home

งานสัมมนา “ปัญหาเขตแดนทางทะเล ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

พฤษภาคม 8, 2013
งานสัมมนา “ปัญหาเขตแดนทางทะเล ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

งานสัมมนา “ปัญหาเขตแดนทางทะเล ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
จัดโดย โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.30-16.00 น.
ณ ห้อง 301 ชั้น 3 ตึกศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เมื่อวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงานสัมมนา “ปัญหาเขตแดนทางทะเล ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาข้อพิพาทเขตแดนทางทะเลของทั้งสองภูมิภาคให้กับนักศึกษาของโครงการและผู้สนใจทั่วไป โดยงานสัมมนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากร 5 ท่าน ได้แก่ อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกศึกษาและผู้ประสานงานโครงการ “จับตาอาเซียน” (ASEAN Watch) อาจารย์กวีพล สว่างแผ้ว อาจารย์ประจำคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธานที่ปรึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีอาจารย์ ดร.มรกต เจวจิดา ไมเออร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยวิทยากรท่านแรก คือ อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ เริ่มต้นด้วยการพูดภาพรวมของข้อพิพาทเขตแดนทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้นกว่า 30 กรณี พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีศึกษา ทั้งจากข้อพิพาทที่ระงับแล้ว ยังไม่ระงับ และเสมือนระงับ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง (1) กัมพูชากับเวียดนามเกี่ยวกับดินแดนทางทะเลบนอ่าวไทย (2) มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เกี่ยวกับดินแดนบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ (3) บรูไนกับมาเลเซียเกี่ยวกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ทับซ้อนกันเหนือแนวปะการังลุยซ่า (4) มาเลเซียกับสิงคโปร์เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณช่องแคบยะโฮร์ ฯลฯ

ขณะเดียวกัน อาจารย์อัครพงษ์ก็ได้กล่าวถึงข้อพิพาทที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ ระหว่างมาเลเซียกับฟิลิปปินส์เกี่ยวกับการอ้างสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์โดยทายาทสุลต่านซูลู โดยชี้ว่าความขัดแย้งนี้ค่อนข้างซับซ้อน กล่าวคือ ดินแดนซาบาห์ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของมาเลเซียนั้น เป็นดินแดนห่างไกลจากการปกครองของมาเลเซีย ประชากรเกือบ 2 ล้านคนพูดภาษามินดาเนา มีวัฒนธรรมแบบชาวซูลูของฟิลิปปินส์ ทั้งยังตั้งอยู่ห่างจากซูลูเพียง 16 กิโลเมตร แต่เดิมเคยอยู่ใต้การปกครองของทั้งสุลต่านบรูไนและสุลต่านซูลู จนกระทั่งปี 1878 สุลต่านซูลูได้ทำสัญญา ‘padjak’ กับบริษัทบอร์เนียวเหนือแห่งอังกฤษ (British North Borneo Company) โดยยกดินแดนซาบาห์ให้บริษัทอังกฤษดูแล และเรียกเก็บค่าเช่ารายปีเป็นเงินราว 5,000 บาท ซึ่งอังกฤษก็ยังคงจ่ายให้ลูกหลานของกษัตริย์ซูลูมาจนปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 1963 เมื่อรัฐมลายาพยายามสร้างประเทศ บริษัทของอังกฤษจึงให้ประชาชนบนซาบาห์เลือกว่าจะรวมอยู่กับมลายาหรือจะอยู่กับฟิลิปินส์ ซึ่งการทำประชามติครั้งนั้นปรากฎว่า ชาวซาบาห์เลือกจะอยู่กับมลายา ซึ่งก็คือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน กระนั้น ข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างสิทธิในดินแดนซาบาห์ก็เกิดขึ้น เนื่องจากการตีความสัญญา ‘padjak’ กับอังกฤษ กล่าวคือ สุลต่านซูลูยังอ้างสิทธิการปกครองเหนือซาบาห์ เนื่องจากสัญญาดังกล่าวระบุว่า เพียงให้อังกฤษเช่าดูแลเท่านั้น ขณะที่มาเลเซียก็โต้แย้งว่า ‘padjak’ หมายถึงการยกให้ไปเลย (cession) มากกว่า ยิ่งกว่านั้น ประชาชนในซาบาห์ก็เคยทำประชามติว่าจะอยู่กับมาเลเซียแล้วด้วย ข้อพิพาทดังกล่าวทำให้ทั้งสองประเทศพยายามเจรจากันหลายครั้ง ทว่าก็ไม่สำเร็จ จนนำไปสู่เหตุการณ์บุกยึดและอ้างสิทธิเหนือซาบาห์ของทายาทสุลต่านซูลู ตามด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงจากเจ้าหน้าที่มาเลเซีย จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

ต่อมา อาจารย์กิตติ ประเสริฐสุข ได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทเขตแดนบริเวณเอเชียตะวันออก โดยชี้ว่า ความขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดนเพิ่งปะทุขึ้นหลังสงครามเย็น พร้อมๆ กับการก่อตัวของอุดมการชาตินิยมในยุคโลกาภิวัตน์ และโครงสร้างอำนาจโลกที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ ในปี 1989 เหตุการณ์เทียนอันเหมิน ทำให้จีนตระหนักว่าอุดมการคอมมิวนิสต์ประสบปัญหา เจียงเจ๋อหมิน ผู้นำในขณะนั้นจึงได้สร้างอุดมการชาตินิยมจีน ผ่านการเขียนตำราเรียน สร้างอนุสาวรีย์ พิพิธภัณฑ์ รวมถึงการสร้างญี่ปุ่นให้เป็นศัตรูของชาติ ผ่านการตอกย้ำเหตุการณ์นองเลือดในนานกิง ถึงตรงนี้ ญี่ปุ่นจึงถูกบีบให้ย้อนกลับไปหาอุดมการชาตินิยมเพื่อสู้กับจีน หรือกล่าวอีกทางหนึ่งก็คือ ชาตินิยมญี่ปุ่นเป็นผลกระทบของชาตินิยมของจีนนั่นเอง

นอกจากนี้ เขายังได้กล่าวถึงความขัดแย้งทะเลจีนใต้เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์การเดินเรือที่สำคัญ ทั้งยังเชื่อกันว่าอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ มากมาย ระหว่างจีน ไต้หวัน และชาติอาเซียนอีก 4 ชาติ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เขาชี้ว่า ความขัดแย้งข้างต้นเคยนำไปสู่การปะทะกันเพียงสองครั้ง ขณะที่อาเซียนเองก็พยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าว เริ่มด้วยการออกคำประกาศเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ในปี 1992 ตามด้วยการจัดประชุมด้านความมั่นคงระดับภูมิภาค (ARF) ในปี 1994 เชิญจีนมาร่วมหารือและลงนามในคำประกาศเกี่ยวกับหลักปฏิบัติเหนือทะเลจีนใต้ (DoC) ในปี 2002 ล่าสุด เมื่อปีที่แล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในคู่มือเกี่ยวกับหลักปฏิบัติ (Guideline on CoC) ทั้งนี้ อาเซียนก็คาดหวังว่าจะเปิดเจรจากับจีนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติเหนือทะเลจีนใต้ (CoC) ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายให้ได้โดยเร็ว

ตอนท้าย อาจารย์กิตติได้ให้ความเห็นว่า บทบาทตัวกลางของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นมากหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21 ที่กัมพูชา ขณะเดียวกันไทยเองก็มีบทบาทสำคัญในฐานะตัวแทนของอาเซียนที่จะสานสัมพันธ์และไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวกับจีน อย่างไรก็ดี เขาชี้ว่า การพิจารณาความขัดแย้งทะเลจีนใต้นี้ต้องให้ความสำคัญกับธรรมชาติของปัญหาและความสามารถในการแก้ปัญหา กล่าวคือ ข้อพิพาททะเลจีนใต้มีความซับซ้อนสูงมาก ฉะนั้น คำถามที่ว่า ใครจะมีความสามารถในการแก้ไขปัญหานี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

ต่อมา อาจารย์กวีพล อาจารย์พนัส และอาจารย์ชาญวิทย์ ได้ร่วมกันเสนอความเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยเริ่มจากการอธิบายพัฒนาการของกฎหมายทะเลระหว่างประเทศที่สำคัญอย่างอนุสัญญาเจนีวา ปี 1958 และอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลปี 1982 จากนั้นจึงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของความขัดแย้งอันเนื่องมาจากพื้นที่ทับซ้อนตามหลักการกำหนดเขตแดนทางทะเลด้วยเกณฑ์ต่างๆ โดยตัวอย่างความขัดแย้งที่สำคัญในอาเซียน คือความขัดแย้งระหว่างไทยกับมาเลเซียเกี่ยวกับเขตแดนบริเวณทะเลอันดามัน ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวก็สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำของทั้งสองชาติและบรรยากาศทางการเมืองโลกที่ผ่อนคลายลง ทั้งนี้ อาจารย์กวีพลเน้นย้ำว่า การแก้ไขข้อพิพาทพรมแดนนั้นไม่สามารถใช้เพียงการตีความตามหลักฐานใดหลักฐานหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความรู้ด้านอื่นๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ มาช่วยด้วย

ต่อมา อาจารย์พนัสได้อธิบายถึงความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ในกรณีที่กัมพูชาลากเส้นเขตแดนทางทะเลจากหลักหมุดที่ 73 พาดผ่านเกาะกูด ตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่กัมพูชายึดเป็นหลักฐานต่อเนื่องจากกรณีที่ศาลโลกตีความว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ใต้อธิปไตยของกัมพูชา โดยกัมพูชาอ้างอย่างไร้หลักเกณฑ์ใดๆ ว่าเกาะกูดเป็นของกัมพูชาและประกาศเขตแดนทางทะเลในปี 1972 ก่อนที่ไทยจะโต้แย้งตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี 1907 ที่ระบุให้เกาะกูดเป็นของไทย และประกาศเขตแดนของไทยในปี 1973 ทั้งนี้ เขาได้อ้างถึง MoU 2544 เกี่ยวกับการแบ่งพื้นที่เขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยชี้ว่า MoU ฉบับดังกล่าวถูกโจมตีว่าทำให้ไทยเสียเปรียบ เพราะเสมือนว่าไปยอมรับเส้นเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000  กระนั้น บันทึกความเข้าใจดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อการกำหนดเขตแดนทางทะเลในภายหลัง เป็นเพียงกระบวนการหนึ่งเพื่อนำไปสู่การแก้ไขความขัดแย้งตามกฎหมายทะเลระหว่างประทเศ มาตรา 83 วรรค 3 เท่านั้น

ในตอนท้าย อาจารย์ชาญวิทย์ได้อธิบายแง่มุมทางประวัติศาสตร์ของเขตแดนทางทะเล โดยชี้ว่า ความสำคัญของเส้นเขตแดนโดยทั่วไปในสยามเกิดขึ้นหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมในตะวันตก เมื่อเจ้าอาณานิคมแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจแบบใหม่ จากเดิมที่ต้องการแค่ท่าเรือ กลายเป็นการยึดดินแดน จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเย็น เขตแดนทางทะเลจึงกลับมามีความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกัน เขาก็ให้ความเห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับเขตแดนที่ เสียไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้ว นั้นเป็นความคิดที่ใหม่มาก เพราะในอดีต สยามเองยังเคยขายดินแดนของตัวเองเพื่อแลกกับสิ่งอื่น อาทิ การแลกดินแดนทางตอนใต้กับอังกฤษ ในสมัย รัชกาลที่ 5 เพื่อแลกกับอธิปไตยทางการศาลและเงินกู้เพื่อสร้างทางรถไฟ เป็นต้น

ภาพถ่ายจาก: PITV

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            เรื่องล่าสุด

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ธันวาคม 22, 2011

                                            สัมนาหัวข้อ “การมุ่งหน้าสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความเป็นไปได้ อุปสรรค และปฏิทรรศน์ในการพัฒนา การปกครอง และความมั่นคงของมนุษย์” (Towards an ASEAN Economic Community (AEC): Prospects, Challenges...

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            มกราคม 16, 2012

                                            บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ดาวน์โหลด AEC-Thailand (PDF file)

                                            มาเลเซีย (2-6 ม.ค. 57)

                                            มาเลเซีย (2-6 ม.ค. 57)

                                            มกราคม 6, 2014

                                            1.ผู้ชุมนุมชาวมาเลเซียจำนวนหลายพันคน แต่งกายชุดดำ มารวมตัวกันที่จัตุรัสใจกลางเมืองหลวง เพื่อประท้วงที่ราคาน้ำมันและสินค้าอื่น ๆ แพงขึ้น สร้างแรงกดดันให้แก่รัฐบาลมาเลเซียที่พยายามลดหนี้สินของประเทศด้วยการตัดลดงบประมาณหลายด้านในปีนี้ 2. มาเลเซียเดินหน้าประกาศให้ปี 2014 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวของมาเลเซีย (Visit Malaysia year 2014)...

                                            มาเลเซียประกาศปีแห่งการท่องเที่ยว หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

                                            มาเลเซียประกาศปีแห่งการท่องเที่ยว หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

                                            มกราคม 6, 2014

                                            มาเลเซียเดินหน้าประกาศให้ปี 2014 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวของมาเลเซีย (Visit Malaysia year 2014) โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยแผนดึงดูดนักท่องเที่ยวราว 28 ล้านคนต่อปี พร้อมทั้งยังคาดหวังจะผลักดันให้มาเลเซียกลายเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวของโลกในอนาคต

                                            คุยหนังอาเซียน: คุยกับ ชินภัทร ชิน ‘Flower in the pocket’

                                            คุยหนังอาเซียน: คุยกับ ชินภัทร ชิน ‘Flower in the pocket’

                                            มกราคม 6, 2014

                                            คุยหนังอาเซียนกับฟิล์มกาวัน เทปแรกของปีใหม่ 2557 สนทนาถึงภาพยนตร์อุษาคเนย์จากมาเลเซีย เรื่อง ‘Flower in the pocket’ กำกับโดย Liew Seng Tat ผู้กำกับรุ่นใหม่ชาวมาเลย์เชื้อสายจีน

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                            อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                            สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                            ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                            แผนที่อาเซียน