home

งานเปิดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สยาม/ไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค”

กรกฎาคม 25, 2013
งานเปิดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สยาม/ไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค”

งานเปิดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

และปาฐกถาพิเศษเรื่อง

“สยาม/ไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค”

โดย ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย  วินิจจะกูล

จัดโดย  ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา  สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา ได้จัดงานเปิดศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ซึ่งมีปาฐกถาหัวข้อ “สยาม/ไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค” โดย ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์  มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน – แมดิสัน  สหรัฐอเมริกา

อาจารย์ธงชัยได้พาสำรวจการรับรู้ในความรู้เรื่องไทย ว่ามีความเป็นมาอย่างไรและในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและตั้งคำถามว่า ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง โดยได้ชี้ว่า คนไทยมักรับรู้ประวัติศาสตร์ไทยในฐานะรวมกับเป็นรัฐที่ตัดขาดจากภูมิภาคไม่ได้วางไว้ในตำแหน่งแห่งที่ที่มีบริบทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ความรู้เรื่องไทยที่รับรู้กันโดยทั่วไปคือ รัฐและประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากรัฐเกษตรกรรม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชาวนา สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมีความเปลี่ยนแปลงน้อย สังคมไทยเปรียบเสมือนครอบครัวใหญ่ รู้จักที่ต่ำที่สูง เป็นสังคมที่มีระเบียบ ในขณะเดียวกันก็มองว่าฝรั่งเป็นตัวแทนของความทันสมัยความเจริญและพัฒนา  ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกัดเซาะคุณธรรมและความดีงามแบบไทยให้เสื่อมโทรมเพราะนิยมในวัตถุ ความรู้เรื่องไทยนี้เป็นฐานที่ดื้อดึงต่อความเปลี่ยนแปลง

ในมุมมองของตะวันตกความรู้เรื่องไทยและความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้มีความคงที่ถาวร  แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและบริบท โดยแบ่งได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้

ในยุคอาณานิคม ความรู้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีรูปแบบ (Style) อย่างหนึ่งและมีความเปลี่ยนไป เป็นความรู้แนวบูรพทิศศึกษา (Orientalism) เป็นการศึกษาแบบคลาสสิค โดยชุดความรู้นี้ที่ใช้ทำความเข้าใจภูมิภาคได้ถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคม   และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ถูกศึกษาโดยอาณานิคม ในขณะเดียวกันการศึกษาของไทยเกี่ยวกับไทยก็ได้ปรับมาจากอังกฤษถูกจัดระเบียบโดยชนชั้นนำไทยมีผลต่อการผลิตความรู้แบบที่เป็นมา  เจ้าอาณานิคมเห็นว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมรดกอารยธรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่ เจ้าอาณานิคมเป็นผู้รักษามรดกเหล่านี้ ซึ่งนักวิชาการยุคคลาสสิคนี้ไม่ได้เป็นเครื่องมืออาณานิคมแต่วิธีการศึกษาอยู่ในกรอบอาณานิคม

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ภูมิภาคศึกษา (Area Studies) ได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกาที่เข้ามามีบทบาทแทนที่ยุโรป โดยแบ่งระยะการศึกษาภูมิภาคเป็น 2 ระยะคือ ก่อนสงครามเวียดนามและหลังสงครามเวียดนาม  ยุคที่สหรัฐเข้ามาศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในลักษณะภูมิภาคศึกษา เป็นการศึกษาในด้านสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  มานุษยวิทยา ไม่ใช่การศึกษาในเรื่องอารยธรรมโบราณแบบสมัยอาณานิคม สหรัฐเน้นภูมิภาคศึกษาเพื่อการพัฒนา (Modernization) เพื่อการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ภูมิภาคศึกษาจึงเน้นทางสังคมศาสตร์

แวดวงวิชาการที่มีผลต่อความรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง ความรู้เรื่องไทยศึกษาย่อมได้รับอิทธิพลจากความรู้ดังกล่าวรวมทั้ง area studies โดยความรู้อยู่ในบริบทหรือเงื่อนไขบางอย่าง แต่เงื่อนไขภายในก็มีผลอย่างมาก โดยความรู้เรื่องไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตลอดเวลา แต่ในสังคมไทยมีการศึกษาเรื่องไทยอย่างเป็นเอกเทศ ดังเพชรเม็ดงามที่ลอยอยู่ ซึ่งที่จริงไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค อย่างความรู้เรื่องไทยแบบ Indianization ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระแสโลก

โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโลกตะวันตกสนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแบบ Single Ocean เป็นการศึกษาที่มากกว่ายุคสงครามเวียดนาม เน้นความเชื่อมต่อของภูมิภาคในทางทะเล มีการตอบสนองต่อสิ่งเดียวกัน เป็นการเน้นความเชื่อมต่อทางวัฒนธรรม  ความเชื่อมต่อทางมานุษยวิทยาที่มีร่วมกัน  จะพบว่า โลกตะวันตกศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบภูมิภาคศึกษา

ในขณะที่ความรู้เรื่องไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก แต่ก็สร้างบริบทความรู้ในแบบหนึ่ง  ยุคอาณานิคมการศึกษาเรื่องไทยก็ได้รับอิทธิพลอาณานิคม เมื่อเศรษฐศาสตร์ของความรู้ก็ไม่ได้ตัดขาดจากโลกตะวันตก เพื่อตอบสนองการพัฒนาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

แต่การรับรู้ในความรู้เรื่องไทยและภูมิภาคเท่าที่เข้าใจกันเป็นแบบไทยเป็นศูนย์กลาง (Thaicentricism)  ที่ไทยมีความพิเศษกว่า เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งสิ่งที่เราควรจะตระหนักในปัจจุบันคือ ได้หมดยุคพ้นสมัยไปและหมดเงื่อนไขแล้วที่จะผลิตซ้ำมีความรู้แบบนี้  แต่สังคมไทยก็ยังคงผลิตความรู้ในแบบนี้

หลังการปาฐกถา  ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ได้แสดงความคิดเห็นว่า การสร้างความรู้จาก area studies เป็นมุมมองจากยุโรป – อเมริกา เป็นการศึกษาภูมิภาคอื่นที่ไม่มีการศึกษาตัวเอง องค์ความรู้ในเรื่องนี้จึงมีลักษณะของการวิพากษ์สูง ในขณะที่ไทยศึกษาของไทยเองนั้นก็อยู่ภายใต้อคติของตนเอง

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            เรื่องล่าสุด

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ICIRD 2012 International Conference

                                            ธันวาคม 22, 2011

                                            สัมนาหัวข้อ “การมุ่งหน้าสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ความเป็นไปได้ อุปสรรค และปฏิทรรศน์ในการพัฒนา การปกครอง และความมั่นคงของมนุษย์” (Towards an ASEAN Economic Community (AEC): Prospects, Challenges...

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสอย่างไรจาก AEC ?

                                            มกราคม 16, 2012

                                            บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ดาวน์โหลด AEC-Thailand (PDF file)

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ปัญหาโจรสลัด: ความท้าทายในประชาคมอาเซียน

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ความขัดแย้งข้างต้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นข้อจำกัดของความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนเองในการแก้ไขปัญหาที่น่ากังวลนี้ ปัญหาโจรสลัดจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หากแต่ละประเทศยังคงไม่แก้ไขกฎหมายทางทะเลที่มีความหละหลวม ทั้งยังมีปัญหาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงปัญหาเรื่องการประสานงานระหว่างประเทศอย่างไม่จริงจังนักในการต่อต้านโจรสลัด เนื่องจากหลายประเทศมักมีข้อพิพาทด้านอธิปไตยเหนือดินแดนทางทะเลระหว่างกัน จนเป็นเหตุให้แต่ละประเทศเกรงว่า การยอมลงนามในข้อตกลงทางทะเลระหว่างประเทศใด ๆ อาจกลายเป็นการยอมรับสิทธิอันชอบธรรมทางกฎหมายเหนือดินแดนทางทะเลของชาติอื่นอย่างไม่ตั้งใจ สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงการหวงแหนอธิปไตยของชาติอาเซียน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเป็นประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ตร.สิงคโปร์ สอบสวน “แรงงาน” เอเชียใต้ 3,700 คน หลังเกิดจลาจล ทำ จนท.เจ็บหลายสิบ – ผู้จัดการ

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            ธันวาคม 12, 2013

                                            ‘พม่า’ทะลักแห่ดูเปิดซีเกมส์ ไทยย้ำการเมืองไม่กระทบกีฬา – แนวหน้า

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                            อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                            สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                            ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                            แผนที่อาเซียน