home

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 48 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สิงหาคม 19, 2016
ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 48 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 48 (ASEAN Economic Ministers:AEM) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2559 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว พร้อมกันนี้ยังได้ประชุมร่วมไปกับการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนครั้งที่ 30 (ASEAN Free Trade Area Council) และการประชุมคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียนครั้งที่ 19 (ASEAN Investment Area  Council)

สปป.ลาว ในฐานะประธานอาเซียนและประธานการประชุมได้จัดทําเอกสารเพื่อผลักดันประเด็นสําคัญที่อยู่ภายใต้แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2568 (AEC Blueprint 2025) จํานวน 5 ฉบับ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารดังกล่าวในระหว่างการประชุมแล้ว ได้แก่ 1) กรอบการดําเนินงานด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้า เป็นแนวทางพื้นฐานในการเสริมสร้างการอํานวยความสะดวกทาง การค้าภายในภูมิภาคอาเซียน ครอบคลุมเรื่องพิธีการศุลกากร การขนส่ง มาตรฐาน การจัดทํากฎระเบียบที่โปร่งใส เป็นต้น โดยเปิดให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย 2) กรอบการดําเนินงานกํากับดูแลความปลอดภัยอาหาร ซึ่งจะเป็นการนํานโยบายความปลอดภัยอาหารที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนให้การรับรองเมื่อปีที่แล้วมาสู่การปฏิบัติโดยอาจมีการจัดทําความตกลงระหว่างอาเซียนเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค 3) กรอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสําหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) เป็นแนวทางการขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนว่าภาครัฐควรมีมาตรการและโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นอะไร 4) แผนงานสําหรับการเริ่มต้นธุรกิจ เป็นแนวทางเพื่อการลดระยะเวลาและขั้นตอนในการจัดตั้งธุรกิจส์และ 5) แนวทางการพัฒนาและความร่วมมือสําหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษของอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษสําหรับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ขณะนี้กําลังทวีความสําคัญและมีการจัดตั้งขึ้นหลายแห่งในอาเซียน

ที่ประชุมยังได้ร่วมกันรับรองแผนงาน/กิจกรรมในช่วง 10 ปีข้างหน้าใน 9 สาขาสําคัญภายใต้ AEC Blueprint 2025 เช่น แผนงานด้านการค้าสินค้า แผนงานด้านบริการ  แผนงานด้านการลงทุน แผนงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้การรับรองกรอบการตรวจสอบและประเมินผลแผนงานที่จัดทําภายใต้ AEC Blueprint 2025 โดยแนวทางการวัดผลในอนาคตไม่เพียงแต่วัดว่าทําได้แล้วหรือไม่ แต่จะวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าสอดคล้องกับ AEC Blueprint 2025 อย่างไร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออาเซียนโดยรวมด้วย

จากนั้นยังได้หารือการเปิดตลาดการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งปัจจุบันอาเซียนแต่ละประเทศสามารถเข้าไปลงทุนจัดตั้งธุรกิจในอีกประเทศโดยถือหุ้นข้างมากได้ และได้เร่งรัดให้อาเซียนเปิดตลาดบริการเพิ่มเติมให้ได้ตามที่ตกลงกันภายในปี 2560 อันจะส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวของภาคบริการในภูมิภาค เสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ และยกระดับภาคบริการของอาเซียนซึ่งจะเสริมสร้างความพร้อมของอาเซียนที่ จะรวมเป็นส่วนหนึ่งของโลกได

นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้หารือกับประเทศคู่เจรจา รวม 9 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์อินเดีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา และจะมีการร่วมรับรองเอกสารกับญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์และสหรัฐฯ จํานวน 3 ฉบับ ได้แก่ เอกสารแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ระยะ 10 ปีที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับญี่ปุ่น อาทิ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การพัฒนา SMEs การพัฒนา อุตสาหกรรมลุ่มแม่น้ําโขง การปรับปรุงนวัตกรรม เป็นต้น เอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์เพื่อประเมินประโยชน์ผลกระทบ และจัดทําข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง พัฒนา ยกระดับ และแก้ไขข้อจํากัดภายใต้ความตกลงฯ และเอกสารความร่วมมือด้านการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีด้านความโปร่งใสและข้อพึงปฏิบัติที่ดีในการออกกฎระเบียบระหว่างอาเซียน-สหรัฐอเมริกา เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่จําเป็นและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนระหว่างทั้งสองฝ่าย รวมทั้งจะมีการหารือกับจีนเพื่อสรุปร่างแถลงการณ์ร่วมระหว่างอาเซียน-จีนว่าด้วยความร่วมมือในการเสริมสร้างศักยภาพการผลิต

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership Ministerial Meeting: RCEP) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ศกนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรี RCEP ได้รับทราบภาพรวมความคืบหน้าของการเจรจา RCEP ซึ่งจะมุ่งไปสู่การเปิดเสรีอย่างรอบด้าน และได้เน้นย้ำเจตนารมณ์ที่จะสรุปสาระสําคัญของความตกลง RCEP ภายในสิ้นปี 2559 โดยมุ่งหมายให้เป็นความตกลง ที่มีคุณภาพสูง ครอบคลุมการเปิดเสรีอย่างมีนัยสําคัญทั้งการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทาง เศรษฐกิจอย่างรอบด้าน  โดยกําชับคณะเจรจาของประเทศสมาชิกที่จะเจรจากันในรอบต่อไปให้พยายามเจรจาด้วยความยืดหยุ่นเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่น่าพึงพอใจสําหรับทุกฝ่าย

ขณะที่การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกครั้งที่ 4  (East Asia Summit (EAS) Economic Ministers Meeting) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจโลกที่สําคัญ เช่น ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปัจจุบันและการออกจาก EU ของสหราชอาณาจักร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่อระบบเศรษฐกิจโลกและอาจทําให้ประเทศต่างๆ ดําเนินนโยบายในเชิงปกป้องมากขึ้น  ทั้งนี้ ที่ประชุมเน้นย้ำการดําเนินความร่วมมือที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการเจรจา RCEP ที่ควรเร่งสรุปการเจรจา และเน้นย้ําถึงความสําคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ควรสนับสนุนให้เกิดการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน 

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นถึงความสําคัญในการดําเนินความร่วมมือเพื่อลดปัญหาอุปสรรคทางการค้าและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีแนวปฏิบัติในการออกกฎระเบียบที่ดีในภูมิภาค (Good Regulatory Practice: GRP) ว่าเป็นปัจจัยสําคัญที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของการค้า การลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาค ที่ประชุมยังรับทราบการดําเนินงานของสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia: ERIA) ซึ่งมีบทบาทในการดําเนินการศึกษาวิจัยและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยปัจจุบัน ERIA ได้ดําเนินการศึกษารวบรวมข้อมูล NTM ของสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจา การลดภาระด้านกฎระเบียบที่ไม่จําเป็น และอยู่ระหว่างการจัดทําหลักการ GRP ของอาเซียน

ขณะที่การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศบวกสาม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้สําหรับจุดเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ณ จุดเดียวประจําภูมิภาคเอเชีย ตะวันออก (Study on East Asia Single Window) และการหารือกับสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก (East-Asia Business Council: EABC) โดยรับทราบข้อเสนอแนะในเรื่องของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และการเจรจา RCEP การพัฒนา e-commerce และการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย

แหล่งที่มา: asean.org และ dtn.go.th

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน