home

งานสัมมนา “สู่สันติภาพในอุษาคเนย์? : กระบวนการสันติภาพในพม่า มาเลเซียและจังหวัดชายแดนไทยภาคใต้”

พฤษภาคม 2, 2013
งานสัมมนา “สู่สันติภาพในอุษาคเนย์? : กระบวนการสันติภาพในพม่า มาเลเซียและจังหวัดชายแดนไทยภาคใต้”

งานสัมมนา “สู่สันติภาพในอุษาคเนย์? : กระบวนการสันติภาพในพม่า มาเลเซีย และจังหวัดชายแดนไทยภาคใต้”
จัดโดย
ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออก ร่วมกับ
ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน  2556
ณ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิต

การสัมมนา “สู่สันติภาพในอุษาคเนย์? : กระบวนการสันติภาพในพม่า มาเลเซีย และจังหวัดชายแดนไทยภาคใต้” เป็นการจัดงานสัมมนาครั้งแรกนับแต่ก่อตั้งศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออก  ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้มีผู้ดำเนินรายการคือ ผศ.ดร.ยุกติ  มุกดาวิจิตร โดยอาจารย์ยุกติ ได้กล่าวเริ่มถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งในพม่าที่คุกรุ่นมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งตั้งคำถามเพื่อนำสู่การอภิปรายถึงการเกิดขึ้นของความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพที่จะมีขึ้นว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

อาจารย์ดุลยภาค  ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้พาย้อนกลับไปพิจารณาถึงโครงสร้างของรัฐพม่า รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงการกระจายตัวของชาติพันธุ์ต่างๆ ในเขตแดนรัฐพม่า ทั้งยังเสนอว่า การขยายอำนาจของกษัตริย์พม่าในอดีตจากศูนย์กลางอำนาจไปยังชายขอบซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าต่างๆ เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐส่วนกลางกับรัฐชายขอบ  ทำให้กลายเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาตลอดโดยเฉพาะเมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ รัฐพม่าจึงมีลักษณะแบบรัฐซ้อนรัฐ เป็นรัฐพหุชนชาติ นอกจากนี้พม่ายังอยู่ในกระบวนการสร้างรัฐชาติที่ยังไม่จบสิ้น  มีความพยายามรวมศูนย์ของรัฐชายขอบ แม้ว่ากระบวนการสันติภาพ (peace process) จะมีวี่แววเริ่มต้นในปี 1998 แต่ก็ล้มเหลวลงเนื่องจากการเปลี่ยนตัวผู้แสดงทางการเมือง

นอกจากนี้อาจารย์ดุลยภาคยังได้พิจารณาถึงการจัดลำดับขีดความสามารถของกองทัพทั้งของรัฐส่วนกลาง (รัฐบาลพม่า) และรัฐชายขอบ ซึ่งกองกำลังเหล่านี้มีผลต่อกระบวนการสันติภาพในประเทศเป็นอย่างมาก การแบ่งอาศัยเกณฑ์ศักยภาพของกองทัพแบ่งเป็น 4 ระดับ และภายใต้โครงสร้างอำนาจกองทัพ กลุ่มชนชาติต่างๆ ในพม่าจะเกี่ยวข้องระหว่างกันด้วยคำศัพท์ 3 คำ คือ ความขัดแย้ง, การแข่งขันและความร่วมมือ ที่เกิดขึ้นในระหว่างกลุ่มชนชาติและรัฐส่วนกลาง ในขณะเดียวกันลักษณะเชิงพื้นที่ (Landscape) ก็มีผลต่อการจัดการสันติภาพที่จะกลายเป็นโจทย์ที่ต้องขบคิดที่สำคัญ และอาจารย์ดุลยภาคยังได้วิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่การเจรจาหยุดยิงในพม่าเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขคือ1) ความบอบช้ำจากสงครามที่ต่างฝ่ายก็เหนื่อยล้า  2) ความได้เปรียบเสียเปรียบทางทหาร  3) ท่าทีของรัฐเพื่อนบ้าน 4) เงื่อนไขหรือข้อเสนอที่ยอมรับกันได้ และ 5) บทบาททางการเมืองของตัวแสดงต่างๆ

ส่วนลักษณะของการหยุดยิงจะพบว่ามีลักษณะคือ 1) มักเป็นข้อตกลงด้วยวาจา แต่ก็เริ่มมีการลงนามลายลักษณ์อักษรบ้าง  2)มักเป็นการวางแนวปฏิบัติทางทหารโดยปราศจากข้อสรุปทางการเมืองที่เป็นรูปธรรม  3)มีการละเมิดข้อตกลงหรือหาผลประโยชน์จากข้อตกลง 4)ยังมีการสู้รบและใช้ความรุนแรง สุดท้ายอาจารย์ดุลยภาคได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ท้าทายโดยเฉพาะในประเด็นของ การสร้างรัฐที่ปะทะกับการสร้างสันติภาพ , การรวมชาติที่ปะทะกับการปรองดองแห่งชาติและจะเลือกรัฐเดี่ยวหรือรัฐสหพันธรัฐ

ทางด้านของคุณประจักษ์  กุนนะ ตัวแทนจากสภากอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of Shan State-RCSS) ได้อธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับชาวไทยใหญ่หรือชาวไต รวมทั้งการให้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวกอบกู้เอกราชรัฐฉานโดยยึดจากกองกำลังทหารของผู้นำ 4 รุ่น รวมทั้งยังให้ข้อมูลถึงความพยายามในการเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าถึง 4 ครั้งซึ่งครั้งล่าสุดมีขึ้นที่ท่าขี้เหล็ก สำหรับการเจรจาก็มีข้อตกลงมากมาย แต่ว่าการเจรจาล้มเหลวก็มาจากการที่รัฐบาลพม่ายืดเวลาส่วนการปฏิบัติตามข้อตกลงก็ทำได้บ้างบางส่วนก็ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ อย่างไรก็ตามในการเจรจาระยะหลังๆ ก็มีหน่วยงานจากภายนอกเข้ามาคือ UNODC ที่เข้ามาช่วยเหลือเจรจาโดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

เกี่ยวกับประเด็นยาเสพติดนี้คุณประจักษ์ได้ชี้ให้เห็นว่า สภากอบกู้รัฐฉานพยายามแก้ปัญหานี้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าเป็นการตั้งศูนย์บำบัดผู้ติดยาหรือการปราบปรามอย่างเต็มที่ รวมทั้งยังให้ข้อมูลด้วยว่า การผลิตยาเสพติดกลับมาจากฝ่ายทหาร อส. ของกองทัพพม่า

ในส่วนของสถานการณ์หลังที่มีการเจรจาหยุดยิง ก็ปรากฏว่ายังมีการสู้รบกันไม่ต่ำกว่า 40 ครั้ง  ส่าวนผลการเจรจาระหว่างรัฐบาลพม่าและสภากอบกู้รัฐฉานก็ไม่ได้บรรลุผลมากนัก ในตอนท้ายคุณประจักษ์ได้เสนอแนวทางสู่กระบวนการสันติภาพโดยรัฐบาลพม่าจะต้องทบทวนสนธิสัญญาปางโหลง ปี 1947 อีกครั้งซึ่งเป็นสัญญาที่ถูกรัฐบาลพม่าสมัยนายพลเนวินฉีกทิ้ง

อาจารย์ยุกติ ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพของพม่าโดยชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งและการเจรจาเพื่อเข้าสู่กระบวนการสันติภาพจะต้องมาจากการออกแบบรูปของรัฐอันเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางประเด็นดังกล่าว

ในขณะที่อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อภิปรายเกี่ยวกับความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพในมาเลเซีย โดยหยิบยกเอาประเด็นข้อพิพาทซาบาห์ (Sabah dispute) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่สืบเนื่องจากได้มีกองกำลังในนามของสุลต่านซูลูคิรามที่ 3 ยกกองกำลังเข้าบุกยึดเมืองลาหัต ดาตู รัฐซาบาห์ของมาเลเซีย ซึ่งอาจารย์อัครพงษ์ได้อภิปรายในมุมมองทางประวัติศาสตร์และการเมือง

อาจารย์อัครพงษ์ได้กล่าวถึงปัญหาการพิพาทในพื้นที่ของอีกรัฐหนึ่งที่ไม่ใช่ประชาชนในรัฐนั้นนับเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในส่วนของปัญหาซาบาห์ได้ถูกรวมเป็นข้อพิพาทดินแดนในอาเซียนซึ่งมีข้อพิพาทถึง 30 กรณี แม้ว่าบางกรณีจะขึ้นศาลโลกมีการระงับข้อพิพาทระหว่างกันแต่ศาลโลกก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องเส้นเขตแดนซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก

สำหรับซาบาห์รัฐมาเลเซียมองว่าเป็นดินแดนในลักษณะบ้านนอกมีมาเฟียควบคุม ในขณะที่ฟิลิปปินส์มองว่าเป็นดินแดนในอาณาจักรซูลู ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเกาะมินดาเนา ซึ่งปัญหาพิพาทซาบาห์ก็เข้ามาเกี่ยวกับซับซ้อนกับปัญหาภาคใต้ของเกาะมินดาเนาด้วย  อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาประชากรส่วนใหญ่ในซาบาห์จะพบว่าเป็นชาวซูลู และมีลักษณะชาติพันธุ์ วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับชาวซูลูในฟิลิปปินส์

ในประเด็นภูมิหลังทางประวัติศาสตร์พบว่า ซาบาห์เดิมเป็นของสุลต่านบรูไน แล้วเกิดกบฏในดินแดนนี้สุลต่านบรูไนจึงยกให้กับซูลูซึ่งมาช่วยปราบกบฏ ต่อมาซูลูให้บริษัทบริติชบอร์เนียว คอมปะนีเช่า อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจึงมาจากการตีความคำว่า “padjak” ในภาษามาเลย์ว่าหมายถึงอะไร ซึ่งมีทั้งการให้คำอธิบายว่า ยกให้, เขตเช่า, จำนำ จุดเริ่มต้นความขัดแย้งจึงมาจากการตีความคำในสัญญาเช่า แต่ว่าประเด็นข้อพิพาทถูกจุดชนวนขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมืองและถูกใช้ในทางการเมืองโดยมาคาปากัลอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ที่ใช้เรื่องประเด็นที่ปรากฏในสัญญาเช่าเกี่ยวกับดินแดนซาบาห์มาใช้หาเสียงทางการเมือง และต่อมาก็ปรากฏว่า การทวงคืนดินแดนรัฐซาบาห์ได้ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายระดับรัฐบัญญัติของฟิลิปปินส์

อย่างไรก็ตามในกระบวนการเจรจาเกี่ยวกับข้อพิพาทซาบาห์ที่เกิดขึ้นในอดีตก็มีการพูดคุยในระดับทางการทูต ในการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 3 ณ คาเมรอน ไฮแลนด์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในที่สุดกระบวนการสันติภาพเกิดขึ้นได้ก็มาจากการพูดคุยกันเสมอ

ส่วนทางด้านของอาจารย์ ดร.อนุสรณ์  อุณโณ  ได้อภิปรายในประเด็นความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นการสอดรับกับสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยรวมทั้งกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น

โดยอาจารย์ ดร.อนุสรณ์ ได้แบ่งประเด็นในการอภิปรายเป็น 2 ประเด็นหลักๆ คือ ประเด็นแรก สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น  และประเด็นที่สอง กระบวนการสันติภาพที่แต่ละฝ่ายพยายามจะให้เกิดขึ้น

สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นเป็นมรดกที่ถูกทิ้งมาจากอดีตและมีความแหลมคมมาก มีปมปัญหาสำคัญมาจากเหตุการณ์ที่สืบเนื่องมาจากอดีต รวมทั้งความเข้าใจที่ลักลั่นขัดกันเกี่ยวกับสถานะเมืองประเทศราชในสมัยอยุธยารวมถึงรัตนโกสินทร์  จวบจนในสมัยช่วงการแพร่ขยายของระบบราชการแผนใหม่เข้าสู่ในพื้นที่อันเป็นช่วงสมัยสร้างรัฐชาติกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้นำศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งก็มาจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการเรียกร้องเอกราชโดยเฉพาะในดินแดนมาลายู จึงกลายเป็นแรงดึงสำคัญที่ทำให้เกิดกระแสความต้องการแยกตัวออกจากสยาม แต่ในช่วงหลัง 1980 ขบวนการเรียกร้องแบ่งแยกดินแดนได้เงียบหายไปอันเนื่องมาจากนโยบายกลืนกลายบังคับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามถูกยกเลิกไป รวมทั้งการอภัยโทษ

ในขณะที่เหตุการณ์ปล้นปืนอาจนับได้ว่าเป็นหมุดหมายสำคัญแม้ว่าความรุนแรงจะเกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นบางแล้วก็ตาม แต่มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ ในอดีตเมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ก็มักจะมีองค์กรออกมาประกาศความรับผิดชอบ แต่ในปัจจุบันความรุนแรงที่เกิดขึ้นมักไม่มีองค์กรความรับผิดชอบ เป็นความรุนแรงนิรนาม รวมทั้งยังไม่มีข้อเรียกร้องเชิงรูปธรรมอีกด้วย อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปัจจุบันยังมาจากความเคลื่อนไหวในพื้นที่ไม่ได้มีการจัดรูปองค์กรที่ชัดเจนและการเคลื่อนไหวในลักษณะจรยุทธ์ (RKK)

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องใน 3 มิติที่สำคัญคือ

1) มีการใช้ประวัติศาสตร์มาปลุกเร้าผู้คน การเล่าเรื่องเล่าระยะสั้นที่จับจิตใจผู้คน

2) การตอบสนองของรัฐต่อเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยเฉพาะในกรณีกรือเซะและตากใบ  รวมถึงการใช้กฎหมายพิเศษที่ไม่สามารถเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐได้ในกรณีตากใบที่ทำให้เรื่องเล่าจับจิตใจยิ่งขึ้น

3) กระบวนการยุติธรรมที่มีปัญหา การเปิดโอกาสให้จับกุมผู้คนได้อย่างละหลวม

ในส่วนของกระบวนเจรจา อาจารย์ ดร.อนุสรณ์ ได้เล่าถึงการเจรจาในเชิงลับที่เกิดขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย  แต่ว่าการเจรจามักจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ขนาดเล็กๆ หากพิจารณาถึงการจัดองค์กรของ BRN ที่มีบทบาทนำในการเจรจาในปัจจุบัน จะเห็นว่า สภาองค์กรนำยังไม่ถึงระดับเจรจา ยังคงมีการทำสงครามแนวร่วมในปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามปัจจัยที่จะนำไปสู่การเจรจาที่มากขึ้นต้องยอมรับบทบาทในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการเมืองของมาเลเซียและความเสื่อมของพรรคอัมโน  การขยายตัวของ AEC ที่ทุนจากมาเลเซียพร้อมจะสยายปีกเข้าสู่พื้นที่ 3 จังหวัด อาจกล่าวได้ว่า BRN ได้รับสนับสนุนการเจรจาจากมาเลเซียแต่ว่ายังไม่เชื่อใจรัฐบาลไทยมากนัก

ทางด้านของคุณบาสรี  มะเซ็ง ตัวแทนชาวมลายูมุสลิมจากจังหวัดนราธิวาส ก็ได้ให้มุมมองของคนในพื้นที่ โดยกล่าวถึงความต้องการสันติภาพของคนในพื้นที่ในรูปแบบใดๆ ที่ยอมรับได้ ส่วนภาคประชาชนในพื้นที่เองก็มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้มีความสงบเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของกฎหมายพิเศษในพื้นที่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา เพราะชาวบ้านได้รับผลกระทบ รวมทั้งยังไม่ได้รับความเป็นธรรม และยังสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องเล่าและการส่งต่อความรุนแรงจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งกลายเป็นเรื่องที่น่ากลัวและเป็นเรื่องสำคัญ

ในขณะที่การทำให้ปัญหาหมักหมมมากขึ้นก็มีส่วนให้ความเคลื่อนไหวได้รับความชอบธรรม ในขณะเดียวกันนโยบายการพัฒนาของรัฐก็มีส่วนผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ การแก้ปัญหาที่สำคัญจะต้องมีการส่งต่อองค์ความรู้ที่เก็บเกี่ยวจากในพื้นที่ เอาไปใช้ในพื้นที่ให้ได้ เพื่อยกระดับกระบวนการคิดให้สูงขึ้น และที่สำคัญ การปฏิบัติงานไม่ว่าในระดับใดๆ ของราชการจะต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา รวมทั้งรัฐจะต้องมีความเป็นธรรมและไม่มีอคติ

สำหรับการสรุปประเด็นจากการสัมมนา ศ.ดร. ธเนศ  อาภรณ์สุวรรณ ได้กล่าวถึงกระบวนการสันติภาพใน 3 ประเทศที่มีจุดร่วมอย่างหนึ่งคือ รัฐซ้อนรัฐ ขอบเขตที่ถูกสร้างขึ้นทำให้เกิดการไม่ลงรอยของคนในพื้นที่ ในขณะที่การก่อตัวของรัฐสมัยใหม่ก็มีตัวแบบมาจากรัฐสมัยโบราณที่ยึดเอารูปแบบรัฐรวมศูนย์ การนำ concept เรื่องรัฐชาติการไปวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรในสมัยโบราณอย่างสุโขทัยว่าเป็นรัฐเดี่ยวอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงมีปัญหาในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างมาก ในขณะที่ปัญหาของรัฐรวมศูนย์อยู่ที่การจัดการความหลากหลายของเชื้อชาติ  การมีประเทศราชจึงไม่ใช่แคว้นที่ต้องขึ้นอยู่กับอำนาจสุโขทัยเสมอไป และการส่งบรรณาการก็ไม่ได้หมายถึงยอมสยบอยู่ภายใต้อำนาจ  นอกจากนี้อาณาจักรในสมัยโบราณไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องขอบเขตหรือเส้นเขตแดนแต่ให้ความสำคัญกับกำลังคน การกะเกณฑ์กำลังผู้คนจึงเป็นเรื่องสำคัญกว่าขอบแดนหรือดินแดน  ฉะนั้น concept เรื่องรัฐสมัยใหม่จึงต้องประยุกต์ใช้กับกระบวนการสันติภาพและกระบวนการสันติภาพจึงเป็นเพียงเครื่องมือที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายที่แท้จริง  ในขณะที่ปัญหาในการเจรจายังคงอยู่ที่รัฐไทย โดยเฉพาะการทำความเข้าใจกับคนที่อยู่นอก 3 จังหวัดนี้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องขบคิดกันต่อไป

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-50:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                            '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                            คลังข้อมูล

                                            พบกับเราที่ Facebook

                                            Tweets ล่าสุด

                                            ประชุมคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติอาเซียน ครั้งที่ 22 ประกาศรื้อการประชุมระดับรัฐมนตรี (AMMDM… http://t.co/WmWTAcz3Zb

                                            อินโดนีเซีย (5-11 มิ.ย. 56): หน่วยต้านก่อการร้ายอินโดนีเซียถูกวิจารณ์ ทำเกินกว่าเหตุ หน่วยงาน… http://t.co/lapRxcLYyh

                                            สิงคโปร์ (5-11 มิ.ย. 56): ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกัน… http://t.co/txPGxhXgGd

                                            ชาวสิงคโปร์ประท้วงกฎหมายควบคุมเน็ต: ชาวสิงคโปร์หลายร้อยคน รวมตัวกันประท้วงกฎหมายใหม่ของรัฐบาล… http://t.co/6ucq2Bwvs2

                                            แผนที่อาเซียน