home

อาเซียนกับวิกฤติมหาอุทกภัย ๒๕๕๔

ธันวาคม 14, 2011
อาเซียนกับวิกฤติมหาอุทกภัย ๒๕๕๔

 

ภัยพิบัติน้ำท่วมในปีนี้ (2554) ส่งผลกระทบต่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากถึง 6 ประเทศ และยังมีความร้ายแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปีของไทย อย่างไรก็ตาม วิกฤติครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกอาเซียน ดังจะเห็นได้จากการที่สมาชิกอาเซียนส่งความช่วยเหลือให้กันและกัน ทั้งที่บางประเทศก็ตกอยู่ในฐานะผู้ประสบภัย แต่ก็ยังส่งความช่วยเหลือให้แก่ประเทศอื่น เช่น ลาวและพม่าที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจช้ากว่าไทยและตกอยู่ในสถานะผู้ประสบภัยก็ยังให้ความช่วยเหลือแก่ไทย  นอกจากนี้อาเซียนยังมีบทบาทในการบรรเทาสถานการณ์โดยส่งทีมประเมินสถานการณ์เคลื่อนที่เร็วฉุกเฉินอาเซียน (ASEAN-Emergency Rapid Assessment Team-ERAT) ลงพื้นที่ เพื่อประเมินสถานการณ์ภัยภิบัติน้ำท่วมในไทย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2011 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 5 คน จากบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ทำงานร่วมกับฝ่ายไทย 3 คน พร้อมกับมอบข้าวสารผ่านองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve-APTERR) อย่างไรก็ตาม หากยังไม่มีการร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้ครอบคลุมมากกว่านี้ ปัญหาอุทกภัยก็จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม และจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาคมอาเซียนต่อไป

 

ความช่วยเหลือจากสมาชิกอาเซียนต่อไทย 

สิงคโปร์  

การช่วยเหลือจากสิงคโปร์ส่วนใหญ่มาจากภาครัฐ โดยบางส่วนจะมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการมอบเงิน สิ่งของบรรเทาทุกข์ และให้การฝึกอบรมเฉพาะด้านแก่ไทย

การช่วยเหลือทางการเงิน

รัฐบาลสิงคโปร์ได้มอบ 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการผลักดันให้มีการบริจากเงินกับสพากาชาดสิงค์โปร์ให้มากขึ้น ซึ่งนำไปมอบกับประเทศที่ประสบภัยน้ำท่วมในภูมิภาค นอกจากนี้สพากาชาดสิงคโปร์ยังได้บริจาคเงิน 1 แสนดอลลาร์สิงคโปร์  (Ministry of Foreign Affair Singapore 26พฤศจิกายน 2011)

การช่วยเหลือทางสิ่งของ

รัฐบาลสิงคโปร์ได้บริจาคเสบียงเพื่อบรรเทาทุกข์ เป็นจำนวน 115,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมไปด้วย เต็นท์ เครื่องปั่นไฟฟ้า ผ้าห่ม ตะเกียง และภาชนะใส่น้ำรวมทั้งเรือ 38ลำ และน้ำดื่มขวดจำนวน 17,000 ขวด จากสภากาชาดสิงคโปร์ (Ministry of Foreign Affair Singapore 26พฤศจิกายน 2011)

กองกำลังสิงคโปร์ได้บริจาคเรือติดเครื่องยนต์ จำนวน 45ลำ กระสอบทราย ผ้าปูที่นอน และผ้าห่มแก่กองทัพไทย (Ministry of Foreign Affair Singapore 26พฤศจิกายน 2011)

การช่วยเหลือเฉพาะด้าน

สิงคโปร์ได้มอบ online pH- เป็นจำนวน 50 หน่วย และเครื่องวัดความขุ่นของน้ำให้แก่การประปานครหลวง (Metropolitan Water Authority-MWA) และได้ให้การฝึกอบรมกับบุคลากรของการประปานครหลวง ในการประเมินความเสี่ยง และการกำหนดความปลอดภัยของน้ำประปา รวมทั้งให้บริการห้องทดลองเพิ่อตรวจสอบตัวอย่างน้ำประปา (Ministry of Foreign Affair Singapore 26พฤศจิกายน 2011)

มาเลเซีย

มาเลเซียได้ระดมความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงานของภาครัฐ และนอกภาครัฐเพื่อช่วยเหลือในด้านการบรรเทาในเบื่องต้น คนหาและช่วยชีวิต รวมทั้งบริจาคเงินเพื่อการฟึ้นฟู

การช่วยเหลือทางการเงิน

รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคใต้ เป็นจำนวน 26,000ริงกิต

เอกอัครราชทูตมาเลเซีย ประจำประเทศไทย ดาโต๊ะ นาซีระห์ บินตี ฮุสซัยน์ ได้มอบเช็คจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 30 ล้านบาท) แก่รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรพิทย์ กีรติบุตร ในฐานะตัวแทนรัฐบาลมาเลเซีย (mfa.go.th 17 พฤศจิกายน 2011)

การช่วยเหลือทางสิ่งของ

องค์กรนอกภาครัฐของมาเลเซีย ได้บริจาคน้ำดื่มแบบขวดจำนวน 1,000 ขวด ให้กับผู้บัญชาการสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ จีราวิฒน์ พยุงธรรม ( Bangkokpost.com  31 ตุลาคม 2011)

รัฐบาลมาเลเซียใด้มอบคอนเทนเนอร์สองตู้ที่บรรจุไปด้วยน้ำดื่มและอาหาร โดยมีน้ำแร่จำนวน 1,600 กล่อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 600 กล่อง รวมเป็นจำนวน 16,000 ริงกิต และบิสกิต 250 กล่อง (Borneo Post  6 พฤศจิกายน 2554)

การช่วยเหลือบนพื้นที่

มาเลเซียร่วมมือกับไทยระดมบุคลากรของหน่วยงานค้นหาและช่วยชีวิต ประมาณจำนวน 300 นายจากทั้งสองประเทศ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางตอนใต้ของนราธิวาส และทางตอนเหนือของกลันตัน (thestar.com 1 พฤศจิกายน 2011)

มาเลเซียได้ส่งอาสาสมัครเป็นจำนวนพันกว่าคนจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ Malaysia Red Crescent, St John’s Ambulance of Malaysia (SJAM), CRSM, Global Peace Festival, 1Malaysia Community Alliance (1MCA) Foundation, MAYC, Sukarclawan Pejabat Perdana Mentei, Persatuan keseclamatan Sukarela Kerian Perak, Barisan Kola, Kedah, GPMS Kedah, GLCs เช่น Tenaga Nasional Berhad เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (malaysiandigest.com 4 พฤศจิกายน 2011)

อินโดนีเซีย

การช่วยเหลือทางการเงิน

รัฐบาลอินโดนีเซีย บริจาค 3.1 ล้านเหรีญสหรัฐสำหรับ 6ประเทศในอาเซียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งกัมพูชา ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย โดยรัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการเพื่อประชาชน (Ministry of People’s Welfare)

สภากาชาดได้บริจาคเงิน เป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ แก่สภากาชาดไทย (Ministry of Foreign Affair Indonesia 14 พฤศจิกายน 2011)

รัฐมนตรีผู้ประสานงานของหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ ประเทศอินโดนีเซียได้มอบเงินช่วยเหลือเป็นจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่กระทรวงการต่างประเทศของไทย ซึ่งตั้งอยูที่กรุงจาการ์ตา (Ministry of Foreign Affair Indonesia 14 พฤศจิกายน 2011)

การช่วยเหลือทางสิ่งของ

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมในไทย โดยได้มอบ เครื่องปั่นไฟฟ้า ผ้าห่ม ยา อาหารสำเร็จรูป เครื่องกรองน้ำ (Ministry of Foreign Affair Indonesia 14 พฤศจิกายน 2011)

บรูไน

การช่วยเหลือทางการเงิน

เอกอัครราชทูตบรูไนประจำประเทศไทย ได้มอบเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (3 ล้านบาท) แก่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (mfa.go.th 4 พฤศจิกายน 2011)

สุลต่านและผู้นำรัฐแห่งบรูไนดารุซาลาม ได้ก่อตั้งกองทุนการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมในไทยและกัมพูชา โดยจะมีการรับเงินบริจาคเพื่อช่วยบรรเทาความยากลำบากที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและจิตใจของผู้ประสบภัย เป็นระยะเวลาสามเดือนนับจาก 12 พฤศจิกายน 2011 ถึง 11กุมภาพันธ์ 2012  (The Brunei Times 31 พฤจิกายน 2011)

เวียดนาม

การช่วยเหลือทางการเงิน

รัฐบาลเวียดนามได้บริจาคเงิน จำนวน 100,000ดอลลาร์สหรัฐ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ Pham Binh แก่เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนาม (www.siamintelligence.com 02 พฤศจิกายน 2011)

ลาว

การช่วยเหลือทางสิ่งของ

บริษัทเบรฟเวอรี่ลาวและบริษัทดางเฮืองกรุ๊ป บริจาคข้าวกล่องให้ไทย 8,000 กล่อง และน้ำดื่ม 192,000 ขวดมูลค่า 1.3 ล้านบาทแก่ไทย ( www.siamintelligence.com 02 พฤศจิกายน 2011)

พม่า

ช่วยเหลือทางการเงิน

นายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ได้เป็นผู้แทนรัฐบาลเมียนมาร์ มอบเงินจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐให้แก่รัฐบาลไทยผ่านทาง นายกัลยาณะ วิภัติภูมิประเทศ (eastasiawatch.in.th 4 พฤศจิกายน 2554)

ช่วยเหลือทางสิ่งของ

กองทัพเมียนมาร์ได้ส่งความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัยในไทยผ่านกองบัญชาการกองทัพไทย ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ให้น้ำเกลือ ผงเกลือแร่สำเร็จรูป น้ำดื่ม และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปน้ำหนักรวม 6,899 ตัน (eastasiawatch.in.th  27 ตุลาคม 2011)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานรับมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์จากรัฐบาลพม่า ซึ่งประกอบด้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมหนัก 2 ตัน และน้ำดื่ม 7 ตัน (eastasiawatch.in.th 3 พฤศจิกายน 2011)

 

ผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม 2554 ต่อกัมพูชาและเวียดนาม

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชาได้รับผลกระทบจากฝนและลมมรสุม ทำให้น้ำท่วม 18 จังหวัดจากทั้งหมด 23 จังหวัด 1 เทศบาล เฉพาะในเสียมเรียบได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 12 อำเภอ รวม 10,000 ครัวเรือน เด็ก 21,500 ราย นาข้าวถูกน้ำท่วม 191 ล้านตารางเมตร รวมทั้งผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ อีก 16.1 ล้านตารางเมตร ( www.siamintelligence.com 2 พฤศจิกายน 2011)

ประเทศเวียดนาม

ภัยน้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อพืนที่ในเวียดนามหลายแห่งด้วยกัน เช่น บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม มีผู้เสียชีวิตไปแล้วราว 58 ราย และเสียหายเป็นมูลค่าถึง 1.5 ล้านล้านด่อง (หรือ 71.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภาคการขนส่งได้รับผลกระทบทำให้ถนนเสียหายเป็นระยะทาง 930 กิโลเมตร และสะพานชำรุด 823 แห่ง ภาคการเกษตรต้องจมน้ำ ในส่วนของเขตเตียงยาง (Tien Giang) บ้านเรือนเสียหายราว 5,000 หลัง นักเรียนไม่สามารถไปเรียนได้กว่า 6,000 ราย และยังส่งผลต่อการสูญเสียเงินจากภาคการศึกษาราว 2 หมื่นล้านด่อง (1 ล้านเหรียญสหรัฐ) นอกจากนี้พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เวียดนามและกัมพูชา ต่างได้รับผลกระทบ โดยมี 30,000 หลังคาเรือน นาข้าวเสียหายราว 14,800 เอเคอร์ หรือประมาณ 37,000 ไร่ และพื้นที่ราว 245,000 เอเคอร์ หรือพื้นที่ราว 612,500 ไร่เสี่ยงต่อการถูกตัดขาดจากเวียดนามเพราะน้ำท่วม ( www.siamintelligence.com 2 พฤศจิกายน 2011)

Comments are closed.

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน