เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมานาประจำปี “เอเชียตะวันออกในปี 2016” ณ ห้องสัมมานากลาง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
ปาฐกถาเกียรติยศจาก รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ กีรติยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่มีสังคมไทย ซึ่งควรส่งเสริมนักวิชาการที่มีความเชียวชาญในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง
รศ.ดร. จุลชีพ มองว่า ภูมิทัศน์และสถานการณ์เอเชียตะวันออกปัจจุบันมีสาเหตุจากความเปลี่ยนแปลงของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่ถดถอยอำนาจลงไป แม้ว่าสิ้นสุดสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาได้เป็นอภิมหาอำนาจโลกอันสามารถกำหนดวาระความเป็นไปการเมืองโลกจนนำสู่เหตุการณ์ 911 (11 กันยายน 2001) ที่นำสหรัฐอเมริกาสู่สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตามเนื่องจากรายจ่ายในการสงคราม และการให้ความสนใจถูมิภาคตะวันออกกลางในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายทำให้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในเอเชียตะวันออกถดถอยลงไป ทำให้จีนมามีอิทธิพล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจที่จีนมีการพัฒนามาโดยตลอดทำให้การทหารของจีนมีการขยายตัวไปด้วยนับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา
นอกจากนี้ จีนยังได้ใช้อำนาจสังคมหรือ Soft Power ในการขยายอำนาจของตน อาทิ การเปิดสถาบันขงจื้อ การสอนภาษาจีนผ่านอาสาสมัคร และการเดินทางท่องเที่ยวและลงทุนไปทั่วโลกของชาวจีนแสดงถึงอำนาจของจีนที่ขยายตัวไปทั่วโลก ขณะเดียวกัน ในภูมิภาคก็มีการแข่งขันระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่ทั้งสองกลายเป็นมหาอำนาจพร้อมกันเป็นครั้งแรก
ในช่วงเสวนาและอภิปราย เอเชียตะวันออก 2016 มีวิทยากร คือ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู รศ.ดร.นภดล ชาติประเสริฐ ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.สุนิดา อรุณพิพัฒน์
เริ่มที่ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู ได้ชี้ว่า การที่จีนและญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจพร้อมกันในปัจจุบันส่งผลต่อสถาปัตยกรรมความมั่นคงเอเชียตะวันออกจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือการที่จีนก้าวขึ้นเป็นอันดับที่ 2 ของเศรษฐกิจโลกแทนญี่ปุ่นได้ในปี 2010 ทำให้นโยบายของนายกซินโซ อาเบะ มีความต้องการแก้ไขมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญ แม้จะแก้ไขไม่ได้แต่ตีความใหม่ได้สำเร็จ ในการป้องกันประเทศร่วมกับประเทศอื่น เมื่อพันธมิตรของญี่ปุ่นถูกโจมตีและมีผลต่อญี่ปุ่น ส่งผลให้บทบาทความมั่นจะเพิ่มมากขึ้น
น่าสังเกตพัฒนาการของญี่ปุ่นตั้งแต่นายกรัฐมนตี ชินโซ อาเบะ ที่มีท่าที่ความมั่นคงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคงกำลังพลส่วนใหญ่ของประเทศที่ภาคเหนือ แต่ในปี 2013 เป็นต้นมามีการยายไปที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับโอกินาวา ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับความมั่นต่อจีนมากขึ้น
นอกจากนี้แนวคิดทางด้านความมั่นคงของญี่ปุ่นมีบทบาทอย่างยิ่งในการเสริมสร้างสันภาพตามขีดความสามารถของประเทศญี่ปุ่นสอดรับกับนโยบายปักหมุดเอเชียของสหรัฐอเมริกา และมีความพยายามดึงเกาหลีใต้ให้เข้าร่วมกับสหรัฐในถ่วงดุลอำนาจกับจีนอีกแรงหนึ่ง
สำหรับปี 2016 นี้ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู กล่าวว่า ตัวแปรของเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 3 ประเทศมหาอำนาจ คือ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยชี้ให้เห็นในภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 ว่าเป็นสันติภาพภายใต้ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งชาติมหาอำนาจต่างพึงพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจอย่างซับซ้อน มีความผูกพันทางด้านผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นความขัดแย้งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของชาติมหาอำนาจซึ่งจะไม่เป็นผลดี
ส่วนที่เกาหลีใต้ ชู รศ.ดร.นภดล ชาติประเสริฐ กล่าวถึงสภาพการณ์ของเกาหลีใต้ในบริบทโลกปี 2015 ว่าแนวคิดความมั่นคงของญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงไป กับอิทธิพลของจีน เกาหลีใต้ภายใต้การนำของประธานาธิบดีปาร์ค กึน เฮ ยังคงมีแนวทางความมั่นคงหลักใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา
ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือมีความเปลี่ยนแปลงจากนโยบาย Sunshine Policy ที่ได้นำมาใช้ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี คิม แด จุง สู่นโยบายที่มีความแข็งกร้าวมากขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้มีการเดินความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนในการกดดันเกาหลีเหนือ โดยมีการพบกันระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศ 6 ครั้งนับตั้งแต่นางปาร์คดำรงตำแหน่ง ต่างจากเกาหลีเหนือภายใต้ผู้นำคนปัจจุบันที่ยังไม่มีการพบกับผู้นำจีนนับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจ
ส่วนปัญหาที่น่ากังวลของเกาหลีใต้ในปี 2015 ที่ผ่านมาคือปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นผลจากโครงสร้างเศรษฐกิจโลก คู่ค้าหลักของเกาหลีใต้มีความถดถอยชะลอตัว และการแพร่ระบาดของไข้หวัดเมิอร์สก็มีผลต่อเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี ได้มีการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยการผลิตในภาคส่วนใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีสะอาด พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกันยังได้มีการเร่งรัดส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME ทั่วประเทศ ตลอดจนการใช้การทูตเพื่อการค้าเป็นจุดเด่นของนางปาร์คเพราะได้มีการเดินทางเยือนต่างประเทศกว่า 30 ครั้งตลอดการดำรงตำแหน่ง 3 ปี ซึ่งเป็นประธานาธิบดีที่เดินทางมากที่สุดของเกาหลีใต้
ส่วนในปี 2016 แม้ในภาพใหญ่โลกจะมีการพึ่งพาอย่างซับซ้อน แต่ในระดับจุลภาคผลประโยชน์ของชาติมีความหลากหลายนำสู่ความขัดแย้งได้เช่นกัน ในกรณีปิดเขตอุตสาหกรรมแคซองซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเพราะเป็นการสิ้นสุดนโยบาย Sunshine Policy และการปิดดังกล่าวหาได้เป็นฉันทามติในสังคมเกาหลี แต่ได้มีการวิเคราะห์กันว่าได้รับความเห็นชอบและมีการปรึกษาหารือกับสหรัฐอเมริกา หลังจากเกาหลีเหนือได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ซึ่งเป็นการทดลองครั้งที่ 4 อย่างไรก็ตามความตรึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ทประทุขึ้นด้วยความระแวงของเกาหลีเหนือที่มองการซ้อมรบระหว่างสหรัฐอเมริกากับเกาหลีใต้เป็นภัยคุกคามประเทศตน
การดึงประเด็นในคาบสมุทรเกาหลีให้เป็นประเด็นระดับโลกส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการพลักภาระให้จีนเข้ามาจัดการกับปัญหานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ พร้อมกันทางเกาหลีได้เดินการทูตที่แข็งกร้าวด้วยพยายามขยายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีป้องกันขีปนาวุธกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเทคโนโลยีนี้หากนำเข้ามาสู่เกาหลีใต้จะลดทอนอำนาจการทหารของจีนในการป้องกันประเทศ
สำหรับอาเซียน ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ได้ชี้ว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเมื่อสิ้นปี 2015 ได้นำสู่ภาวะ ”อกหักจากอาเซียน” ที่ความคาดหวังจากอาเซียนจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ความเป็นจริงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ความคาดหวังดังกล่าวเป็นผลจากมายาคติของสังคมไทยที่มีต่ออาเซียนว่าเป็นดั่งสหภาพยุโรปที่จะการเคลื่อนยายอย่างเสรีทั้งในแรงงานต่างๆ ซึ่งความจริงยังมีอุปสรรคอยู่ และการเดินทางยังไม่เสรี ส่วนที่สังคมไทยตื่นตัวกับ AEC เกรงว่าสินค้าของเพื่อนบ้านอาเซียนจะทะลักเข้าสู่ประเทศทว่าความเป็นจริงสินค้าจีนต่างหากที่เข้ามามาก ส่วนความกังวลว่าแรงงานข้ามชาติจะเข้าพบว่าปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2 ล้านคนที่ลงทะเบียนอยู่ในประเทศ
ความสำเร็จของอาเซียนที่ปรากฏให้เห็นคือประเทศ CLMV ลดภาษีร้อยละ 90 จนถึงปี 2018 จะปลอดภาษี Single Window ได้มีก้าวสู่ระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นการเริ่มตั้งแต่ปี 2008 ส่วนด้านการเดินทางภายในอาเซียนได้มีการยกเลิก VISA ผ่านแดนในเมียนมา กัมพูชาได้ยกเลิกมา 4 ปีแล้วนอกจากนี้การตื่นตัวต่ออาเซียนทำให้คนไทยมีทัศนะคติทางบวกต่อชาติเพื่อนบ้านอาเซียน ตลอดทั้งการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานราชการ ท้องถิ่นต่างๆในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอีกด้วย
ขณะที่เครื่องมือติดตามวัดผลการดำเนินงานระดับภูมิภาค (The AEC Scorecard) ชี้ว่าได้ดำเนินการไปถึงร้อยละ 97 เป็นการประเมินที่วัดจากการมีมาตรการเท่านั้น แต่ไม่ได้ดูผลลัพธ์
ส่วนในปี 2016 นี้ประเทศลาวที่เป็นประธานได้ภายใต้แนวคิด Turning vision to Reality Dynamic การบรูณาการในระดับสูง การขยายความร่วมมือหลายสาขาต่างๆสะท้อนว่าอาเซียนยังคงเดินหน้าต่อไป ขณะที่ปี 2016 ชาติสมาชิกอาเซียน
ผศ.ดร.กิตติ ประเมินประเด็นที่ชาติสมาชิกอาเซียนต้องเผชิญร่วมกันคือ 1. พื้นที่ประชาธิปไตยที่ขยายตัวและการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอย่างเมียนมาบทบาทท่าทีของพรรค NLD ต่ออาเซียนต้องปรับเปลี่ยนไปเพราะพรรค NLD ยังคงกังขาต่ออาเชียนในช่วงที่รัฐบาลทหารเมียนมาปกครอง การเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ ส่วนเวียดนามและลาวล่าสุดมีการเปลี่ยนผู้นำที่ยังคงมีความสัมพันธ์อันดีกับจีน ส่วนความหลากหลายทางเพศได้เป็นที่ตื่นตัวในชาติอาเซียนมากขึ้น 2. การก่อการร้ายของกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) เป็นประเด็นที่น่าจับตาในมีการเข้ามาปฏิบัติในภูมิภาค 3. ด้านแรงงานและการค้ามนุษย์ มีการเรียกร้องคุณภาพชีวิตแรงงานล่าสุดในกัมพูชา และเมียนมามีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนการค้ามนุษย์ประเด็นโรฮีนจายังคงเป็นปัญหาร่วมของอาเซียน 4. ด้านภัยพิบัติ ไฟป่าและหมอกควันข้ามชาติ การบังคับใช้กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหมอกควันในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว 5. ทะเลจีนใต้ เป็นประเด็นที่ชาติสมาชิกอาเซียนต้องจัดการกับความสัมพันธ์กับชาติมหาอำนาจที่เข้ามามีอิทธิพลต่อภูมิภาค