home

มองเศรษฐกิจฟิลิปปินส์เมื่อจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ธันวาคม 31, 2014
มองเศรษฐกิจฟิลิปปินส์เมื่อจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

มองเศรษฐกิจฟิลิปปินส์เมื่อจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน*
โดย สรพงษ์ ลัดสวน
ผู้ช่วยผู้ประสานงานโครงการ “จับตาอาเซียน”

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกเมื่อ 5-6 ปีก่อนได้ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ แต่ฟิลิปปินส์สามารถรับมือได้ค่อนข้างดี จากการที่พึ่งพาการส่งออกน้อยเพียงประมาณร้อยละ 30 ของ GDP และมีการบริโภคภายในประเทศในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งฟิลิปปินส์ได้เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงและรวดเร็วในรอบ 3 ปีที่ผ่านมานี้

ในปี 2556 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์โตถึงร้อยละ 7.2 นับเป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจากลาวที่เติบโตร้อยละ 8.3 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในรอบ 5 ปีขยายตัวเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี และสามารถรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับไม่สูงที่ร้อยละ 3.5-5.5 แม้ปีที่แล้วจะเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวตอนกลางของประเทศขนาด 7.2 ริกเตอร์และซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนก็ตาม

ปัจจัยบวกอันสำคัญมาจากการเติบโตของภาคบริการรับจ้างบริหารธุรกิจ (Business Process Outsourcing : BPO) ซึ่งปีที่แล้วขยายตัวถึงร้อยละ 7 และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ธนาคารและบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ต่างเรียกใช้บริการนี้เพื่อลดต้นทุนเพราะชาวฟิลิปปินส์มีทักษะภาษาอังกฤษดี สิ่งที่ตามมาคือการขยายตัวของเมือง เพราะงาน BPO ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมง ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ สถานบันเทิง ธุรกิจหอพักและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ จึงเติบโตตามมาด้วย

นอกจากนี้รายได้จากแรงงานชาวฟิลิปปินส์ที่ทำงานอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังเป็นปัจจัยหนุนช่วยระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อมีปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศที่มีแรงงานชาวฟิลิปปินส์ทำงานอยู่มากๆ เช่น ฮ่องกง รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้พยายามแก้ไขเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ดีดังเดิมในรูปแบบการผ่อนปรนต่างๆ ตามข้อเรียกร้องประเทศปลายทางเพื่อลดผลกระทบต่อแรงงานฟิลิปปินส์จำนวนมาก

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นประกอบกับการมีเสถียรภาพทางการเมือง ไม่มีการชุมนุมขนาดใหญ่ต่อเนื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือและการลงทุน S&P จึงปรับระดับความน่าลงทุนของฟิลิปปินส์ขึ้นจาก BBB- เป็น BBB อีกทั้งดัชนีความสามารถในการแข่งขันของประเทศก็ปรับตัวดีขึ้น

เสถียรภาพของประเทศในอีกด้านหนึ่งมาจากกระบวนการสันติภาพของรัฐบาลกับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front : MILF) ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้บนเกาะมินดาเนา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามข้อตกลงสันติภาพกันเมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติการสู้รบและหันมาสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจบริเวณมินดาเนาหลังเจรจากันมานานกว่า 17 ปี

การมีสันติภาพเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังความขัดแย้ง (Post-Conflict Economic Recovery) พื้นที่นี้มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟทำให้มีแร่ธาตุจำนวนมาก การยุติความขัดแย้งช่วยให้สามารถนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญ คือต้องให้ชุมชนและรัฐบาลท้องถิ่นมีอิสระและส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยการเจรจาต่อรองบนเส้นทางของสันติภาพ

การรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับสูง นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง รัฐบาลฟิลิปปินส์จึงได้เพิ่มงบประมาณพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 9 โครงการมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์ (ราว 45,000 ล้านบาท) รัฐบาลได้ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของหุ้นส่วนภาครัฐ-เอกชน (Public-Private Partnership : PPP) เพื่อให้กระบวนการและขั้นตอนดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว โครงการที่อนุมัติมีทั้งการสร้างเขื่อนและท่อส่งน้ำ การพัฒนาระบบรถไฟและโครงการสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ทดแทนสนามบินนานาชาตินินอยอาคิโนที่คับแคบแออัดโดยพิจารณาพื้นที่ที่เคยเป็นฐานทัพเรือสหรัฐ บริเวณอ่าวคาวิตและลากูนา (Cavite and Laguna de Bay) ซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่า 2,000 เอเคอร์ มีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้ราว 10 ล้านคนภายในปี 2016 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์อาเซียนในเชิงโครงสร้างกายภาพที่ชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก็เร่งดำเนินการเช่นกันโดยเฉพาะการเชื่อมโยงกัน (connectivity) ของภูมิภาคอาเซียน และด้วยทำเลที่ตั้งของฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะ การพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศจึงจำเป็น

รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้าง ระบบราชการ สถาบันและพยายามสร้างธรรมาภิบาล โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและให้มีการเติบโตอย่างครอบคลุม (Inclusive Growth) ใช้การลงทุนเพื่อสร้างงาน ลดความยากจน พัฒนาระบบสวัสดิการทางสังคม มีการปรับปรุงกฎหมายด้านธนาคาร การลงทุนและศุลกากรเพื่อกระตุ้นการแข่งขันและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ในขณะเดียวกัน ปัญหาสำคัญของฟิลิปปินส์ที่สืบต่อมาแต่ยุคอาณานิคมคือ ลักษณะรวยกระจุกจนกระจาย ไม่มีการกระจายสินทรัพย์อย่างเป็นธรรม เศรษฐกิจชาติร้อยละ 76 ถูกควบคุมโดย 40 ตระกูลเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคมตามเป้าหมายของรัฐ การที่จะบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำต้องอาศัยการบริหารภาครัฐที่มีธรรมาภิบาล เสริมสร้างความเข้มงวดในการใช้กฎหมาย นอกจากนี้การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของภาคประชาชนจะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนา.

* บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2557

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-86:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-87:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-88:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-94:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-3:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-25:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                              '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                                                '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                                  '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                                    '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                                      '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                                      คลังข้อมูล

                                                      พบกับเราที่ Facebook

                                                      Tweets ล่าสุด

                                                      No tweets found.

                                                      แผนที่อาเซียน