home

ผจญภัยยอกยาการ์ตา เมืองไม่ธรรมดาแห่งอินโดนีเซีย

ตุลาคม 27, 2014
ผจญภัยยอกยาการ์ตา เมืองไม่ธรรมดาแห่งอินโดนีเซีย

เรื่องโดย ภาสวร สังข์ศร

เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ร่วมเดินทางกับภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไปร่วมงานสัมมนานำเสนอผลงานทางวิชาการและท่องเที่ยวยังเมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) เมืองสำคัญของอินโดนีเซียตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเกาะชวา ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะรู้จักเมืองยอกยาการ์ตาว่าเป็นที่ตั้งของบุโรพุทโธ

การผจญภัยของผมเริ่มตั้งแต่การออกเดินทาง ผมและเพื่อน ๆ ตกเครื่องบินที่จะเดินทางต่อไปเมืองยอกยาการ์ตา ขณะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน LCCT ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ เพราะดูเวลาผิดไปหนึ่งชั่วโมง (มาเลเซียเวลาเร็วกว่าไทยหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ต้องใช้ชีวิตผจญภัยที่สนามบินหนึ่งคืน ก็นอนบนพื้นนั่นนะครับ ตอนแรกไม่กล้า แต่เห็นคนต่างชาติเอากระเป๋าเป้มาพิงนอน บางคนเอาถุงนอนมานอนอุ่นก็เยอะ พวกผมหลับ ๆ ตื่น ๆ มาสะดุ้งตัวอีกทีก็ประมาณตอนตี 3 จำได้เลยมีคนมารอขึ้นเครื่องเยอะมาก โอ้โห สนามบินแห่งนี้คึกคักตั้งแต่เช้าเลยครับ ที่นั่นมีเที่ยวบินของ AirAsia เยอะมาก ๆ เรียกได้ว่า เป็นอาณาจักรของ AirAsia กันเลยทีเดียว

เมื่อได้ขึ้นเครื่องอย่างไม่ประมาทก็ขึ้นไปนอนสลบบนเครื่องสองชั่วโมง และแล้วเครื่องบินลงจอดถึงสนามบินยอกยาการ์ตา ที่นั่น มีนักศึกษาชาวอินโดนีเซียใจดีเอารถมารับ เขาชื่อว่า “อาทิตย์” (Aditya) มาจากมหาวิทยาลัย Gadjah Mada (ตั้งชื่อตามมุขมนตรีคนสำคัญที่ปกครองอาณาจักรมัชปาหิตที่ยิ่งใหญ่) อาทิตย์พูดไทยได้คล่องมากเพราะเคยมาเรียนภาษาไทยที่เมืองไทยด้วย ระหว่างที่นั่งรถไปฟังสัมมนาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็ได้ชมบรรยากาศในเมืองยอกยาการ์ตาที่มีอาคารบ้านเรือนคล้าย ๆ เชียงใหม่

ยอกยาการ์ตาเป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่มีมหาวิทยาลัยจำนวนมาก นักศึกษาจึงมาอยู่หอเพื่อศึกษาต่อกันมาก ทำให้ราคาที่พักและค่าครองชีพไม่สูงเมื่อเทียบกับเมืองหลวงจาการ์ตาหรือเมืองบาหลีที่คนนิยมไปท่องเที่ยว  ส่วนบรรยากาศในมหาวิทยาลัย Gadjah Mada ก็ร่มรื่นและเย็นสบาย เมื่อสัมมนาเสร็จก็ได้รับมิตรไมตรีจากอธิการบดีของมหาวิทยาลัยที่ได้เชิญเหล่าคณาจารย์และพวกเราไปทานอาหารที่บ้านท่าน ซึ่งตามมารยาทชาวอินโดนีเซียนับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง มื้ออาหารที่บ้านท่านอร่อยมาก โดยเฉพาะสะเต๊ะไก่ เท่าที่สังเกตอาหารอินโดนิยมทาน “อะยัม” ในภาษาอินโด หรือไก่ แทบทุกมื้อ (ผมจำคำว่า อะยัม ได้แม่น เพราะจำจากปลากระป๋องอะยัมตราไก่นะครับ)

เช้าวันต่อมา หลังพวกเราสัมมนา ก็ได้เวลาเดินทางต่อมาไปมหาสถูปบุโรพุทโธ โดยมีไกด์ท้องถิ่น ชื่อจริงเขายาวมาก เขาบอกเรียกเขาง่าย ๆ ว่า “แฮปปี้”  แฮปปี้พาเราเดินเข้าบุโรพุทโธที่มีขนาดใหญ่มาก ตั้งอยู่ไม่ห่างจากภูเขาไฟมากนัก ตัวโบราณสถานมีลักษณะเป็นชั้นที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละชั้นจะมีพระพุทธรูปและภาพสลักต่างๆเกี่ยวกับพุทธประวัติ ในชั้นบนสุดจะมีสถูปล้อมรอบองค์สถูปใหญ่ และสามารถเห็นวิวสวยงามได้

วันต่อมา พวกเราไปที่ราบสูงเดียง (Dieng plateau) ที่ต้องวิ่งรถขึ้นเขาอย่างลัดเลี้ยวเคี้ยวคดลัดเลาะผ่านนาขั้นบันไดและภูเขาคล้าย ๆ กับพันโค้งที่แม่ฮ่องสอน ถึงที่นั่น เราพบโบราณสถานฮินดูขนาดใหญ่ที่ก่อสร้างใกล้กับภูเขาไฟ แต่สิ่งที่ผมแปลกใจมาก ๆ คือ เฮ้ย! มีเทเลทับบี้มารับจ้างถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวด้วย รวมถึงมีคนเล่นดนตรี หรือแต่งเป็นยักษ์ให้นักท่องเที่ยวให้ทิปหรือถ่ายรูปได้ หลังจากบันเทิงกับเทเลทับบี้แล้ว พวกเราได้มีโอกาสไปสัมผัสไอร้อนจากปากปล่องภูเขาไฟที่มีกลิ่นกำมะถันเหม็นมาก ถึงขั้นต้องซื้อที่ปิดจมูกจากพ่อค้าแม่ขายแถวนั้น ก็ยังมีคนแต่งตัวคอสเพลย์ให้คนถ่ายรูป รวมทั้งมีคนมาโชว์มอเตอร์ไซด์วิบากตรงทางขึ้นปล่องอีก หลังจากสัมผัสไอร้อนและความพยายามของนักบิดมอเตอร์ไซด์ ก็ได้แวะไปทะเลสาบที่เกิดบนปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว ซึ่งสวยงามและร่มรื่นมาก

นอกจากนี้ในวันสุดท้ายพวกผมยังได้แวะไปวังสุลต่านยอกยาการ์ตา (Kraton Yogyagarta) ซึ่งมีบรรยากาศเป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมสิ่งของมีค่าหรูหราของสุลต่านองค์ต่างๆที่ปกครองยอกยาการ์ตามาถึงปัจจุบัน จากการเยี่ยมชมผมรู้สึกเหมือนได้ชมพระบรมมหาราชวังที่แสดงเกียรติยศของราชวงศ์และกษัตริย์ที่มีความศิวิไลซ์อย่างชาติตะวันตก

แฮปปี้เล่าว่า สุลต่านยอกยาการ์ตายังมีสถานะทางการเมืองและอำนาจในการปกครองยอกยาการ์ตาในฐานะเขตปกครองพิเศษได้ เพราะในช่วงที่ซูการ์โนประกาศเอกราชของอินโดนีเซียจากเนเธอร์แลนด์ สุลต่านยอกยาการ์ตาประกาศขอรวมประเทศด้วย สะท้อนถึงการอาศัยช่วงจังหวะทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการรักษาอำนาจที่สุลต่านมีอยู่แทนที่จะถูกรัฐอินโดนีเซียเข้ายึดครองและลบล้างอำนาจสุลต่านยอกยาการ์ตาไป เหมือนกับที่หลาย ๆ เมือง ซึ่งไม่ยอมรับอำนาจซูการ์โน ค่อย ๆ ทยอยถูกครอบครองและปกครองจากส่วนกลางในรูปแบบจังหวัดในช่วงตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ปัจจุบันสุลต่านยอกยาการ์ตามีสถานะดังผู้ว่าที่บริหารเมืองและมีข้าราชบริพารคอยดูแลวังสุลต่านที่ต้องพกกริซไว้แนบเอวเสมอเพื่อรักษาความปลอดภัย ซึ่งชวนให้ผมนึกถึงการดำรงจารีตประเพณีของสุลต่านที่ต้องธำรงรักษาความจงรักภักดีของผู้คนในเมืองต่อสุลต่านท่ามกลางบริบทสังคมอินโดที่เป็นสาธารณรัฐ

หลังจากได้เข้าใจภาพเมืองยอกยาการ์ตาด้านการเมืองมากขึ้น พวกเราได้ไปชมปราสาทสวนน้ำ (Taman Sari Water Castle) ที่เป็นดังฮาเร็มของสุลต่านไว้พักผ่อนและผ่อนคลายกับนางสนม ซึ่งภายในอาคารจะมีสวนน้ำที่สวยงามและร่มรื่น ช่วยคลายร้อนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ พวกเรายังได้เข้าชมปรัมบานัน (Prambanan) ศาสนสถานฮินดูที่ตั้งใกล้ภูเขาไฟ ซึ่งน่าเสียดายว่า ระหว่างการบูรณะ ได้เกิดแผ่นดินไหว ทำให้การบูรณะล่าช้าออกไปอีก แต่ก็มีความสวยงามและมีขนาดใหญ่มาก มีรูปแกะสลักที่ชัดเจนและงดงามไม่แพ้บุโรพุทโธ

ซึ่งเท่าที่ผมพูดคุยแฮปปี้และอาทิตย์ รวมถึงคณาจารย์และเพื่อน ๆ ที่ร่วมทาง พบว่า คนอินโดนีเซียมองบุโรพุทโธและปรัมมานัน เป็นโบราณสถานมากกว่าเป็นศาสนสถานที่มีชีวิตชีวา ในแง่นึงคือ สภาพสังคมที่ไม่มีพุทธศาสนิกชนมาประกอบพิธีศาสนานัก และทั้งการที่สถานที่เหล่านี้ถูกทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ เป็นสถานที่พักหย่อนใจหรือประกอบอาชีพในเชิงพาณิชย์ อย่างแต่งตัวรับจ้างถ่ายรูปหรือขายสินค้าที่ระลึก ในขณะที่ศาสนสถานฮินดูในเกาะบาหลียังมีการเคารพกราบไหว้ของชาวบาหลีที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ทำให้วัดฮินดูในบาหลีเป็นทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องเคารพในฐานะศาสนสถาน เช่น การถอดรองเท้าก่อนเข้าวัด แต่ทั้งนี้ก็มีประเด็นน่าสนใจ คือ อินโดนีเซียประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวัดหยุดราชการของประเทศ และมีการทำพิธีทางศาสนาพุทธในวันวิสาขบูชาที่บุโรพุทโธอีกด้วย ซึ่งอาจเป็นเพราะความสำคัญของบุโรพุทโธที่เป็นศาสนสถานของพุทธมหายานที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของทั้งอินโดนีเซียและเมืองยอกยาการ์ตา ประกอบทั้งวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดสากลอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้ศาสนสถานและโบราณสถานสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อินโดนีเซียที่มีรากฐานอารยธรรมที่ล้ำค่าได้

ดังนั้น การท่องเที่ยวไปยอกยาการ์ตาครั้งนี้ นอกจากผมจะได้รับประสบการณ์การตกเครื่องบินและนอนสนามบินครั้งแรกแล้ว (ขอให้เป็นครั้งเดียว ฮ่า ๆ) ยังได้เรียนรู้และเข้าใจลักษณะเฉพาะของอินโดนีเซียและเมืองยอกยาการ์ตาที่สะท้อนถึงเรื่องต่าง ๆ เช่น สถานะการปกครองพิเศษของสุลต่านยอกยาการ์ตา การเป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่ทำให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตในเมืองต้องมีโต๊ะเก้าอี้และที่เสียบปลักให้นักศึกษามานั่งพูดคุยและใช้ laptop ทำงานได้สะดวก แหล่งอารยธรรมโบราณที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว รวมถึงเกร็ดอื่น ๆ อย่างการตั้งมหาวิทยาลัย Gadjah Mada ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับอำนาจการปกครองของสุลต่านยอกยาการ์ตาที่ตั้งชื่อมหาวิทยาลัยตามอำมาตย์ที่มีอำนาจมากในราชอาณาจักรมัชปาหิตที่ยิ่งใหญ่ในอดีตเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับบทบาทและความชอบธรรมของสุลต่าน รวมถึงการที่ประธานาธิบดีคนใหม่ป้ายแดงอย่างโจโก วิโดโด เองก็จบการศึกษาด้านวนศาสตร์ (ป่าไม้) จากมหาวิทยาลัย Gadjah Mada แห่งนี้ด้วยเช่นกัน

Terima kasih ขอบคุณครับ
29/7/2557

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-86:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-87:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-88:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-94:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-3:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-25:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                              '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                                                '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                                  '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                                    '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                                      '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                                      คลังข้อมูล

                                                      พบกับเราที่ Facebook

                                                      Tweets ล่าสุด

                                                      No tweets found.

                                                      แผนที่อาเซียน