สรุปการประชุมสัมนาเรื่อง “ไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 2015”
จัดโดย: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่: 27 ธันวาคม 2554 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ณ ห้องบุญชู โรจนเสถียร ชั้น ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วิทยากร: รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุณสุภัฒ ภักดีสงวน ผู้อำนวยการสำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ดร.สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง อดีตรองเลขาธิการอาเซียน
คุณชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
การผงาดของอาเซียนเกิดขึ้นพร้อมกันกับการผงาดของเอเชียและมีความสคัญต่อเศรษฐกิจโลก เป็นอย่างมาก เมื่อพิจารณาในบริบทของประเทศไทยกับอาเซียน อาเซียนถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนนั้น ไทยไม่ควรที่เพียงแต่จะตั้งรับ แต่ควรมีนโยบายเชิงรุก เพื่อให้ตนเองมีส่วนในการสร้างประชาคมให้มีความสมบูรณ์ การปรับตัวของไทยควรเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน ต้องมีการปรับคนและทัศนคติของคน, ยุทธศาสตร์, นโยบาย และ โครงสร้างพื้นฐาน ทุกภาคส่วนต้องมีการประสานงานกัน และหน่วยงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนมากขึ้น
ในช่วงหลังยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยตกต่ำลงมาก เนื่องจากปัจจัยภายใน เช่นปัญหาการเมือง และอุทกภัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อบทบาทไทยในอาเซียน บทบาทนำของเราลดลง ในส่วนของการเตรียมรับอาเซียน ไทยยังไม่ค่อยได้ทอนความรู้ภาคปฏิบัติมามากนัก นอกจากนี้ ในอาเซียนเองยังมีอุปสรรคในการเป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบ อาทิเช่น การขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิก, ความร่วมมือทางทหารที่ยังเบาบางอยู่, การไม่มีท่าทีร่วมในเวทีระหว่างประเทศ เช่น WTO, การมีลักษณะการเป็นองค์กรของชนชั้นนำ ประชาชนยังไม่เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เป็นต้น
(รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี)
คุณสุภัฒ ภักดีสงวนกุล
เมื่อกล่าวถึงเป้าหมายหลักของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC สามารถสรุปสาระสำคัญได้ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 นั้น สิ่งที่มีการตั้งเป้าหมายใก้เกิดขึ้นคือ
- ภาษีนำเข้าจากการค้าขายระหว่างกันของปรเทศอาเซียนจะหมดไป
- เมื่อทั้งสิงประเทศปราศจากพรมแดนด้านภาษี จะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ขึ้น
- เสรีภาพด้านธุรกิจบริการกล่าวคือ ผู้ประกอบการของอาเซียน สามารถไปเปิดธุรกิจด้านบริการที่ใดก็ได้ในอาเซียน เนื่องจาก AEC มีแผนที่จะลด อุปสรรคต่างๆ ในการทำธุรกิจลงไป
- การถือหุ้นในประเทศอาเซียนทุกสาขา ผู้ประกอบการอาเซียนสามารถได้อย่างน้อย 70% เป็นอย่างต่ำ และรัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องปฏิบัติต่อนักลงทุนอาเซียนที่มาจากประเทศสมาชิกอื่นอย่างเท่าเทียมกับนักลงทุนในประเทศของตน
กรณีของนักลงทุนต่างชาตินอกอาเซียนที่มาลงทุนในประเทศอาเซียน จดทะเบียนเป็นบริษัทในอาเซียน และต้องการขยายธุรกิจไปยังประเทศอาเซียนอื่น สามารถกระทำได้ แต่มีเงื่อนไขว่า Substantial Business Operation หรือ SBO กล่าวคือ จะต้องทำธุรกิจนั้นในประเทศอาเซียนที่จดทะเบียนอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การจดทะเบียนแต่เพียงในนามเพื่อหวังเข้าสู่ประเทศอาเซียนอื่น แต่ในขณะนี้ ยังไม่มีข้อตกลงที่แน่ชัดเกี่ยวกับ SBO
5. การเปิดเสรีด้านแรงงาน หมายถึงเพียงแค่กลุ่มเเรงงานฝีมือ (Skilled Labour) เช่น หมอ, วิศวกร ถือเป็นการ อำนวยความสะดวกให้คนที่มีอาชีพเหล่านี้ไปทำงานได้ง่ายขึ้น โดยอาเซียนจะมีความตกลงยอมรับร่วมกัน หรือ Mutual Recognition Arrangements (MRA) ถึงมาตรฐานในการวัดแต่ละวิชาชีพ สำหรับแรงงานกึ่งฝีมือนั้น อาเซียนอาจจะมีการหยิบยกขึ้นมาหารือในอนาคต แต่กรณีแรงงานไร้ฝีมือยังคงไม่มีการกล่าวถึง
6. การเป็นตลาดเดียวนั้น การส่งออกย่อมจะเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นอาเซียนจะต้องพัฒนาสินค้า ให้มีความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากอาเซียนจะกลายเป็นตลาดร่วม และ ฐานการผลิตร่วม
(คุณสุภัฒ ภักดีสงวนกุล)
ดร.สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง
ทั้งนี้การปรับตัวจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของโลกในปี 2558 ด้วยว่าจะเป็นอย่างไร จากการคาดการณ์นั้น สภาพเศรษฐกิจของโลกจะเปลี่ยนไป เอเชียจะมีความสำคัญมากขึ้น มูลค่าการค้าของอาเซียนทั้งหมดในโลกอาจมีเพียงแค่ 2.5% แต่อาเซียน หรือประเทศในภูมิภาคนี้กำลังขี่หางมังกร นั่นคือจีนกำลังโต และจะทำให้ทั้งเอเชียผงาดขึ้น นอกจากนี้ วิธีการทำธุรกิจในโลก และโครงสร้างอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลง ธุรกรรมกับต่างประเทศจะเกิดขึ้นมาก
การค้าตามแนวชายแดนจะเติบโต การเติบโตในประเทศไทยจะอยู่ตามแนวชายเเดน ไม่ใช่ในเมืองหลวงอีกต่อไป ถ้าประเทศไทยอยากจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านต่างๆอาทิเช่นอาหาร, ยานยนต์, การท่องเที่ยง และสุขภาพ ไทยต้องรู้จักดึงส่วนดีของการเข้าสู่ประชาคมนำมาเป็นประโยชน์ต่อไทย
การพัฒนาและปรับตัวที่สำคัญคือ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากระบบการบริหารจัดการ เป็นปัจจัยที่ทำให้การบริการถึงเป้าหมายได้ เรื่องนวัตกรรมของการบริหาร คือสิ่งที่ให้มูลค่ามากที่สุดในโลก
ในส่วนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร เช่นอาหารจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการก่อให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของประชากร ปัญหาสังคมจะเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไปเพราะฉะนั้นวิธีการแก้ปัญหาก็ย่อมเปลี่ยนไป ความจำเป็นของกลไกที่นำมาใช้ยุติความขัดแย้งมีมากขึ้น
(ดร.สุทัศ เศรษฐบุญสร้าง)
คุณชลิดา ทาเจริญศักดิ์
ในด้านสังคม – วัฒนธรรม ต้องมีการว่งเสริมให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ปลูกจิตสำนึกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม การทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการลดช่องว่างในการพัฒนา ด้านสังคม – วัฒนธรรมนั้น เป็นด้านที่กล่าวได้ว่า “ซับซ้อน ยุ่งยาก และอ่อนไหว” เนื่องจากการพัฒนาและความสำเร็จขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตและความพอใจของประชาชน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่วัดได้ยาก เพราะเรื่องของคุณค่า ซึ่งต่างจากด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามทางภาคประชาชน นำโดยมูลนิธิศักยภาพประชาชน ยังได้มีการ จัดสัมนาเพื่อให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชน ต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(คุณชลิดา ทาเจริญศักดิ์)
Comments are closed.