อาเซียนจัดประชุมรัฐมนตรีด้านเกษตรกรรมและป่าไม้ครั้งที่ 37 (ASEAN Ministers of Agriculture and Forestry: AMAF) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 ณ เมืองมากาติ (Makati) ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์เป็นประธานการประชุม
ที่ประชุมได้หารือประเด็นหลักใน 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน 2558 และหลังจากนั้น ซึ่งที่ประชุมสนับสนุนความร่วมมืออาเซียนด้านอาหาร เกษตรกรรมและป่าไม้ที่จะมีส่วนสำคัญการสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นจริง โดยที่ประชุมสรุปความคืบหน้าการดำเนิการตามมาตรการที่เกี่ยวข้อง พบว่าได้ดำเนินการไปแล้วร้อยละ 90.9 และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนธันวาคมนี้ ที่ประชุมยังสนับสนุนวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียนด้านอาหาร เกษตรกรรมและป่าไม้ ปี 2559-2568 เพื่อเป็นการสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2568
(2) การหารือเกี่ยวกับข้อตกลงความมั่นคงทางอาหาร ที่ประชุมย้ำว่าการดำเนินการตามกรอบบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนและแผนยุทธศาสตร์การปฏิบัติเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาเซียนของอาเซียน ปี 2558-2563 จะช่วยให้อาเซียนมีอุปทานของอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการและปลอดภัยอย่างเพียงพอในอนาคต
(3) การหารือเกี่ยวกับความร่วมมือที่เร่งด่วน ที่ประชุมได้พิจารณาความสำเร็จการดำเนินงานระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในการพัฒนาและผสานมาตรฐานของอาเซียนเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตอาหารและผลิตผลด้านเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังแสดงความยินดีที่กิจกรรมต่างๆ ได้เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งความร่วมมือด้านเกษตรกรรม ตลอดจนแผนงานและกิจกรรมต่างๆ ที่จะยกส่งเสริมความร่วมมือและการสร้างคุณภาพและความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน
(4) ว่าด้วยการขับเคลื่อนไปข้างหน้ากับประเทศคู่เจรจา ที่ประชุมชื่นชนประเทศคู่เจรจาและองค์การระหว่างประเทศในความช่วยเหลือและสนับสนุนต่อการขยายความร่วมมือด้านอาหาร เกษตรกรรมและป่าไม้ของอาเซียน
นอกจากนี้ ในวันที่ 11 กันยายน อาเซียนยังได้จัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านเกษตรกรรมและป่าไม้ครั้งที่ 15 ซึ่งมีชาติอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เข้าร่วมการประชุม
ที่ประชุมได้แสดงความยินดีต่อความคืบหน้าของการดำเนินความร่วมมือในกิจกรรมและโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 9 ของยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม ด้านอาหาร เกษตรกรรม และป่าไม้ ปี 2556-2558 รวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร การเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การเบาเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและการแลกเปลี่ยนเครือข่ายและสารสนเทศระหว่างกัน
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังยืนยันที่จะสงเสริมพลังงานชีวมวลที่นำไปสู่การพัฒนาเกษตรกรรมและชนบทอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้ชื่นชมต่อความคืบหน้าการดำเนินงานตามสัญญาการสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียนบวกสามที่จะเป็นกลไกหลักในการสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงทางอาหารและลดความยากจนในภูมิภาคในอนาคต
แหล่งที่มา: asean.org