เมียนมา สั่งห้ามแต่ตั้งญาติขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยใน ครม.
ทางการเมียนมาออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (25 เม.ย. 59) ว่า ห้ามไม่ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเครือญาติของตนเองเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
นางอองซาน ซูจี รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดีของเมียนมา กล่าวถึงแนวทางสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งในระดับรัฐบาล และระดับภูมิภาค ว่า ห้ามดำเนินการแต่งตั้งญาติ สามี/ภรรยา หรือบุคคลใกล้ชิดอื่นๆ ได้แก่ ลูกพี่ลูกน้อง บุตรสาว/ชาย ลูกเขย/สะไภ้ หลานสาว/ชาย ขึ้นมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะผู้ช่วยส่วนตัวอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ได้เข้าบริหารอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านโดยคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ประกอบไปด้วยรัฐมนตรี 18 คน และแบ่งการบริหารเป็น 21 กระทรวง มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และขจัดปัญหาการทุจริต และการแบ่งพรรค แบ่งพวกที่อาจเกิดขึ้น
แหล่งที่มา: irrawaddy.com
การปฏิบัติงานของ NLD ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ครบรอบ 1 เดือน ที่พรรคสันนิบาตรแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD เข้ามามีบทบาทบริหารประเทศ ท่ามกลางเส้นทางที่กองทัพก็ไม่ได้เปิดทางอย่างเต็มรูปแบบ และความคาดหวังที่หลายฝ่ายมอบให้ว่า นางอองซาน ซูจี ในฐานะผู้นำฯ จะนำพาประเทศก้าวข้าวสู่การเปลี่ยนผ่าน
หลังจากการแต่งตั้งให้นายถิ่น จ่อ บุคคลใกล้ชิดนางอองซาน ซูจี ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของเมียนมา เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม และเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา (59) แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า นายถิ่น จ่อ ขึ้นดำรงตำแหน่งในฐานะประธานาธิบดี (proxy president) ของนางอองซาน ซูจี
อย่างไรก็ดี NLD ได้ริเริ่มตำแหน่งใหม่ที่เรียกว่า ‘ที่ปรึกษาแห่งรัฐ’ (state counselor) ให้แก่นางอองซาน ซูจี ซึ่งมีสถานะสูงกว่าตำแหน่งประธานาธิบดี (above the president)
เพียงไม่กี่วันหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่ง ได้มีความพยายามนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองจำนวนหนึ่ง โดยมีเป้าหมายว่าจะปลดปล่อยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนเริ่มศักราชใหม่ (the Thingyan water festival) ภารกิจนี้ ถือเป็นภารกิจลำดับแรกๆของ NLD
หลังจาก NLD มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เมื่อมีการตรวจพบว่านายจอ วิน ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและการวางแผนของประเทศเมียนมา ใช้วุฒิการศึกษาปลอมในการสมัครเข้ารับตำแหน่ง
สำหรับเป้าหมายหลักในการเข้าบริหารประเทศในครั้งนี้คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ การดูแลประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตและการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ให้เกิดขึ้นภายในประเทศ
จากความคาดหวังที่หลายฝ่ายมองให้ (The expectation of ‘change) อาจเป็นแรงกดดัน ไปพร้อมๆกับเป็นแรงขับเคลื่อนให้ NLD สามารถบรรลุเป้าหมายในระยะแรกเริ่มของการบริหารประเทศตามแผน 100 วันได้ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้
แหล่งที่มา: mmtimes.com