home

เสวนา “อำนาจผลัดใบในอุษาคเนย์ ภาคพื้นทวีป การเมือง “ใหม่/เก่า” ของ พม่า ลาว และเวียดนาม

กุมภาพันธ์ 20, 2016
เสวนา “อำนาจผลัดใบในอุษาคเนย์ ภาคพื้นทวีป การเมือง “ใหม่/เก่า” ของ พม่า ลาว และเวียดนาม

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนา หัวข้อเรื่อง  อำนาจผลัดใบในอุษาคเนย์ ภาคพื้นทวีป การเมือง “ใหม่/เก่า” ของ พม่า ลาว และเวียดนาม ณ ห้อง ร. 102 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีวิทยากรเข้าร่วมเสวนา คือ ศ.ดร.สุรชัย  ศิริไกร อาจารย์ ดร.ลลิตา  หาญวงษ์และ อาจารย์ มรกตวงศ์  ภูมิพลัง ดำเนินรายการโดย นายต่อศักดิ์  จินดาสุขศรี

การเสวนาเริ่มต้นที่ ศ.ดร.สุรชัย ศิริไกร  กล่าวถึงภาวะความจำเป็นที่สังคมไทยควรให้ความสนต่อประเทศลาวเพราะความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด และภูมิรัฐศาสตร์ของลาวมีความสำคัญต่อไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลาวจึงมีความสำคัญที่เราจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ ส่วนในด้านการเมืองการปกครองของลาวที่มีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่มีโครงสร้างพรรคคอมมิวนิสต์แบบจากเวียดนามจึงทำอิทธิพลของเวียดนามต่อการเมืองลาวสูง เพราะมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของสงครามอินโดจีน ส่งผลให้เกิดผลพวงชาวลาวพลัดถิ่นที่ลี้ภัยออกจากประเทศลาว เข้าไปยังสหรัฐ และยุโรป โดยที่สหรัฐมีลาวพลัดถิ่นจำนวนกว่า 1 ล้านคน ซึ่งมีความเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อลาวอาทิ สิทธิมนุษยชน คอรัปชั่น การขายที่ดินในลาวให้แก่เวียดนาม การเรียกร้องให้ยกเลิกสนธิสัญญาที่ทำไว้กับเวียดนาม ผ่านสื่อเสรีทำให้รัฐบาลลาวให้ความสำคัญกับสื่อที่เข้ามายังประเทศและต้องสื่อสารกับโลกภายนอกมากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมามีการส่งดาวเทียม Lao Sat ซึ่งอาจถือว่าการตอบโต้ป้องกันสื่อเสรีที่ทะลักเข้าสังคมลาว

การส่งดาวเทียม Lao Sat ของลาวได้รับความช่วยเหลือจากจีนซึ่งในปีเดียวกันนี้ลาวได้ลงนามสร้างรถไฟความเร็วสูงกับจีน จีนจึงมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศลาว ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงผู้นำของลาวที่ได้นายบุณยัง วอลจิต มีคำถามว่าลาวจะมีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงเข้าข้างจีนหรือเวียดนาม

ศ.ดร.สุรชัย  ศิริไกรได้กล่าวว่าลาวคงเข้าข้างจีนมากกว่าเพราะในการประชุมพรรคครั้งล่าสุด มีการแถลงความสำเร็จของการพัฒนาประเทศ 1.จำนวนประชากรเพิ่ม 2.สมาชิกพรรคมากขึ้น 3.GDP สูงขึ้น 4.การก้าวเป็นประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนว่าลาวให้ความสำคัญกับความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสูงสุด และการลาวมีวิกฤตเศรษฐกิจ หนี้สินสูงกว่าครึ่งหนึ่งต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดทำให้ลาวต้องพิ่งพึงจีนและคงทำให้จีนคงมีบทบาทต่อลาวอยู่ ขณะเดียวลาวจะไม่เปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากนักแต่เศรษฐกิจคงไปเติบโตต่อไป ส่วนความเคลื่อนไหวของชาวลาวพลัดถิ่นเป็นปัญหาใหม่ที่รัฐบาลลาวต้องมีใช้ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาสำหรับการจัดการกับปัญหานี้

ส่วนการเมืองเมียนมา อาจารย์ ดร.ลลิตา  หาญวงษ์  อธิบายปรากฏการณ์ทางเมืองที่เกิดขึ้นพัฒนาจากวิกฤตการเมืองที่เริ่มตั้งแต่ปี 1962 เป็นต้นมา จากนั้นได้เกิดขบวนการต่อต้านรัฐประหารกับคณะทหารที่มีจุดยืนสังคมนิยมแบบเมียนมา แต่เกิดความเปลี่ยนสู่กระบวนการบันได 7 ขั้นสู่ประชาธิปไตย และการเลือกตั้งในปีที่ผ่านมาสื่อต่างประเทศมองว่าพรรค NLD ที่ได้รับการเลือกตั้งสูงสุดจะเป็นรัฐบาลใต้บงการของกองทัพ และการเลือกตั้งที่ผ่านมายังสะท้อนว่า ประชาชนเมียนมาเลือกตั้งบนฐาน “พรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล” เพราะประชาชนต้องการความเปลี่ยนแปลงซึ่งพรรค NLD ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายแม้ในพื้นที่ชนกลุ่มน้อยทั้งในเขตเมืองและชนบท ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคNLD จะมีทั้งนักโทษการเมือง ตัวแทนชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่ได้รับเลือกนั้นเป็นเพราะใช้พรรคNLD เป็นทุนทางการเมือง

ทว่าการเปลี่ยนผ่านสำคัญกว่าการเลือกตั้ง ที่สื่อไทยไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรคือการเลือกประธานาธิบดี แม้ว่าประชาชนส่วนมากของเมียนมาต้องการให้นางออง ซาน ซูจีเป็นประธานาธิบดี แต่นางมีลักษณะต้องห้ามมาตรา 59 ตามรัฐธรรมนูญ ห้ามบุคคลที่มีคู่สมรสหรือบุตรเป็นชาวต่างชาติ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งหากนางไม่มีบทบาททางการเมืองแล้วพรรค NLD ก็จะไม่มีความหมายและลดอิทธิพลทางการเมืองไป ขณะที่ตัวเลือกประธานาธิบดีของพรรคNLD ยังไม่มีบารมีทางการเมืองที่เทียบเคียงกับนางซูจี ณ ขณะนี้

การเคลื่อนไหวระยะที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าตัวแปรสำคัญยังคงอยู่ที่กองทัพ เพราะหลังการเลือกตั้งนางซูจีเข้าพบ นายพลมินอองลาย 3 ครั้ง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการเมืองเมียนมาจึงเป็นสร้างความปรองดองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์อันมีกองทัพ นักธุรกิจ เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงสุด หากรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเป็นพรรค NLD จะไม่สามารถบริหารปกครองประเทศได้หากไม่ได้รับฉันทามติจากกองทัพ หาได้เป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างที่เข้าใจ

        นอกจากนี้   อาจารย์ ดร.ลลิตา  หาญวงษ์ ได้ทิ้งท้ายว่านอกจากการเมืองเมียนมาในระยะผลัดใบแล้ว ประเด็นสังคมอย่าง ชาวโรฮีนจา ความขัดแย้งทางศาสนา การใช้ประโยชน์ที่ดินของนายทุนจากภายนอก จะนำมาสู่ความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นในเมียนมาอีกด้วย

อีกประเทศที่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมือง คือ ประเทศเวียดนาม อาจารย์ มรกตวงศ์  ภูมิพลัง ได้ฉายภาพความเปลี่ยนแปลงของประเทศเวียดนามตั้งแต่รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ระบอบสังคมนิยม ด้วยการนำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามที่ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีความเป็นทุนนิยมมากขึ้น และมีการปฏิรูปอุดมการณ์ภายในพรรคซึ่งส่งผลต่อการเมืองของพรรคที่การแบ่งกลุ่มการเมืองภายใน

ในระยะ 1 ทศวรรษที่ผ่านมาการเมืองเวียดนามรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ด้วยการชูประเด็นการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่ทำให้เวียดนามมีอัตราความเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งนายกรัฐมนตรีที่หมดวาระลงนั้น ในการประชุมพรรคในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการเลือก คณะกรรมการกลางพรรค (Politburo) และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เป็นสายอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นการดึงอำนาจกลับสู่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามอีกครั้ง แม้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงผู้นำแต่เศรษฐกิจของเวียดนามจะไม่ตกต่ำลง เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของพรรค

นอกจากนี้ อาจารย์ มรกตวงศ์  ภูมิพลัง ได้ชี้ให้เห็นความท้าทายของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในระยะต่อไปคือ การสร้างความโปร่งใสในการบริหารประเทศเพื่อเรียกศรัทธาจากประชาชนเวียดนาม การ เป็นสมาชิก TPP ของเวียดนามนอกจากจะได้ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจแล้วยังเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศด้วยการดึงสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เข้าถ่วงดุลอำนาจกับจีน ซึ่งจีนมีอิทธิพลในอาเซียนจะทำให้เวียดนามดูจะสนใจอาเซียนน้อยกว่าการเข้าร่วม TPP สุดท้ายคือการพัฒนาประเทศสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ก็เป็นความท้าทายของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-86:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-87:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-88:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-94:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-3:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-25:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                              '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                                                '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                                  '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                                    '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                                      '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                                      คลังข้อมูล

                                                      พบกับเราที่ Facebook

                                                      Tweets ล่าสุด

                                                      No tweets found.

                                                      แผนที่อาเซียน