home

ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 19 ณ ประเทศเยอรมนี

พฤษภาคม 11, 2016
ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 19 ณ ประเทศเยอรมนี

การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ณ เมืองแฟรงกเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี มีชาติสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ร่วมการประชุม

ที่ประชุมได้หารือประเด็นภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเห็นพ้องว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังคงขยายตัวได้ดีอยางต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสําคัญของเศรษฐกิจโลกต่อไป  ขณะที่เศรษฐกิจโลกแม้ยังขยายตัวไปได้ แต่ยังคงเผชิญกับภาวะผันผวนทางการเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงและเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และสํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) มีข้อเสนอแนะในทิศทางเดียวกัน คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ควรเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเติบโต และดําเนินนโยบายเพื่อรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมของกลไกกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) เพื่อให้สามารถดําเนินการได้ทันทีหากมีสมาชิกขอรับความช่วยเหลือ พร้อมทั้งรับทราบความคืบหน้าการจัดทําตัวชี้วัด (Indicators)ที่เหมาะสมสําหรับการพิจารณาเพิ่มสัดส่วนความช่วยเหลือกรณีที่สมาชิกไม่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหวางประเทศ

ที่ประชุมยังได้แสดงความยินดีกับ AMRO ที่ได้รับการยกสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อเป็นหน่วยงานวิเคราะห์ ติดตาม และเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 และแสดงความยินดีกับความสําเร็จของกระบวนการคัดเลือกผู้ดํารงตําแหน่งบริหารระดับสูงของ AMRO โดยนางจุงฮง ชาง (Junhong Chang) ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้อํานวยการคนใหม่

ประเด็นสุดท้ายที่มีการหารือกันในเรื่องมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของภูมิภาคอาเซียน+3 ให้เป็ นแหล่งระดมเงินทุนและเป็นทางเลือกในการออม ซึ่งได้ติดตามความคืบหน้าของการดําเนินงานของกลไกการคํ้าประกนเครดิตและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility: CGIF)

แหล่งที่มา: mof.go.th

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน