการส่งทหารไปยังมาเลเซียเพื่อเริ่มโจมตีอีกด้วย โดยกลุ่มก่อการร้ายที่เกี่ยวข้องมีทั้งกลุ่ม ISIS กลุ่มอาบูซิยาฟ และจามามูฮัมหมัด โดยสมาชิกเหล่านี้ที่ทางเข้ามาในมาเลเซียเป็นที่ต้องสงสัยว่าจะวางแผนเปิดการโจมตีที่นี่ แต่ผู้ก่อการร้ายคนอื่น ๆ (จากหลายกลุ่ม) ต่างก็สงสัยว่าจะหาที่พักพิง และเก็บเงินเพื่อวางแผนการโจมตีหรือใช้มาเลเซียเป็นฐานปฏิบัติการเพื่อเปิดการโจมตีในประเทศอื่น ๆ

นายฮารันยังเปิดเผยว่าจำนวนผู้ก่อการร้ายชาวต่างชาติที่ถูกจับนั้นมี 31 คน บางส่วนเป็นสมาชิกของ ISIS มี 3 คนระบุว่าเป็นผู้บัญชาการทหารของอิรัก ส่วนคนอื่น ๆ ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้ก่อการร้ายเก้าคนจากองค์การก่อการร้าย Fetullah ขณะที่อีกบางกลุ่มเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายมุจาฮีดีนในบังคลาเทศ จนถึงปัจจุบัน 13 คนถูกนำตัวขึ้นศาล 12 คนถูกส่งกลับไปยังประเทศต่างๆ 7 ประเทศ ส่วนที่เหลือยังอยู่ภายใต้การตรวจสอบ

ที่มา straistimes.com

ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในมาเลเซียจำนวน 46.2 ล้านรายถูกขโมยไป โดยสื่อท้องถิ่นได้รายงานว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

ST_20171101_NRDATA01_3527694

เว็บไซต์ lowyat.net เผยว่าว่าแฮกเกอร์ได้ข้อมูลที่อยู่ เลขบัตรประจำตัว ข้อมูลในซิมการ์ด และรายละเอียดส่วนตัวของประชากรมาเลเซียเกือบทั้งหมดจำนวน 32 ล้านคน โดยชาวมาเลเซียจำนวนมากมีหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายหมายเลข

เว็บไซต์ยืนยันว่าโทรศัพท์มือถือ 46.2 ล้านหมายเลขรั่วไหลออกมาตามช่องทางออนไลน์ ในรายงานติดตามผลการดำเนินงาน แจ้งเตือนเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมว่ามีคนพยายามขายข้อมูลที่ได้มาจากการโจรกรรมมาตั้งแต่ปี 2014 โดยข้อมูลที่รั่วไหลออกมานี้ประกอบไปด้วยบันทึกจากสภาการแพทย์มาเลเซีย สมาคมแพทย์มาเลเซียและสมาคมทันตกรรมมาเลเซียอีกด้วย ข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวเช่น ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์

คณะกรรมการธิการการสื่อสารและมัลติมีเดียของมาเลเซีย (MCMC) กล่าวว่าขณะนี้หน่วยงานกำลังร่วมมือกับตำรวจเพื่อเร่งสืบสวนกรณีดังกล่าว ทางตำรวจได้บอกว่าการสืบสวนสอบสวนถูกนำโดยกรมคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงสื่อสารและมัลติมีเดีย ซึ่งขั้นตอนต่างนั้น ๆ ทั้ง MCMC และสำนักงานตำรวจไม่สามารถเข้าถึงได้

โดยนายกาวิน เชาว์ นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์กล่าวว่าแฮกเกอร์อาจทำให้มาเลเซียกลายเป็นเป้าโจมตีของการโจรกรรมข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ โดยนักต้มตุ๋นอาจแกล้งทำเจ้าของเบอร์ โทรศัพท์หรือส่งข้อความจากโทรศัพท์ เพราะพวกเขามีรายละเอียดส่วนบุคคลของเป้าหมายไว้แสดงตัวตน ผู้ใช้รายอื่นอาจถูกหลอกว่าโอนเงินหรือติดตั้ง “โปรแกรม telco” ที่มีมัลแวร์หรือสปายแวร์แฝงอยู่ สิ่งเหล่านี้สามารถใช้เพื่อหลอกลวงเป้าหมายได้ในอนาคต นายเชาวกล่าวว่าผู้ใช้จำเป็นต้องตื่นตัวเมื่อรับสายและข้อความจากคนแปลกหน้า และไม่ควรหลงเชื่อแชร์รายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติมในการโอนเงินหรือติดตั้งแอพพลิเคชั่น

ที่มา straitstimes.com

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน