home

เมียนมา (เม.ย.-มิ.ย. 2562)

มิถุนายน 12, 2019
เมียนมา (เม.ย.-มิ.ย. 2562)

12

สำหรับความเคลื่อนไหวในเมียนมาในช่วงเดือนที่ผ่านมาที่ได้รับการจับตามองเป็นอย่างยิ่ง คงหนีไม่พ้นเรื่องการที่รัฐบาลควบคุมตัว 2 ผู้สื่อข่าวสัญชาติเมียนมาสังกัดสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 นายวา โลน (Wa Lone) และนายจอ โซ อู (Kyaw Soe Oo) ผู้สื่อข่าวชาวเมียนมาได้รับการปล่อยตัวตามคำสั่งของวิน มินท์ ประธานาธิบดีของเมียนมา  หลังจากถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 7 ปี ด้วยข้อหาที่ทางการระบุว่า ทั้งสองครอบครองเอกสารลับทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนทหารเมียนมาและชาวพุทธจำนวนหนึ่ง ที่เข้าร่วมก่อเหตุสังหารหมู่และพยายามกวาดล้างชาวโรฮีนจาที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอินดิน กระทั่งชาวโรฮีนจาจำต้องหนีอพยพออกจากพื้นที่ จากกลายเป็นการอพยพครั้งใหญ่ของชาวโรฮีนจากว่า 7 แสนคนในช่วงปีที่ผ่านมา

นายวา โลน หนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ถูกควบคุมตัวกล่าวว่า ตนเองดีใจที่ได้รับการปล่อยตัว และจะกลับไปทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวต่อไป ซึ่งหลายหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนก็ออกมาแสดงความยินดีที่ผู้สื่อข่าวทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัว และมองว่าทั้งสองคนนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของสัญลักษณ์สื่อในวงกว้าง

ทั้งสองถูกจับกุมครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2560 และถูกตัดสินจำคุกในเดือนกันยายน 2561 ตามความผิดครอบครองเอกสารราชการโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่บัญญัติขึ้นตั้งแต่เมียนมาเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา องค์การยูเนสโก (Unesco) ซึ่งเป็นองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติที่คอยให้การสนับสนุนให้มีสันติภาพและความมั่นคงในโลก ได้ประกาศมอบรางวัล  “The Guillermo Cano prize” ให้กับนายวา โลน และนายจอ โซ อู ที่ถูกรัฐบาลเมียนมาตัดสินจำคุก หลังรายงานข่าวว่ากองทัพเมียนมาดำเนินการกวาดล้างและสังหารชาวโรฮีนจา

13

นอกจากผู้สื่อข่าวแล้ว กองทัพเมียนมายังได้ตัดสินจำคุกทหารเมียนมา 7 นาย เป็นระยะเวลา 10 ปี เนื่องจากทหารกลุ่มนี้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการสังหารชาวโรฮิงญา 10 คนในหมู่บ้านอินดิน ทางตะวันตกของรัฐยะไข่จนทำให้ชาวโรฮีนจากว่า 700,000 คนลี้ภัยออกจากรัฐยะไข่ไปยังบังกลาเทศในปี 2560

อย่างไรก็ตาม มีกระแสข่าวออกมาว่า ทหารทั้ง 7 นาย ได้รับการปล่อยตัวแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ส่งผลให้มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า การตัดสินจำคุกที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงการจัดฉาก เพราะระยะเวลาที่นายทหารทั้ง 7 ถูกจำคุกนั้นไม่ถึง 1 ปี ทั้งที่ถูกพิจารณาคดีว่ามีส่วนรู้เห็นกับการสังหารชาวโรฮีนจา ขณะที่ผู้สื่อข่าวอยเตอร์สที่ทำข่าวการสังหารหมู่ชาวโรฮีนจากลับต้องถูกจำคุกอยู่เป็นระยะเวลากว่า 500 วัน

ผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมราชทัณฑ์ในกรุงเนปิดอว์เปิดเผยว่า ทหารทั้ง 7 นายได้ออกไปจากเรือนจำแล้วเป็นเวลาหลายเดือน เนื่องจากกองทัพได้ลดโทษให้ พร้อมปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลว่าทหารกลุ่มนี้ได้รับการปล่อยตัวออกไปตั้งแต่เมื่อไหร่

ที่ผ่านมา กองทัพเมียนมามักจะนำกล่าวอ้างถึงกรณีการสั่งจำคุกทหารทั้ง 7 นาย เพื่อเป็นการยืนยันว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิดก็จำต้องถูกลงโทษเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตว่า ทหารทั้ง 7 นายนี้ เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงเพียงกลุ่มเดียวที่ได้รับการลงโทษจากเหตุการสังเหารหมู่ชาวโรฮีนจาในปี 2560

14

เมื่อเดือนพฤษภาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจของเมียนมา ได้ออกหมายจับพระวีระธุ ด้วยข้อหาออกมาเคลื่อนไหวสร้างความเกลียดชังต่อชาวมุสลิมโรฮีนจา ตามมาตรา 124(a) ที่ระบุห้ามไม่ให้มีการสร้างความเกลียดชัง ดูถูกเหยียดหยาม หรือยุยงปลุกปั่นให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐบาล จำหนดโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี

ก่อนหน้านี้ พระวีระธุได้ออกมาเรียกร้องข้อกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ชาวมุสลิมดำเนินกิจการทางการค้าภายในประเทศ และผลักดันไม่ให้ชาวพุทธแต่งงานกับชาวมุสลิม กระทั่งคณะสงฆ์ในเมียนมาลงมติไม่ให้พระวีระธุแสดงความเห็นใดๆ อีกเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมตินี้ได้สิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 2560 ส่งผลให้พระวีระธุออกมาเคลื่อนไหวและแสดงความเห็นทางการเมืองอีกครั้ง

15

ส่วนความคืบหน้าชาวโรฮีนจา ช่วงเดือนเมษายน รัฐบาลบังคลาเทศได้ออกมาเปิดเผยว่า ได้ดำเนินการส่งกองกำลังป้องกันชายแดนบังกลาเทศ (Border Guard Bangladesh: BGB) พร้อมอาวุธทางการทหารเป็นจำนวนมาก ประจำการบริเวณเกาะใกล้ชายแดนทางภายใต้ที่ติดกับเมียนมาเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่ปี 2540 พร้อมเผยแพร่ภาพถ่ายกองกำลังทหารจำนวนมากถือปืนไรเฟิลที่กำลังขึ้นฝั่งที่เกาะเซนต์มาติน (Saint Martin) ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณอ่าวเบงกอล

หลังจากกระแสข่าวนี้เผยแพร่ออกไป รัฐบาลบังคลาเทศได้ออกมาให้เหตุผลเกี่ยวกับการกระทำที่เกิดขึ้นว่า เป็นการดำเนินการอันเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการเผ้าระวังความปลอดภัยและการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดบริเวณชายแดน อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลบังคลาเทศ ได้ก่อให้เกิดเกิดความตึงเครียดทางการฑูตระหว่างสองประเทศ เนื่องจากเหตุการณ์ที่ว่านี้ หลังจากที่ทางการของทั้งสองประเทศเข้าหารือกันในเรื่องการผนวกรวมเกาะเซนต์มาตินเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเมียนมา

สำหรับความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายลดระดับลง นับตั้งแต่กองทัพเมียนมาเข้าปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ บริเวณพื้นที่พรมแดนที่ติดต่อกับบังคลาเทศในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 กระทั่งชาวโรฮีนจากว่า 7 แสนคนที่แต่เดิมพักอาศัยอยู่ในเมียนมา จำต้องอพยพหนีเข้าไปในเขตแดนของบังคลาเทศ จนพื้นที่บางส่วนบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศถูกแปรเปลี่ยนเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน