บทความคัดสรร
รับประชาคมอาเซียน ด้วยประชานิยม ไทยอาจระทม
ในบริบทของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การกำหนดนโยบายภายในประเทศโดยไม่คำนึงถึงบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับประเทศไทย กรณีที่น่าเป็นห่วง คือ นโยบายประชานิยมเรื่องการจำนำข้าว ซึ่งเท่าที่ผ่านมา ยังไม่เห็นมีการอภิปรายถึงประเด็นนี้ในบริบทประชาคมอาเซียนเท่าใดนัก Read More »
ครึ่งทาง AEC: “สอบได้” หรือ “สอบตก”?
ในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า อาเซียนจะก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดยอาเซียนได้จัดทำแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจหรือ AEC Blueprint และตารางเวลาเพื่อดำเนินการไปสู่ประชาคมอาเซียนหรือ AEC Strategic Schedule ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า AEC Blueprint เป็นกรอบแผนงานแม่บท ในขณะที่ AEC Strategic Schedule (ซึ่งอยู่ภายใต้ AEC Blueprint) ถือเป็นแผนเชิงปฏิบัติการที่มีมาตรการและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน Read More »
จับตามองการวัดผลการดำเนินงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (The AEC Scorecard)
ผลการประเมินประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการ ถูกเผยแพร่โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนในเดือนมีนาคม 2012 ให้คะแนนความสำเร็จของอาเซียนอยู่ที่ 67.5 เปอร์เซ็นต์ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2008-2011 Read More »
ทักษะภาษาอังกฤษกับอาเซียน
เมื่อพิจารณาถึงทักษะภาษาอังกฤษของชาติอาเซียน พบว่า ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จากการจัดอันดับของ IMD World Competitive Yearbook 2011 พบว่า ในหมู่ชาติอาเซียน สิงคโปร์มีระดับทักษะภาษาอังกฤษสูงสุด ตามมาด้วยฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ไทยเราเป็นรองแม้กระทั่งอินโดนีเซีย ดัชนีดังกล่าวสอดคล้องกับการจัดอันดับของ English Proficiency Index (EFI) ที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ กลุ่มประเทศที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปานกลาง ระดับต่ำ และระดับต่ำมาก ปรากฏว่า... Read More »
ท่าเรือน้ำลึกทวาย : โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยในพม่า
ท่าเรือน้ำลึกทวาย : โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยในพม่า โดย ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ Read More »
ทะเลจีนใต้ไม่เคยหลับ
ข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้อันประกอบด้วยสองหมู่เกาะหลัก คือ สแปรตลีย์และพาราเซล กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งในช่วงเดือนที่ผ่านมาจากการที่เรือตรวจการณ์ฟิลิปปินส์เผชิญหน้าอย่างตึงเครียดกับเรือรบจีน ที่เข้ามาคุมเชิงขัดขวางการจับกุมเรือประมงจีน ที่ฟิลิปปินส์กล่าวหาว่าล่วงล้ำน่านน้ำของตน แม้ในที่สุด สถานการณ์จะคลี่คลายไปโดยไม่มีการยิงสู้รบกัน แต่ยังมีความเปราะบางที่จะเกิดสถานการณ์เช่นนี้ซ้ำอีกในอนาคต Read More »
ก้าวที่กล้าของมาเลเซีย
เศรษฐกิจของมาเลเซีย เจริญล้ำหน้าไทยมาเป็นเวลาหลายปี และปี 2554 มาเลเซียได้รับการจัดอันดับว่ามีขีดความสามารถทางการแข่งขันสูงเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 27อีกทั้งมาเลเซียยังมีรายได้ประชาชาติต่อหัวเกิน 9,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 270,000 บาท) ในปี 2554 ซึ่งสูงกว่าไทยอยู่ราวหนึ่งเท่าตัว และมาเลเซียกำลังอยู่ในเส้นทางสู่เป้าหมายรายได้ต่อหัว 15,000 ดอลลาร์ (ราว 450,000 บาท) ในปี 2563 ในการที่จะเป็นประเทศในกลุ่มที่มีรายได้สูง Read More »
อนาคต FTA ในเอเชีย – แปซิฟิก: ญี่ปุ่นคือตัวแปรสำคัญ
การประชุมเอเปคที่ฮาวายและการประชุมสุดยอดต่างๆของอาเซียน (ในกรอบอาเซียนบวกสาม และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก) ที่บาหลีเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวสำคัญต่อการก่อตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ในระดับภูมิภาคอีกครั้ง หลังจากที่มีความคืบหน้าน้อยมากในสามกรอบสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น FTA ในกรอบ ASEAN+3 (รวมจีน ญี่ปุน และเกาหลีใต้) ASEAN+6 (เพิ่มอินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) หรือในกรอบเอเปค Read More »
อาเซียนในปี 2030
“อาเซียนจะเป็นอย่างไรในปี 2030 โดยเฉพาะบทบาทในเวทีโลก ปัจจุบันอาเซียนถือเป็นการรวมกลุ่มในภูมิภาคที่คงทนถาวรและประสบความสําเร็จมากที่สุดในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา อีกทั้งยังเป็นพลังขับเคลื่อนสําคัญที่ก่อให้เกิดความมั่นคงและการร่วมมือกันในเอเชีย แต่อาเซียนจะสามารถคงไว้ซึ่งบทบาทและประสิทธิภาพดังกล่าวในอนาคตได้หรือไม่” – ศาสตราจารย์อมิตาฟ อจารยา (Amitav Acharya) อาเซียนในปี 2030 โดย Amitav Acharya ปาฐกถา การสัมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “อาเซียน 2030: การเติบโตเพื่อความมั่งคั่งร่วมกัน” จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยอเมริกัน และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ณ มหาวิทยาลัยอเมริกัน วัน ที่ 7... Read More »
พิเคราะห์อาเซียน…ผ่านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
“บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของอาเซียน ผ่านมุมมองของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเป็นการแนะนำเปรียบเทียบมุมมองจากสำนักคิดต่างๆ โดยสังเขป เพื่อให้นักศึกษาและผู้สนใจได้มีหลักเบื้องต้นในการไปศึกษาค้นคว้าต่อไป” - ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ดาวน์โหลด “พิเคราะห์อาเซียน” (PDF file) Read More »