home

ประชาคมอาเซียนกับปัญหาความรุนแรงในชาติสมาชิก

มิถุนายน 28, 2013
ประชาคมอาเซียนกับปัญหาความรุนแรงในชาติสมาชิก

ประชาคมอาเซียนกับปัญหาความรุนแรงในชาติสมาชิก
โดย ผศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข, เชาว์วัฒน์ มูลภักดี

แม้ประชาคมอาเซียนจะประกอบไปด้วย 3 ประชาคมหรือ 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) และประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (APSC) แต่ดูเหมือนว่าประชาคมเศรษฐกิจจะยังคงเป็นเพียงประชาคมเดียวที่ถูกผลักดันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความคืบหน้ามากที่สุด

อย่างไรก็ดี ความท้าทายสำหรับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเองมีอยู่นานัปการ แต่ประเด็นปัญหาที่ยังไม่ค่อยถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันมากนักในระดับอาเซียน โดยเฉพาะในเวทีประชุมสุดยอดครั้งล่าสุด ก็คือ ปัญหาและความท้าทายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ ในหลายพื้นที่ในภูมิภาค  ในช่วงที่ผ่านมา ความขัดแย้งทางศาสนาและชาติพันธุ์ในพม่า ได้นำไปสู่การใช้ความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยราย และมีผู้พลัดถิ่นนับแสนราย ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แม้ความรุนแรงจะบรรเทาลงแล้ว แต่ความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม และผลพวงต่างๆ ของเหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อไป หลังเที่ยงคืนจนถึงเช้ามืดของวาเลนไทน์ปีนี้ โบสถ์คริสต์ 3 แห่งในเกาะสุลาเวสี ของอินโดนีเซียถูกปาด้วยระเบิดเพลิง แม้ตัวอาคารจะไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็แสดงให้เห็นว่า ความขัดแย้งทางศาสนายังคงเป็นปัญหาที่สังคมอินโดนีเซียต้องเผชิญ เมื่อไม่นานมานี้ ทางการอินโดนีเซียได้ระงับการดำเนินการของโบสถ์หลายแห่งชั่วคราว เพื่อลดเงื่อนไขในการใช้ความรุนแรงต่อโบสถ์คริสต์ ส่งผลให้ชาวคริสต์ออกมาประท้วง จนทางการต้องอนุญาตให้เปิดโบสถ์ได้ในที่สุด

ในประเทศไทยเอง เป็นเวลาเกือบ 10 แล้วที่ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลงในเวลาอันใกล้ แม้จะมีกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่อำนวยความสะดวกโดยรัฐบาลมาเลเซียก็ตาม

นอกจากนั้น สองเดือนก่อนหน้านี้ กองกำลังในนามของสุลต่านซูลูคิรามที่ 3 จากเกาะซูลูของฟิลิปปินส์บุกยึดเมืองลาหัต ดาตู ในรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย เหตุการณ์จบลงด้วยการที่รัฐบาลมาเลเซียส่งกองทัพเข้าปราบปรามกองกำลังดังกล่าว จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 70 คนนำมาสู่ความร้าวฉานระหว่างรัฐบาลมาเลเซียกับรัฐบาลฟิลิปปินส์

ถามว่าปัญหาข้างต้นอาเซียนมีบทบาทอย่างไรบ้าง และปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องอย่างไรกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่ทุกฝ่ายกำลังมุ่งให้ความสำคัญกันอยู่ในขณะนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่บรูไน เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากประเด็นข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ที่ไทยเสนอจะเป็นเจ้าภาพหารือในเรื่องนี้และการพูดคุยกันถึงบทบาทของอินโดนีเซียในการพยายามเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาในพม่าแล้ว ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนแทบจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องความรุนแรงในกรณีข้างต้นเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่เป็นประเด็นที่จัดว่าอยู่ในเสาการเมืองความมั่นคงโดยตรง และในหลายกรณีก็คาบเกี่ยวกับเสาสังคมวัฒนธรรมอาเซียน การละเลยต่อปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงหลักการที่อาเซียนยึดถือมาโดยตลอดคือการไม่แทรกแซงกิจการภายในระหว่างกัน และแนวทางที่เน้นความสบายใจ (comfort level) ของทุกฝ่าย ซึ่งถูกตั้งคำถามตลอดมาว่าจุดสมดุลของหลักการและแนวทางดังกล่าวนั้นอยู่ที่ใด ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีความขัดแย้งระหว่างสามัญชน (People-to-People Conflicts) ดังเช่นที่เกิดขึ้นในพม่าและอินโดนีเซีย ที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศหากไม่ถูกมองว่าเพิกเฉยต่อเหตุการณ์ ก็ถูกมองว่ามีส่วนช่วยเสริมแรงโดยอ้อมแก่กลุ่มชนส่วนใหญ่เข้าใช้ความรุนแรงต่อคนส่วนน้อย แทนที่จะทำหน้าที่อย่างแข็งขันในการระงับยับยั้งความขัดแย้งและความรุนแรงให้จบลงเร็วที่สุด การที่อาเซียนแทบไม่ได้มีมาตรการเชิงรูปธรรมใดๆ ต่อกรณีดังกล่าวออกมา ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการใช้หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในและแนวทางที่เน้นความสบายใจของทุกฝ่าย (ยกเว้นประชาชนผู้ถูกกระทำ) ซึ่งท้ายที่สุดอาเซียนก็จะถูกมองว่าเพิกเฉยและไม่แยแสต่อผู้ถูกกระทำ

หากอาเซียนไม่สามารถบริหารจัดการความรุนแรงในกรณีข้างต้นได้ ปัญหานี้จะเป็นปัจจัยที่ถ่วงรั้งหนทางสู่ความสำเร็จของจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมเศรษฐกิจไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเพียงกลไกของตัวมันเอง แต่ต้องอาศัยบรรยากาศแวดล้อมทางการเมืองและสังคมด้วย

ดังนั้น อาเซียนจึงไม่เพียงจะต้องตระหนักว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเมือง-ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรมจะต้องดำเนินควบคู่กันไปเท่านั้น หากแต่ต้องเร่งรัดการพัฒนากลไกและมาตรการต่างๆ ในเสาการเมืองความมั่นคง และเสาสังคม-วัฒนธรรมให้มีความคืบหน้าทัดเทียมกับเสาเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดด้วย ทั้งนี้ มิใช่เพื่อความสำเร็จของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่เพื่อตอบโจทย์ที่ใหญ่กว่าซึ่งก็คือ การสร้างอาเซียนให้เป็นสังคมแห่งสันติสุขอย่างแท้จริงแล้ว

*บทความชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกใน กรุงเทพธุรกิจ  ฉบับวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            เรื่องล่าสุด

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ธันวาคม 22, 2011

                                            สัมนาหัวข้อ “การมุ่งหน้าสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความเป็นไปได้ อุปสรรค และปฏิทรรศน์ในการพัฒนา การปกครอง และความมั่นคงของมนุษย์” (Towards an ASEAN Economic Community (AEC): Prospects, Challenges...

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            มกราคม 16, 2012

                                            บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ดาวน์โหลด AEC-Thailand (PDF file)

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ความขัดแย้งข้างต้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้อจำกัดของความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนเองในการแก้ไขปัญหาที่น่ากังวลนี้ ปัญหาโจรสลัดจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากแต่ละประเทศยังคงไม่แก้ไขกฎหมายทางทะเลที่มีความหละหลวม ทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงปัญหาเรื่องการประสานงานระหว่างประเทศอย่างไม่จริงจังนักในการต่อต้านโจรสลัด เนื่องจากหลายประเทศมักมีข้อพิพาทด้านอธิปไตยเหนือดินแดนทางทะเลระหว่างกัน จนเป็นเหตุให้แต่ละประเทศเกรงว่า การยอมลงนามในข้อตกลงทางทะเลระหว่างประเทศใด ๆ อาจกลายเป็นการยอมรับสิทธิอันชอบธรรมทางกฎหมายเหนือดินแดนทางทะเลของชาติอื่นอย่างไม่ตั้งใจ สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงการหวงแหนอธิปไตยของชาติอาเซียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเป็นประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                            อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                            สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                            ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                            แผนที่อาเซียน