home

ตามรอยเจ้านางมณีรินทร์ (กรุงเทพ-เมืองลา-เชียงตุง)

กุมภาพันธ์ 17, 2014
ตามรอยเจ้านางมณีรินทร์ (กรุงเทพ-เมืองลา-เชียงตุง)

เรื่องโดย ณัฐพงศ์  ดวงแก้ว

หลายคนอาจแปลกใจว่าทำไมผู้เขียนถึงใช้ชื่อว่าบทความนี้ว่า “ตามรอยเจ้านางมณีรินทร์” หากเรายังจำกันได้ ไม่เกินสองปีที่ผ่านมา มีละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่องหนึ่งชื่อว่า “รอยไหม”  ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของหญิงสาวผู้หนึ่ง ซึ่งได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับเจ้าอาณาจักรเชียงใหม่ หรือล้านนาในเวลานั้น หญิงสาวผู้นี้เป็นธิดาแห่งเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง มิตรประเทศที่สำคัญอย่างยิ่งของอาณาจักรล้านนา ผู้เขียนประทับใจเนื้อหา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องแต่งกาย ในละครเรื่องนี้มาก จนอดไม่ได้ที่จะเดินทางตามละคร เพื่อไปดูให้เห็นกับตาว่า ความสวยงามของนครเชียงตุงแห่งนี้ มีมนต์เสน่ห์และน่าหลงใหลเพียงใด

ด้วยความคลั่งละครของตัวเอง ผู้เขียนจึงเสาะแสวงหาโอกาสจะเดินทางไปเชียงตุงให้ได้ ด้วยความโชคดี ผู้เขียนได้เดินทางไปกับทริปของโครงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยมี ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นำทีม การเดินทางครั้งนี้เริ่มจากกรุงเทพสู่จังหวัดเชียงราย และเข้าสู่ชายแดนแม่สาย สู่เขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองลา และเดินทางย้อนกลับมาที่เชียงตุง

เมื่อเดินทางสู่ชายแดนแม่สาย สิ่งแรกที่ผู้เขียนประทับใจคือ ถนนที่มุ่งหน้าสู่เชียงตุงที่คดเคี้ยวตามลำน้ำและภูเขา อีกทั้งยังสลับกับทางลูกรัง ต้องใช้เวลาในการเดินทางเกือบ 5 ชั่วโมงกว่าจะถึงเชียงตุง เราถึงเชียงตุง ประมาณบ่าย 4 โมงเย็น ผู้เขียนจำได้ว่า ตอนนั้น ที่เชียงตุงมีอุณหภูมิเพียงแค่ 3 องศา ถึงแม้เราใช้เวลาในเชียงตุงเพียงแค่ 2 วัน แต่ก็เป็น  2 วันที่สร้างความทรงจำที่บอกได้เลยว่า “ชีวิตนี้จะไม่มีวันลืม”

เชียงตุงมีคำขวัญว่า “เมืองสามจอม เจ็ดเชียง เก้า หนอง สิบสองประตู”  หมายถึง มีพระธาตุสำคัญอยู่ 3 แห่งที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า “จอม” คือ จอมคำ จอมสัก และจอมมน มีหมู่บ้านสำคัญที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “เชียง” 7 แห่ง เช่น เชียงอินทร์ เชียงคุ่ม เป็นต้น มีหนองน้ำอยู่ภายในเมืองถึง 9 แหล่ง และเป็นเมืองที่มีประตูเมืองถึง 12 ประตู

เมื่อเราเดินทางมาถึง สถานที่แรกที่เราไปคือ วัดเชียงยืน เราเข้าไปนมัสการสมเด็จพระสังฆราชไทใหญ่ เพื่อความเป็นศิริมงคล วัดแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันทิ้งหลักฐานของประวัติศาสตร์บาดแผลไว้หนึ่งจุด อาจารย์ชาญวิทย์เล่าว่า สยามได้มาเอาพระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงตุงไปหนึ่งองค์ และที่วัดเชียงยืนนี้ยังคงทิ้งฐานพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวไว้จนถึงทุกวันนี้ ต่อจากนั้นเราก็ได้เดินไปรอบ ๆ วัด เราได้ไปถ่ายรูปเล่นกับบ้านเก่าหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นบ้านพักของ พ.ท.ผิน ชุณหะวัณ  (ยศในตอนนั้น) ครั้งเมื่อมาเป็นผู้ดูแลสาธารณรัฐไทยเดิม ตอนที่มีการยึดเขาเชียงตุง และรัฐฉานบางส่วนคืนในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ต่อจากนั้นเขาก็ได้เดินทางไปสู่วัดพระธาตุจอมคำ เอกลักษณ์สำคัญของวัดแห่งนี้คือ ศาลาวัดจะไม่ได้ฝังเสาลงไปในดินแต่จะใช้การดุลน้ำ เอ้!! ลืมบอกไปว่า ทำไมกลุ่มคนที่อยู่ในเชียงตุง จึงเรียกกว่า “ชาติพันธุ์ไทขึน” ด้วยเพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในบริเวณแม่น้ำขึน หมายถึงแม่น้ำที่ไหลฝืนธรรมชาติ แม่น้ำสายนี้จะไหลจากทางใต้ขึ้นทางเหนือ คำว่า ขึน หรือ ฝืน อาจจะเป็นคำความหมายเดียวกันหนักและวางท่อนเสากับฐานดิน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งของสถาปัตยกรรมของชาวไทขึน ลักษณะการแต่งกายของคนที่นี้ ในอดีตนั้นมักจะแต่งนุ่งเสื้อที่เรียกว่า ”เสื้อปั้ด” และ “ซิ่นตีนเขียว” หมายถึงผ้าซิ่นที่ต่อตีนหรือชายด้วย ผ้ากำมะหยีสีเขียว และจะมีแถบที่เรียกกว่า “ลายบัว” ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สวยงามมาก โดยการใช้วิธีการปักลายบัวคว่ำบัวหงาย สอดดิ้นอย่างสวยงาม (ดูได้จากชุดของเจ้านางมณีรินทร์) ซึ่งถือว่าเป็นผ้าซิ่นที่มีเอกลักษณ์พิเศษเพราะโดยปกติ ท้องถิ่นอื่น ๆ มักจะใช้วิธีการ “จก” มากกว่า เช่น ซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ซิ่นตีนจกเมืองลอง ซิ่นตีนจกดอยเต่า

ต่อไป เราก็เดินทางไปดู พระพุทธรูปชี้นิ้ว ซึ่งเป็นพระตามความเชื่อของชาวพม่า ที่ว่าพระพุทธองค์ได้มาชี้นิ้วและทำนายไว้ว่า “บ้านเมืองแห่งนี้จะเป็นบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรือง” จากนั้น เราได้เดินทางไปชมพระอาทิตย์ตกที่หนองตุง หนองน้ำใหญ่กลางเมืองเชียงตุง และเป็น 1 ใน 9 หนองที่สำคัญที่สุดตามคำขวัญของเชียงตุงด้วย เมื่อขับรถไปถือหนองตุง ภาพที่เห็นคือความสวยงามของภูมิทัศน์เมืองเชียงตุง มันเป็นภาพที่มีหนองน้ำใหญ่ ๆ กลางเมือง ด้านหลังเป็นภูเขาเตี้ย ๆ ที่มีบ้านเรือนอยู่เรียงราย บนยอดเขานั้นก็คือพระธาตุจอมคำที่เราเพิ่งแวะชมก่อนหน้านี้ นี่จะเป็นบรรยากาศที่จะอยู่ในความทรงจำของผู้เขียนตลอดไป พวกเราอยู่กันที่หนองตุงจนมืด แล้วเดินทางกลับโรงแรม

การท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ว่าเราจะเที่ยวเพียงแค่ชมธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของเมืองตอนเช้า ทว่า คือ ชีวิตกลางคืน ของผู้คน ยังทำให้เราเห็นสภาพสังคมที่แท้จริงอีกอย่างหนึ่ง หลังจากอาบน้ำเสร็จ ผู้เขียนและพี่เต๊ะ (อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ) ก็ได้ไปเดินเล่นตามท้องถนน แต่อย่านึกภาพของเมืองไทยนะครับ ต้องนึกภาพย้อนไปสักประมาณ 30 ปีเห็นจะได้

เราแวะผับแห่งหนึ่งของเชียงตุง ที่นั่น ผับเปิดตอน 3ทุ่ม และปิดในเวลา 5 ทุ่ม เพลงในผับมรทั้งเพลงสากลและเพลงไทย แต่ต้องบอกว่าเป็นเพลงไทยที่ผู้เขียนแทบไม่รู้จักเลย ส่วนใหญ่เก่ามาก หลังจากเที่ยวเสร็จเราก็กลับมาที่โรงแรม ลืมบอกไปว่า หลังจากเที่ยงคืนเป็นต้นไป เชียงตุงไม่มีไฟฟ้าใช้แล้วนะครับ จริง ๆ ไฟฟ้าจะถูกตัดทั้งเมืองตอน 4 ทุ่ม แต่ทางโรงแรมมีเครื่องปั่นไฟให้เราได้ดูโทรทัศน์และชาร์ตแบตโทรศัพท์กันถึงเที่ยงคืน ส่วนแอร์บอกไว้เลยว่าไม่จำเป็นเพราะมันหนาวมากจริง ๆ

พอรุ่งเช้าตื่นมา เราก็รีบอาบน้ำแต่งตัว หลังจากเสร็จภารกิจมื้อชาว เราก็พากันไปเที่ยวชมตลาดเช้าเมืองเชียงตุง ตลาดแห่งนี้ถือเป็นแหล่งสินค้าที่หลากหลาย มีทั้งเสื้อผ้า ของกิน ของใช้ ที่สำคัญคือ เขาวางขายทองคำกันแบบไม่เกรงกลัวโจรขโมย แสดงให้เห็นว่าในแดนดินถิ่นเชียงตุงนี้ การก่ออาชญากรรมแทบไม่มีเลย ผู้คนมีน้ำจิตน้ำใจ ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

ในเมื่อมาถึงเมืองเชียงตุง ด้วยความที่ชอบเรื่องผ้าและวัฒนธรรมล้านนาอยู่เป็นทุนเดิม ผู้เขียนเลยขอ ชุดตัวเป็นบ่าวน้อยไทขึน สักวัน ผู้เขียนเดินเข้าไปร้านขายชุดไทขึนผู้ชาย ซึ่งแปลกมาก ราคาทั้งชุด มีเสื้อและกางเกง เพียงชุดละ 300 บาทเท่านั้น เนื่องจากไม่มีขนาดมาตรฐาน เราจึงต้องลองชุดกันกลางตลาดเลย เพราะทุกชุดถูกเย็บและตัดโดยฝีมือของชาวบ้านล้วน ๆ

หลังจากเสร็จภารกิจที่ตลาดเช้าเชียงตุง เราก็เดินทางต่อไปเที่ยววัดสำคัญ ๆ มากมายใจกลางเมืองเชียงตุง ไม่ว่าจะเป็น วัดพระมหามัยมุนี วัดพระแก้ว และวัดหัวข่วงซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของเชียงตุง และผสมผสานไปกลับความเป็นศิลปะพม่าได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว ต่อจากนั้นเราเดินทางไปนมัสการสถูปอัฐิของเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง คือเจ้าก้อนแก้วอินแถลง และนี้คือภารกิจสุดท้ายของทริปนี้ และเป็นภารกิจที่พูดได้ว่า เป็นการตามรอยเจ้านางมณีรินทร์ได้อย่างสมบูรณ์

พอไปถึงสถูปเจ้าฟ้า ผู้เขียนถึงกลับมาระลึกชาติได้ว่า “ได้กลับมากราบเจ้าพ่อ” ด้วยความโศกเศร้าที่เคยถูกนำตัวไปเป็นตัวกลางเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและเชียงตุง จนถูกกลั่นแกล้ง จนเสียชีวิตคากี่ทอผ้า (ขี้โม้มาก ฮ่า ๆ ๆ) แต่เอาจริงๆแล้ว ไม่มีอะไรมากกว่าการเดินเข้าไปจุดธูปกราบสถูปเจ้าฟ้า  เสร็จแล้วเราจึงไปทำภารกิจกระชับกระเพาะอาหาร จากนั้นก็เดินทางกลับสู่ดินแดนล้านนาประเทศและเข้าสู่ดินแดนกรุงเทพฯ กันโดยสวัสดิภาพ

ภารกิจตามรอยเจ้านางมณีรินทร์ ท่องเที่ยวไปในถิ่นรัฐฉาน ถิ่นฐานที่เคยยิ่งใหญ่บนเส้นทางการค้าในอดีตนั้น ผู้เขียนพูดได้คำเดียวเลยว่า มันเป็นความมหัศจรรย์ และเป็นความทรงจำที่ผู้เขียนจะไม่มีวันลืม ทั้งสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต ความลำบาก และความสวยงามต่าง ๆ ที่พบเจอ ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง เมื่อแลกกับการขาดเรียนไป 2 วัน สุดท้าย ผู้เขียนหวังว่า จะได้เดินทางไปเชียงตุงอีกครั้ง และผู้เขียนขอเชิญชวนให้ผู้ที่มีใจรักการท่องเที่ยวว่า ต้องไปสัมผัส กับความวิจิตรสวยงามของธรรมชาติ สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมของผู้คนชาวไทขึน และมหานครที่ถูกลืมอย่าง “เชียงตุง” ให้ได้  ผู้เขียนของปิดท้ายด้วย “ค่าว” ภาษาเหนือ ที่แต่งเอง ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องตามหลักซะทีเดียว ว่า

“เจียงตุง จุ่งใจแต้เมืองงาม    เมืองเก่าเล่าโบราณ เก่าเกื้อ
งามอย่างอินทร์แถลงแป๋งสร้าง           สุดยอดหาตี่ใดอ้าง งามล้ำ นายเฉย”

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
                                              '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                              คลังข้อมูล

                                              พบกับเราที่ Facebook

                                              Tweets ล่าสุด

                                              ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                              อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                              สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                              ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                              แผนที่อาเซียน