home

งานสัมมนา “Preah Vihear and Phra Viharn: Pathways to A Shared Destiny”

เมษายน 2, 2013
งานสัมมนา “Preah Vihear and Phra Viharn: Pathways to A Shared Destiny”

งานสัมมนา “Preah Vihear and Phra Viharn: Pathways to A Shared Destiny”
วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2556 เวลา 8.30-11.30 น.
ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS) แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานสัมมนาสาธารณะภายใต้หัวข้อ “Preah Vihear and Phra Viharn: Pathways to A Shared Destiny” เพื่อนำเสนอข้อมูลความรู้และสร้างความเข้าใจ ทั้งในแง่มุมทางกฎหมาย ประวัติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ เกี่ยวกับข้อพิพาทเหนือปราสาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา

โดยในงานเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากร 4 ท่าน มาร่วมแสดงความคิดเห็น ได้แก่ ศ.วิทิต มันตาภรณ์ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ฯพณฯ ลุตฟี โรฟ (H.E.Mr.Lutfi Rauf) เอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย

เริ่มด้วยประเด็นทางกฎหมาย ศ.วิทิต เล่าย้อนประวัติศาสตร์ของข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหารโดยสังเขป และชี้ให้เห็นว่ารากฐานของปัญหานี้อยู่ที่การเขียนประวัติศาสตร์ (Historiography) กระนั้น ข้อพิพาทนี้ก็มิได้เป็นปัญหาโดยตรงของทั้งสองประเทศ ทว่ามีลักษณะเป็นปัญหาของกลุ่มเฉพาะ (fraction) หรือกลุ่มทางการเมืองที่จะหยิบยกมาต่อสู้หรือโจมตีกันและกันมากกว่า พร้อมกันนี้ เขายังชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด ถึงขนาดที่ว่าไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่ยอมรับสถานะความเป็นรัฐของกัมพูชาในทศวรรษที่ 1950s

เขาเสนอว่า เราควรย้อนกลับไปดูคำตัดสินของศาลโลกในปี 1962 ซึ่งเห็นชอบให้พื้นที่บริเวณปราสาทอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ด้วยหลักฐานทั้งจากสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และแผนที่ในสมัยอาณานิคม อย่างไรก็ดี เขาชี้คำพิพากษาของศาลโลก ณ ตอนนั้นยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายประการ อาทิ การระบุว่า ตัวปราสาทตั้งอยู่ ใน (in) ดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา หรือการระบุให้ไทยต้องถอนทหารและเจ้าหน้าที่ออกจากตัวปราสาท หรือ (or) บริเวณใกล้เคียง (vicinity) บนอาณาเขตของกัมพูชา รวมทั้งยังชี้ให้เห็นบทบาทของศาลโลกที่พยายามเข้ามาแทรกแซงกรณีดังกล่าวด้วยการร่างแผนที่ชั่วคราว (provisional map) เพื่อใช้สำหรับจัดตั้งเขตปลอดทหาร (demilitarized zone) ระหว่างไทยและกัมพูชา ซึ่งถูกคัดค้านว่าเป็นสิ่งที่เกินอำนาจของศาลจะทำได้ (exceeded the Court’s power) เป็นต้น

อาจารย์วิทิตจึงสรุปว่า ความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นและศาลโลกกำลังพิจารณาอยู่นั้น จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ ทว่าเป็นผลพวงของอดีต และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นผลสืบเนื่องจากคำตัดสินที่ไม่ชัดเจนเพียงพอของศาลโลกเอง ขณะเดียวกัน เขาก็ย้ำว่า สิ่งที่ทั้งสองประเทศควรปฏิบัติก็คือ ควรเตรียมความพร้อมประชาชนในประเทศให้รับรู้ว่าโอกาสของคำพิพากษาจะเป็นไปในทิศทางไหน และผลจะเป็นอย่างไร และเคารพคำตัดสินของศาล ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศควรใคร่ครวญถึงความร่วมมือในอนาคต ร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจระหว่างกันในบั้นปลาย

ด้าน รศ.ดร.สุเนตร ให้ความเห็นในแง่มุมประวัติศาสตร์ โดยเสนอว่า ข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหารปรากฏขึ้นมาจากเหตุผลทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุดมการณ์ชาตินิยมของทั้งสองประเทศ ที่พยายามสร้างความเป็นปึกแผ่นในหมู่ประชาชนขึ้นมา ในช่วงบั้นปลายของยุคอาณานิคม โดยเขาย้อนไปสำรวจความคิดของผู้คนบริเวณเขาพระวิหาร ในสมัยอาณาจักรขอมโบราณ และชี้ว่าผู้คนในดินแดนเหล่านั้น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจักรวิทยาของภูเขาและปราสาท แตกต่างจากคนในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

กล่าวคือ คนทั้งสองฝั่งเขาพระวิหารมีวัฒนธรรมและระบบคุณค่าบางอย่างร่วมกัน ในแง่ที่พวกเขาต่างก็เคารพและสักการะภูเขาสูง ตามคติแบบพุทธ-ฮินดู ผสมผสานกับคติการนับถือผีของท้องถิ่น ที่เชื่อว่า ภูเขาเป็นที่สิงสถิตของเทพยดาหรืออำนาจเหนือธรรมดาบางอย่างที่คอยปกปักรักษาพวกเขาอยู่ ฉะนั้น คนในวัฒนธรรมเหล่านี้จึงเคารพภูเขาและมักสร้างปราสาทหรือวัดไว้อยู่บนยอดเขา อย่างเช่น ปราสาทพระวิหารนี่เอง ความเข้าใจนี้เป็นไปไม่ได้สำหรับคนยุคปัจจุบัน ที่มองอะไรเป็นเรื่องพรมแดน เขตแดน และอธิปไตย พวกเขาจึงพยายามผลักดันให้ปราสาทพระวิหารเป็นของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งที่จริง มันควรจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันของผู้คนในภูมิภาคมากกว่า

จากนั้น รศ.ดร.พวงทอง ได้ยกประเด็นทางรัฐศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่ง กล่าวคือ ก่อนหน้าปี 2008 ทั้งไทยและกัมพูชา ต่างตกลงที่จะร่วมมือกันผลักดันให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก คำถามก็คือ ทำไมจึงเกิดความร่วมมือระหว่างกันขึ้นมา อาจารย์พวงทองเสนอว่า เป็นเพราะไทยต้องการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการท่องเที่ยว ในสมัยนายกฯ ชาติชาย ชุณหะวัณ ไทยหันมาส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน ต่อมาในปี 2003 รัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ก็พยายามผลักดันให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในฐานะสัญลักษณ์ของความร่วมมือระหว่างประเทศ จนกระทั่งในสมัยนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ที่บรรยากาศทางการเมืองภายในของไทย ทำให้ความพยายามดังกล่าวถูกโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) รัฐบาลไทยถูกกล่าวหาว่าขายชาติ ขายแผ่นดิน และท้ายที่สุด เมื่อมาถึงสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ความร่วมมือดังกล่าวก็มีอันต้องยกเลิกอย่างเป็นทางการ

อาจารย์พวงทองชี้ให้เห็นว่า ถึงตอนนี้ สิ่งที่ทั้งสองประเทศต้องเผชิญก็คือคำตัดสินของศาล ซึ่งในทัศนะของเธอ เป็นไปได้เพียงสองทางคือ ศาลโลกตัดสินยืนตามคำพิพากษาปี 1962 หรือไม่ก็เป็นไปได้ว่าศาลโลกจะไม่มีอำนาจตัดสินคดีดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ระหว่างทั้งสองประเทศกลับไปสู่ความตึงเครียดแบบเดิมอีกครั้ง ทั้งนี้ รัฐบาลไทยเองก็ไม่กล้าจะดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างจริงจัง เพราะกลัวจะถูกโจมตี ขณะเดียวกัน การไม่พยายามทำอะไรก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่มีความพยายามมากพอเสียอีก ซ้ำร้าย ไทยยังไม่เคยมีความพยายามเตรียมผู้คนให้พร้อมรับและยอมรับกับคำตัดสินของศาลโลกเสียอีก ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารจึงเป็นเครื่องมือที่พร้อมจะถูกหยิบใช้โจมตีรัฐบาลได้ทุกเมื่อ และหนทางจะคลี่คลายปัญหาดังกล่าวก็ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับบทบาทของกลุ่มต่อต้านทักษิณและทหารมากเป็นพิเศษ

สุดท้าย ฯพณฯ ลุตฟี โรฟ ได้นำเสนอบทบาทของอินโดนีเซีย ในฐานะตัวกลางของอาเซียน ที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าว เขาย้อนให้เห็นว่า ในอดีต อาเซียนเต็มไปด้วยความขัดแย้งกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อพิพาททางพรมแดน ที่ยังดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีความพยายามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาค ซึ่งรวมไปถึง การลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพและความร่วมมือ (TAC) ตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรก ในปี 1976 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ เขาแย้งความเห็นของอาจารย์วิทิตที่ว่าข้อพิพาทดังกล่าวเป็นปัญหาระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ มากกว่าจะเป็นปัญหาระหว่างประเทศ โดยเขาเห็นว่า การโจมตีกันบริเวณพรมแดนทั้งสองประเทศ ได้ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาระดับรัฐไปแล้ว ขณะเดียวกัน เขาก็กล่าวถึงจุดยืนของ อินโดนีเซีย ในฐานะอดีตประธานอาเซียน และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศในภูมิภาคมาโดยตลอด ว่าพวกเขายังอย่างให้ไทยและกัมพูชาแก้ไขปัญหาอย่างสันติ สนับสนุนให้เกิดการเจรจาทวิภาคี ผ่านกลไกแก้ไขปัญหาของอาเซียน และยึดมั่นในหลักการ ASEAN Way ที่ประเทศต่างๆ จะไม่ใช้ความรุนแรงเข้าแก้ไขปัญหาระหว่างกัน เพื่อเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ท่านสามารถรับชมวีดิโองานเสวนาได้ที่ Preah Vihear and Phra Viharn: Pathways to A Shared Destiny
ขอขอบคุณ คุณ Bundit Uawattananukul และ เว็บไซต์ประชาไท มา ณ ที่นี้

One Comment

  1. chay เมษายน 12, 2013 at 11:42 pm - Reply

    ไปมาเหมือนกันครับ ได้รับความรู้ไปเต็มอิ่มเลย

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            เรื่องล่าสุด

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ธันวาคม 22, 2011

                                            สัมนาหัวข้อ “การมุ่งหน้าสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความเป็นไปได้ อุปสรรค และปฏิทรรศน์ในการพัฒนา การปกครอง และความมั่นคงของมนุษย์” (Towards an ASEAN Economic Community (AEC): Prospects, Challenges...

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            มกราคม 16, 2012

                                            บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ดาวน์โหลด AEC-Thailand (PDF file)

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ความขัดแย้งข้างต้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้อจำกัดของความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนเองในการแก้ไขปัญหาที่น่ากังวลนี้ ปัญหาโจรสลัดจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากแต่ละประเทศยังคงไม่แก้ไขกฎหมายทางทะเลที่มีความหละหลวม ทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงปัญหาเรื่องการประสานงานระหว่างประเทศอย่างไม่จริงจังนักในการต่อต้านโจรสลัด เนื่องจากหลายประเทศมักมีข้อพิพาทด้านอธิปไตยเหนือดินแดนทางทะเลระหว่างกัน จนเป็นเหตุให้แต่ละประเทศเกรงว่า การยอมลงนามในข้อตกลงทางทะเลระหว่างประเทศใด ๆ อาจกลายเป็นการยอมรับสิทธิอันชอบธรรมทางกฎหมายเหนือดินแดนทางทะเลของชาติอื่นอย่างไม่ตั้งใจ สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงการหวงแหนอธิปไตยของชาติอาเซียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเป็นประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                            อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                            สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                            ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                            แผนที่อาเซียน