home

งานเสวนาทางวิชาการ “ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก”

มกราคม 29, 2013
งานเสวนาทางวิชาการ “ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก”

งานเสวนาทางวิชาการ
“ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก”
จัดโดย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่  23 มกราคม 2556

เมื่อว้นที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “ผลัดผู้นำญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน กับความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออก” เพื่อวิเคราะห์ถึงการผลัดเปลี่ยนผู้นำของ 3 ประเทศใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ว่าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อภายในประเทศ ต่อนโยบายต่างประเทศของแต่ละประเทศ รวมทั้งผลกระทบต่อไทยและอาเซียน

ในการเสวนาครั้งนี้ มีวิทยากรร่วมเสวนา 3 ท่าน คือ รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  รศ.ดร.นภดล ชาติประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ ผศ.ดร.กิตติ  ประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาและอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ อ.ดร.พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ดร.กิตติ ได้ให้ทรรศนะถึงผลกระทบของการเปลี่ยนผู้นำในประเทศญี่ปุ่นเป็นนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะซึ่งเป็นนักการเมืองหัวชาตินิยม มีความแข็งกร้าวในนโยบายต่างประเทศเกิดในครอบครัวของนักการเมืองทั้งฝ่ายบิดาและมารดา การดำรงตำแหน่งในครั้งนี้ ถือเป็นรอบที่สอง จึงมีแผนที่จะอยู่ในวาระที่ยาวนานกว่าในสมัยแรกที่ดำรงตำแหน่งอยู่เพียงปีเดียว อาเบะเน้นแนวนโยบายด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพของกองทัพไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มงบประมาณและการมีแผนจะเปลี่ยนชื่อกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น เป็น “กองกำลังป้องกันแห่งชาติ” ซึ่งมีนัยยะสำคัญ ส่วนนโยบายด้านเศรษฐกิจ ได้รับการขนานนามว่า“อาเบะโนมิคส์”ที่เน้นอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยมาตรการการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการก่อสร้างสาธารณูปโภค และนโยบายที่เน้นให้ค่าเงินเยนอ่อน เพื่อรักษาการส่งออก

ส่วนในประเด็นด้านนโยบายต่างประเทศ ผศ.ดร.กิตติได้ให้ความเห็นว่า อาเบะมีแนวทางชาตินิยมที่เด่นชัดกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ โดยเฉพาะในประเด็นทะเลจีนตะวันออกที่กำลังมีปัญหาพิพาทหมู่เกาะกับจีนและกับเกาหลีใต้  ความขัดแย้งกับจีนในประเด็นดังกล่าว อาเบะมีท่าทีชัดเจนที่อาจจะไม่ยอมง่ายๆ  แต่กับเกาหลีก็ยอมผ่อนผันลงไปบ้าง ส่วนความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาถือว่า เป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญโดยเฉพาะการขยายกรอบการพิจารณาข้อตกลงด้านความมั่นคงและป้องกันตนเองของญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา

ทางด้านของรศ.ดร.จุลชีพ ได้ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงผู้นำในประเทศเอเชียตะวันออกถือเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ยุทธศาสตร์ในเอเชียตะวันออกครั้งสำคัญ อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้นำจีนจะเปลี่ยนเป็นนายสีจิ้นผิง แต่โครงสร้างทางการเมืองของจีนที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไป โดยพรรคคอมมิวนิสต์ยังคงมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายทุกอย่าง ผู้อาวุโสของพรรคยังคงมีบทบาทสูงในการกำหนดนโยบายหรือกระทั่งผู้นำ โดยภูมิหลังของสีจิ้นผิงมีบิดาเป็นนักปฏิวัติรุ่นเหมาเจ๋อตง มีความแข็งกร้าวในนโยบายต่างประเทศ ในอดีตมีชีวิตที่ข่มขื่นโดยเฉพาะช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม และค่อยๆ เติบโตทางการเมืองเรื่อยมาเมื่อเข้าสู่ยุคของเติ้งเสี่ยวผิง

ในส่วนของความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากสีจิ้นผิงขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำจีน ได้แก่ ประการแรก การปราบปรามคอร์รัปชั่นที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวมากขึ้นในระยะหลัง หากทำสำเร็จ ทั้งสีจิ้นผิงและพรรคก็จะได้รับความศรัทธาจากประชาชนเพิ่มขึ้น ประการที่สองคือ ด้านเศรษฐกิจคงจะเน้นปฏิรูปต่อไปโดยเฉพาะการเน้นให้คนจีนหันมาใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งดำเนินนโยบายสวัสดิการสังคม

ส่วนในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น รศ.ดร.จุลชีพให้ความเห็นไว้ว่า นโยบายจีนต่อสหรัฐอเมริกามี 2 ลักษณะคือ มีการแข่งขันระหว่างกันและความร่วมมือระหว่างกัน จีนก็ไม่ค่อยพอใจนักที่สหรัฐอเมริกามามีอิทธิพลข้องแวะในเอเชีย และจีนก็ต้องการเป็นมหาอำนาจทางทะเล 2 ทะเลโดยพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งขยายอิทธิพลด้วยการสร้างเมืองท่าด้วย  ส่วนในประเด็นพิพาทกับญี่ปุ่นก็ยังคงยืนยันในอธิปไตยของชาติ จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองกันต่อไป

ทางด้านประเทศเกาหลี รศ.ดร.นภดล ได้ให้ความเห็นโดยกล่าวปูพื้นให้เห็นภูมิหลังของผู้นำคนใหม่ของเกาหลีใต้ที่เป็นสตรี คือ ปาร์คกึนเฮ ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเนื่องจากเกาหลีมีวัฒนธรรมขงจื่อแบบเข้มข้น ดังนั้นแรงผลักดันในอดีตบนเส้นทางการเมืองของนางจึงมีส่วนสำคัญและนางปาร์คกึนเฮก็ไม่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำด้วยสถานการณ์เฉพาะหน้า แต่มีบทบาทหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองมาตั้งแต่สมัยบิดา

ทางด้านนโยบายของปาร์คกึนเฮ มองว่า การใช้นโยบายชาตินิยมแบบเข้มข้นอาจจะไม่เกิดขึ้นเนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศเล็ก ซึ่งก็อาจจะมีการจำกัดขอบเขตของความขัดแย้งไว้ ทางด้านของนโยบายต่างประเทศเกาหลีใต้ยังคงมีความสัมพันธ์กับจีนในด้านของการเป็นผู้ค้าทางเศรษฐกิจ ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ยังคงมีความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงในแบบเดิมๆ ซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้นคงต้องผ่านทางจีน

ในประเด็นต่อมา ผู้ดำเนินรายการได้ตั้งคำถามให้เห็นว่าการผลัดผู้นำของ 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกจะมีผลอย่างไรต่อภูมิภาคอาเซียนและไทย

ทางด้านของรศ.ดร.จุลชีพ ได้ให้ความเห็นต่อผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผู้นำจีน โดยได้ชี้ให้เห็นว่า T-pop หรือวัฒนธรรมไทยและสินค้าทางวัฒนธรรมของไทยก็เริ่มปรากฏในจีนเช่นกัน เช่น ละครไทย รวมทั้งภาพยนตร์จีนเรื่อง Lost in Thailand ที่ใช้ฉากในเมืองไทย นอกจากนี้คนจีนก็มาเที่ยวเมืองไทยที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะวัยรุ่น จากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้น และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ก็มองว่า ไทยมีความน่าสนใจ 2 ประการ คือ มีภูมิยุทธศาสตร์ใจกลางอาเซียนและเป็นสะพานเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ รวมทั้ง 2 มหาสมุทรด้วย ส่วนในประเทศอาเซียนอื่นๆ ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ในด้านของข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ที่มีหลายประเทศในอาเซียนเป็นคู่กรณีกับจีน ทางจีนก็มีท่าทีในเชิงการเจรจามากกว่าจะแข็งกร้าวแบบที่กระทำต่อญี่ปุ่น  อย่างไรก็ตามเรื่องของความคลั่งชาติก็ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวล ซึ่งความคลั่งชาติยังคงแฝงอยู่ในประเทศอาเซียน และกลายเป็นเรื่องที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่มีปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้จะต้อง “จัดการกับอารมณ์” ของประชาชนในประเทศตัวเองอย่างไร

ทางด้านนโยบายของเกาหลีใต้ที่จะมีผลกระทบต่ออาเซียน รศ.ดร.นภดลมองว่า เกาหลีใต้อยู่ในเอเชียตะวันออกแต่ก็เป็นประเทศเล็กในภูมิภาคนี้ซึ่งก็ยังไม่ได้รวมกันอย่างเป็นกลุ่มก้อน ดังนั้นการร่วมมือกับอาเซียนซึ่งอยู่นอกภูมิภาคจึงเป็นทางออกของประเทศเล็กๆ นอกจากนี้การร่วมมือดังกล่าวก็มีกรอบที่ชัดเจน เช่น ASEAN+เกาหลีใต้โดยตรง

ส่วนผลกระทบต่อไทย ก็เห็นว่าไทยยังคงไม่มีท่าทีที่ชัดเจนในการทำให้เป็นศูนย์กลางในนามอาเซียนสำหรับการติดต่อกับเกาหลีใต้ แต่เมื่อพิจารณาจากภูมิยุทธศาสตร์ของไทยมีความได้เปรียบ ดังนั้นจึงควรนำประเด็นนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในฐานะใจกลางภูมิภาค นอกจากนี้การลงทุนของเกาหลีใต้ในไทยยังคงมีความสำคัญ แต่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “แชโบล” ก็ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตมาไทย กลุ่มที่เข้ามาลงทุนมักจะเป็นบริษัทเล็กๆ ขนาด SME ซึ่งกลุ่มนี้มีความอ่อนไหว ย้ายฐานการผลิตได้ง่ายถ้าหากไม่มีนโยบายที่ชัดเจน หรือดึงดูดการลงทุน และเกาหลีใต้ก็ยังคงรุกหนักด้านการลงทุนในอินโดนีเซียด้วย

ส่วนประเทศญี่ปุ่น ผศ.ดร.กิตติได้กล่าวถึงการมาเยือนเวียดนาม ไทยและอินโดนีเซียของอาเบะ ซึ่งมองได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญต่ออาเซียนมากยิ่งขึ้นและประเทศเหล่านี้จะเป็นประเทศหลักของอาเซียน ส่วนประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้แก่ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ ญี่ปุ่นก็ให้รัฐมนตรีต่างประเทศเดินทางมาเยือนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังส่งรัฐมนตรีคลังมาเยือนพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ด้วย ในประเด็นทวาย ญี่ปุ่นมีแผนจะเข้ามาร่วมลงทุนกับไทยและพม่า ซึ่งจะมีการหารือต่อไป จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป แน่นอนว่าอาเบะจะเน้นด้านเศรษฐกิจต่ออาเซียน

แต่ที่สำคัญเป็นพิเศษ คือ การกระชับความสัมพันธ์ทางด้านยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” หรือ strategic partnership โดยเน้นเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางทะเลและนโยบาย open ocean ด้วย

กล่าวโดยสรุป การผลัดเปลี่ยนผู้นำในเอเชียตะวันออกเชื่อมโยงไปถึงการเคลื่อนของภูมิทัศน์ทางยุทธศาสตร์ในประเทศมหาอำนาจของเอเชียตะวันออก ความเปลี่ยนแปลงภายในก็ยังโยงกับภายนอกที่ยังมีเรื่องพิพาทต่อกัน ประเด็นที่น่าสนใจคือว่าด้วยเรื่องทางด้านสถาปัตยกรรมความมั่นคงในเอเชียตะวันออกที่ยังคงไม่ชัดเจน ซึ่งทำให้ภูมิภาคขาดกลไกการจัดการความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ และผู้นำทั้ง 3 ประเทศนี้จะเป็นผู้เข้าบริหารการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมาก่อนแล้ว สิ่งที่น่าจับตาคือ นายกรัฐมนตรีอาเบะของญี่ปุ่นจะเป็นตัวแปรสำคัญในความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเขามีแนวทางชาตินิยมที่ค่อนข้างแข็งกร้าว

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            เรื่องล่าสุด

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ธันวาคม 22, 2011

                                            สัมนาหัวข้อ “การมุ่งหน้าสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความเป็นไปได้ อุปสรรค และปฏิทรรศน์ในการพัฒนา การปกครอง และความมั่นคงของมนุษย์” (Towards an ASEAN Economic Community (AEC): Prospects, Challenges...

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            มกราคม 16, 2012

                                            บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ดาวน์โหลด AEC-Thailand (PDF file)

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ความขัดแย้งข้างต้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้อจำกัดของความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนเองในการแก้ไขปัญหาที่น่ากังวลนี้ ปัญหาโจรสลัดจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากแต่ละประเทศยังคงไม่แก้ไขกฎหมายทางทะเลที่มีความหละหลวม ทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงปัญหาเรื่องการประสานงานระหว่างประเทศอย่างไม่จริงจังนักในการต่อต้านโจรสลัด เนื่องจากหลายประเทศมักมีข้อพิพาทด้านอธิปไตยเหนือดินแดนทางทะเลระหว่างกัน จนเป็นเหตุให้แต่ละประเทศเกรงว่า การยอมลงนามในข้อตกลงทางทะเลระหว่างประเทศใด ๆ อาจกลายเป็นการยอมรับสิทธิอันชอบธรรมทางกฎหมายเหนือดินแดนทางทะเลของชาติอื่นอย่างไม่ตั้งใจ สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงการหวงแหนอธิปไตยของชาติอาเซียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเป็นประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                            อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                            สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                            ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                            แผนที่อาเซียน